สกุลช้างเอเชีย

(เปลี่ยนทางจาก Elephas)
สกุลช้างเอเชีย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Pliocene to present
ช้างเอเชียตัวผู้ (ช้างพลาย)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Proboscidea
วงศ์: Elephantidae
สกุล: Elephas
Linnaeus, 1758[1]
ชนิดต้นแบบ
Elephas maximus
Linnaeus, 1758
ชนิด
ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง[2]

ช้างเอเชีย หรือ ช้างยูเรเชีย (อังกฤษ: Asian elephant, Eurasian elephant) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับ Proboscidea หรืออันดับช้าง ใช้ชื่อสกุลว่า Elephas (/อี-เล-ฟาส/) จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae

วิวัฒนาการ

แก้

เชื่อว่า ช้างเอเชียถือกำเนิดขึ้นมาในทวีปแอฟริกา แต่ด้วยความไม่ทราบสาเหตุ เมื่อประมาณ 200,000 ปีที่แล้ว ก็ได้พากันอพยพหนีมาอยู่ทวีปเอเชียกันหมด จากนั้นช้างเอเชียที่ยังอยู่ในทวีปแอฟริกาก็ได้สูญพันธุ์ไปอย่างกระทันหัน ช้างเอเชียตัวสุดท้ายในทวีปแอฟริกาเชื่อว่าน่าจะตายไปเมื่อประมาณ 35,000 ปีที่แล้ว และจากการที่มีช้างเอเชียอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา เป็นสาเหตุให้ประชากรช้างแอฟริกาแท้ ๆ ต้องแยกสายวิวัฒนาการกันจนกระทั่งมี 2 ชนิด อย่างในปัจจุบัน [3]

และหลังจากที่ช้างเอเชียได้แยกสายวิวัฒนาการจากช้างแอฟริกาแล้ว แมมมอธซึ่งเป็นช้างที่สูญพันธุ์ไปแล้วอีกสกุลหนึ่งในยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็ได้แยกสายวิวัฒนาการของตัวเองมาจากช้างเอเชีย จึงมีความเชื่อของนักวิทยาศาสตร์ว่า ช้างเอเชียตัวเมียสามารถที่จะผสมข้ามพันธุ์กับช้างแอฟริกาและแมมมอธได้[4]

หรือมีสายสัมพันธ์กับสเตโกดอน ที่ได้อพยพมาจากไซบีเรียที่หนาวเย็นมาสู่ทางใต้ของทวีปเอเชียที่อากาศอบอุ่นกว่า เมื่อราว 20,000 ปีก่อน[5][6]

ช้างเอเชีย ถือเป็นสัตว์จำพวกช้างเพียง 1 ใน 2 สกุลเท่านั้นที่ยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอีกสกุลที่เหลือนั้น คือ Loxodonta หรือช้างแอฟริกา ที่พบเฉพาะในทวีปแอฟริกาเท่านั้น

ความแตกต่างของช้าง 2 สกุล

แก้
ช้างเอเชีย ช้างแอฟริกา
ส่วนหัวแบ่งออกได้เป็น 2 โหนก ส่วนหัวไม่มีโหนก และหน้าผากลาดชันกว่า
ปลายงวงมีเพียงจะงอยเดียว ปลายงวงมี 2 จะงอย
เท้าหน้ามี 4 เล็บ เท้าหลังมี 5 เล็บ เท้าหน้ามี 4 เล็บ เท้าหลังมี 5 เล็บ
ขณะที่ช้างป่าแอฟริกาจะมีเท่ากับช้างเอเชีย
ใบหูมีขนาดเล็กกว่า ใบหูใหญ่และกางออกมากกว่า
จะงอยปากล่างแคบและยาว จะงอยปากล่างกว้างและสั้น
มีงาเฉพาะตัวผู้ ตัวเมียบางตัวอาจมีแต่สั้น มีงาทั้ง 2 เพศ
ลำตัวเล็กกว่าและมีสีผิวคล้ำกว่า ลำตัวใหญ่ ล่ำสันกว่า สีผิวสว่างกว่า
อายุโดยเฉลี่ย 60 ปี อายุโดยเฉลี่ย 50 ปี
อุปนิสัยอ่อนโยนกว่า ฝึกให้เชื่องได้ อุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าวกว่า[7] [8]

การจำแนก

แก้

ปัจจุบัน ช้างในสกุลนี้เหลือเพียงแค่ชนิดเดียวเท่านั้น คือ ช้างเอเชีย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย และก็มีอีกหลายชนิดและหลายชนิดย่อยที่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ทั้งหมดพบกระจายพันธุ์แต่ในทวีปเอเชีย ซึ่งในอดีตพบได้จนถึงภูมิภาคตะวันออกกลางและยูเรเชีย แต่ปัจจุบันพบได้เพียงอนุทวีปอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อ้างอิง

แก้
  1. จาก itis.gov
  2. Linnaeus, C. 1758: Systema Naturae per regna tria naturæ, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis, Tomus I. Editio decima, reformata. Holmiæ: impensis direct. Laurentii Salvii. i–ii, 1–824 pp
  3. "จบการโต้เถียงอันยาวนาน สรุปแล้วช้างแอฟริกามี 2 สปีชีส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-07. สืบค้นเมื่อ 2014-04-17.
  4. "สักวันเราคงโคลน "แมมมอธ" สำเร็จด้วยแม่อุ้มบุญ "ช้างเอเชีย" จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-02. สืบค้นเมื่อ 2014-04-17.
  5. Elephants
  6. Mammoth or Elephant? World’s Largest Asian Elephant, "biggest & baddest". สารคดีช่องอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อังคารที่ 25 ธันวาคม 2555
  7. Asian elephant
  8. หน้า 91-94, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)
  9. Fernando, P., Vidya, T.N.C., Payne, J., Stuewe, M., Davison, G., et al. (2003) DNA Analysis Indicates That Asian Elephants Are Native to Borneo and Are Therefore a High Priority for Conservation. PLoS Biol 1(1): e6
  10. China's Last Elephants, "China Uncovered" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 26 มกราคม 2556
  11. Bate, D.M.A. 1905. Further note on the remains of Elephas cypriotes from a cave-deposit in Cyprus, Philosophical Transactions of the Royal Society London, Series B 197: 347–360

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Elephas ที่วิกิสปีชีส์