ดอคูเมนทา
ดอคูเมนทา (เยอรมัน: documenta) เป็นงานแสดงศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งของโลก ซึ่งในปัจจุบันจัดขึ้นทุก ๆ ห้าปี ที่เมืองคัสเซิล ประเทศเยอรมนี งานแสดงนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1955 โดย Arnold Bode ซึ่งเป็นศิลปิน อาจารย์ และผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Bundesgartenschau (งานแสดงพืชสวนสหพันธ์) ซึ่งจัดขึ้นที่คัสเซิลในตอนนั้น งาน documenta ครั้งแรกนั้นถือว่าประสบความสำเร็จ ผิดจากความคาดหมายส่วนใหญ่ เนื่องจากมันแสดงผลงานจากศิลปินซึ่งนับว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งอยู่แล้วในขณะนั้นต่อศิลปะสมัยใหม่ เช่น ปีกัสโซ หรือ วาสสิลี่ คานดินสกี้. งาน documenta ในช่วงหลังจัดแสดงผลงานศิลปะจากทุกทวีป - อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นงานสร้างสรรค์ขึ้นมาเฉพาะสถานที่ (ศิลปะเฉพาะที่)
ชื่อ documenta นั้นโดยปกติจะใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด และมักจะย่อเหลือแค่ "d" (เช่น "d 12") และบางครั้งก็อาจจะเรียกงานนี้ว่า "พิพิธภัณฑ์ร้อยวัน" จากระยะเวลาแสดงงาน
documenta นั้นเป็นที่รับรู้กันว่าเป็นงานแสดงศิลปะที่สำคัญที่สุดของโลกงานหนึ่ง
documenta X
แก้จัดเมื่อ ค.ศ. 1997 ผู้อำนวยการศิลปะคือ Catherine David ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ำอำนวยการศิลปะหญิงคนแรกของ documenta แนวความคิดในการจัดงานคือ "วิกฤตการเผชิญหน้าที่สำคัญกับยุคปัจจุบัน" (critical confrontation with present)[1]
Documenta11
แก้จัดเมื่อ ค.ศ. 2002 ผู้อำนวยการศิลปะคือ Okwui Enwezor ชาวไนจีเรียที่เกิดและเติบโตในประเทศดังกล่าว เป็นครั้งแรกที่มีผู้อำนวยการศิลปะที่ไม่ใช่ชาวยุโรป[1]
documenta 12
แก้งาน documenta ครั้งที่ 12 เริ่มวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดยมีแก่นนำ (เยอรมัน: Leitmotiv) 3 หัวข้อ[1][2] คือ
- หรือความเป็นสมัยใหม่คือความล้าสมัยของเรา ? (เยอรมัน: Ist die Moderne unsere Antike?)
- อะไรคือชีวิตที่เปลือยเปล่า ? (Was ist das bloße Leben?)
- จะต้องทำอะไรอีก ? (Was tun?)
งานของไทยใน document 12
แก้งานครั้งที่ 12 นี้ ทาง documenta ได้ร่วมมือกับสื่อมวลชนทางเลือกของไทย (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, โอเพ่น, ประชาไท, ฟ้าเดียวกัน, Budpage, และ Questionmark) จัดทำนิตยสารเฉพาะกิจ ในชื่อ Bangkok Documenta No. 1 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและความเป็นไปของสถานการณ์ประชาธิปไตยในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งบทความจากประเทศไทยและทั่วโลก คัดเลือกโดยภัณฑารักษ์ Keiko Sei ชาวญี่ปุ่น[3] จัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยสำนักพิมพ์ openbooks[4][5]
ในส่วนของงานจัดแสดง ศิลปินสาครินทร์ เครืออ่อน จากภาควิชาศิลปไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร จะปลูกข้าวแบบขั้นบันไดหน้าปราสาท Wilhelmshöhe โดยได้เดินทางไปทำงานล่วงหน้าถึง 2 เดือน และได้ปลูกต้นกล้าทั้งหมดเสร็จในวันที่ 15 มิถุนายน ก่อนวันเริ่มงานเพียงวันเดียว โดยคะเนว่าข้าวจะเริ่มออกรวงในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของงานแสดง โดยในการปลูกนี้ ได้มีอาสาสมัครทั้งชาวเยอรมันและชาวไทย ร่วมกันลงแขก โดยมีนักวิชาการเกษตรชาวเยอรมนี และกลุ่มหญิงไทยที่อาศัยอยู่ที่นั่นกลุ่มหนึ่งซึ่งยังไม่ลืมวิชาการทำนาคอยดูแลให้อย่างใกล้ชิด[6]
การปลูกข้าวนี้ ทีมงานจากเมืองไทย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือชาวนาจริง ๆ ได้หลีกเลี่ยงที่จะใช้เครื่องจักรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ที่เพาะปลูกดังกล่าวจะเป็นที่นาข้าวแบบขั้นบันไดแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี “สิ่งที่น่าสนใจของศิลปะโครงการปลูกข้าว แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างการร่วมมือกันในการทำงานกับการแบ่งงานกันทำในสังคมสมัยใหม่ ความแตกต่างของภูมิปัญญาชาวบ้านกับความรู้ของผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ และความแตกต่างกันของการปลูกพืชกับพื้นที่สวนสาธารณะที่ได้รับการดูแล” ผู้จัดงาน documenta กล่าว[7]
