ช้างป่าแอฟริกา

ช้างป่าแอฟริกา
L'éléphant de forêt d'Afrique (Loxodonta cyclotis).jpg
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Proboscidea
วงศ์: Elephantidae
สกุล: Loxodonta
สปีชีส์: L.  cyclotis
ชื่อทวินาม
Loxodonta cyclotis
(Matschie, 1900)
Loxodonta cyclotis map.svg
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

ช้างป่าแอฟริกา (อังกฤษ: African forest elephant; ชื่อวิทยาศาสตร์: Loxodonta cyclotis) เป็นช้างชนิดหนึ่ง เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดเดียวกันกับช้างพุ่มไม้แอฟริกา (L. africana) โดยใช้ชื่อว่า L. africana cyclotis จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2010 หลักฐานทางการศึกษาทางดีเอ็นเอพบว่าเป็นคนละชนิดกัน จึงแยกออกเป็นชนิดต่างหาก ถือเป็นสัตว์จำพวกช้าง 1 ใน 3 ชนิดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน[2]

ช้างป่าแอฟริกามีลักษณะคล้ายกับช้างพุ่มไม้แอฟริกา แต่มีขนาดเล็กกว่าพอสมควร มีใบหูเล็กและกลมกว่า งาเรียวยาวและตรงกว่า บางตัวอาจชี้ลงพื้น เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ตัวเมียมีน้ำหนักราว 2 ตัน มีความสูงราว 3 เมตร ตัวผู้มีขนาดโตกว่าเล็กน้อย ถิ่นอาศัยมักอยู่ตามป่าทึบสลับทุ่งหญ้าตอนกลางและทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา ซึ่งพบได้แคบกว่าช้างพุ่มไม้แอฟริกา เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 8–11 ปี ระยะเวลาตั้งท้องนาน 18–22 เดือน ลูกช้างแรกคลอดหนักประมาณ 50–100 กิโลกรัม มีความสูง 80–100 เซนติเมตร ต้องการอาหารวันละ 60–120 กิโลกรัม น้ำวันละ 60–120 ลิตร อาหารที่ชอบ คือ ใบไม้, หญ้าแห้ง และรากไม้[3] [4]

ช้างป่าแอฟริกาเคยถูกเรียกว่าเป็น "ช้างแคระ" เนื่องจากมีขนาดใหญ่เต็มที่มีน้ำหนักเพียง 900 กิโลกรัม (1,980 ปอนด์) เท่านั้น พบในลุ่มน้ำคองโก โดยนักสัตว์ประหลาดวิทยา ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า Loxodonta pumilio[5]

นอกจากนี้แล้ว ช้างป่าแอฟริกาในอดีตเคยถูกใช้เป็นช้างศึกของฮันนิบาล แม่ทัพแห่งคาร์เทจ ในสงครามพิวนิคกับโรมัน ในการเดินทางผ่านเทือกเขาแอลป์[6] งาช้างป่าแอฟริกามีสีชมพูนวลสวยกว่างาช้างพุ่มไม้แอฟริกา จึงมีราคาซื้อขายแพงกว่า โดยอยู่ที่คู่ละ 90,000 ดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน[7]

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 Gobush, K.S.; Edwards, C.T.T.; Maisels, F.; Wittemyer, G.; Balfour, D.; Taylor, R.D. (2021). "Loxodonta cyclotis". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T181007989A204404464. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. Rohland, Nadin (2010). "Genomic DNA Sequences from Mastodon and Woolly Mammoth Reveal Deep Speciation of Forest and Savanna Elephants". PLoS Biology. 8 (12). doi:10.1371/journal.pbio.1000564. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  3. ตำนานช้างค่อมแห่งท้องทุ่งทะเลน้อย จากโอเคเนชั่น[ลิงก์เสีย]
  4. "ความรู้เกี่ยวกับช้าง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-20. สืบค้นเมื่อ 2013-01-22.
  5. Debruyne R, van Holt A, Barriel V & Tassy P (2003). "Status of the so-called African pygmy elephant (Loxodonta pumilio (NOACK 1906)): phylogeny of cytochrome b and mitochondrial control region sequences". Comptes Rendus de Biologie. 326 (7): 687–69. PMID 14556388.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. In Our Time. With Melvyn Bragg. "Hannibal". Episode broadcast on Radio 3 on 11/10/2012. Available on In Our Time Website.
  7. โขลงป่าลั่น. "ชีวิตมหัศจรรย์". สารคดีทางช่องนาว โดย BBCWorldwide: วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Loxodonta cyclotis ที่วิกิสปีชีส์