รายชื่องานแสดง documenta
แก้ชื่องาน | ค.ศ. | ช่วงเวลา | ผู้อำนวยการศิลปะ | ศิลปิน | ชิ้นงาน | ผู้ชม |
---|---|---|---|---|---|---|
documenta | 1955 | 16 ก.ค. - ก.ย. | Arnold Bode | 148 | 670 | 130,000 |
documenta II | 1959 | 11 ก.ค. - 11 ต.ค. | Arnold Bode, Werner Haftmann | 392 | 1770 | 134,000 |
documenta III | 1964 | 27 มิ.ย. - 5 ต.ค. | Arnold Bode, Werner Haftmann | 280 | 1450 | 200,000 |
4. documenta | 1968 | 27 มิ.ย. - 6 ต.ค. | คณะที่ปรึกษา documenta-Rat 24 คน | 150 | 1000 | 220,000 |
documenta 5 | 1972 | 30 มิ.ย. - 8 ต.ค. | Harald Szeemann | 218 | 820 | 228,621 |
documenta 6 | 1977 | 24 มิ.ย. - 2 ต.ค. | Manfred Schneckenburger | 622 | 2700 | 343,410 |
documenta 7 | 1982 | 19 มิ.ย. - 28 ก.ย. | Rudi Fuchs | 182 | 1000 | 378,691 |
documenta 8 | 1987 | 12 มิ.ย. - 20 ก.ย. | Manfred Schneckenburger | 150 | 600 | 474,417 |
DOCUMENTA IX | 1992 | 13 มิ.ย. - 20 ก.ย. | Jan Hoet | 189 | 1000 | 603,456 |
documenta X | 1997 | 21 มิ.ย. - 28 ก.ย. | Catherine David | 120 | 700 | 628,776 |
Documenta11 | 2002 | 8 มิ.ย. - 15 ก.ย. | Okwui Enwezor | 118 | 450 | 650,924 |
documenta 12 | 2007 | 16 มิ.ย. - 23 ก.ย. | Roger-Martin Buergel |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Documenta 12 อีกสองปีข้างหน้ากับโอลิมปิกศิลปะ, สมเกียรติ ตั้งนโม, ตีพิมพ์ในเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548, เรียกดูเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2550
- ↑ document12:Leitmotive, เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน พ.ศ. 2550
- ↑ บทนำ Bangkok Documenta Magazine และความเป็นมา, เผยแพร่ออนไลน์ 24 เม.ย. 2550, เรียกดู 5 ส.ค. 2553
- ↑ Bangkok Documenta Magazine No. 1, โอเพ่นออนไลน์, ตีพิมพ์ 13 เมษายน พ.ศ. 2550, เรียกดูเมื่อ 19 เมษายน พ.ศ. 2550
- ↑ ดวงเมือง หนังสือ ข่าวลือ และผู้คน, โอเพ่นออนไลน์, ตีพิมพ์ 30 มี.ค. 2550, เรียกดู 5 ส.ค. 2553
- ↑ นาข้าวขั้นบันไดแห่งเมืองคัสเซิล ความเป็นไปไม่ได้ที่เป็นไปแล้ว เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์, ตีพิมพ์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550, เรียกดูเมื่อ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
- ↑ โครงการของไทยที่แสดง ณ Documenta[ลิงก์เสีย], สถานทูตเยอรมนี กรุงเทพฯ, เรียกดูเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ documenta (เยอรมัน)
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ documenta 12 (เยอรมัน) (อังกฤษ)
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Documenta11 (เยอรมัน) (อังกฤษ)
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ documenta X (เยอรมัน)
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ documenta-Archivs (หอจดหมายเหตุ documenta) (เยอรมัน)
- จดหมายเหตุ documenta X (อังกฤษ) โดย Universes in Universe
- MuseumZeitraum Leipzig (อังกฤษ) — อภิปรายแก่นนำ (leitmotiv) ของ documenta 12
- จาก ศิลปะเสื่อมทรามสู่เกียรติยศ Documenta, สมเกียรติ ตั้งนโม, ตีพิมพ์ในเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, 15 มิถุนายน พ.ศ. 2545
- แนวโน้มศิลปะกระแสหลักที่กำลังเปลี่ยน Documenta 11, สมเกียรติ ตั้งนโม, ตีพิมพ์ในเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, 30 มิถุนายน พ.ศ. 2545
- Documenta 12 อีกสองปีข้างหน้ากับโอลิมปิกศิลปะ, สมเกียรติ ตั้งนโม, ตีพิมพ์ในเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548 (บทความเดียวกันที่เว็บไซต์คณะวิจิตรศิลป์ มช.[ลิงก์เสีย])
- City Panorama (เยอรมัน) — ภาพพานอรามาของ Documenta Hall