โจว เหวินฟะ

(เปลี่ยนทางจาก Chow Yun-fat)

โจว เหวินฟะ อดีตรู้จักกันในชื่อ ดอนัลด์ โจว (จีน: 周潤發; พินอิน: Zhōu Rùnfā, โจว รุ่นฟา; อักษรโรมัน: Donald Chow;[1] เกิดวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2498) เป็นหนึ่งในสุดยอดนักแสดงชาวฮ่องกง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก อดีตพระเอกซีรีส์ยอดนิยมแห่งเอเชีย(Most popular TV star of Asia) , ดารายอดนิยม(Box office star) แห่งยุคทศวรรษที่ 80's , ไอคอน หรือสัญลักษณ์หนังแอ๊คชั่นสไตล์ฮ่องกง (The action heroic bloodshed-genre films) เจ้าของฉายา นักฆ่าหน้าหยก(Babyface Killer) , ไอคอน หรือสัญลักษณ์หนังแนวการพนัน (The action heroic gambling films) เจ้าของฉายา โคตรเซียนเกาจิ้ง(高進/賭神) ถูกยกย่องให้เป็น ต้นแบบคาแรกเตอร์ตัวละคร(Chow's characters) แนวเจ้าพ่อมาเฟีย(Gangster film) และแนวการพนัน(Gambling films) ได้รับยกย่องว่า เป็นนักแสดงที่ถือปืนสองมือสง่างามที่สุดในโลก

โจว เหวินฟะ

周潤發
โจว เหวินฟะใน ค.ศ. 2007
เกิด (1955-05-18) 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 (69 ปี)
เกาะลัมมา ฮ่องกงของบริเตน
ชื่ออื่นดอนัลด์ โจว
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนครฮ่ององ
อาชีพนักแสดง, นักร้อง
ปีปฏิบัติงานค.ศ. 1973–ปัจจุบัน
ส่วนสูง1.85 เมตร (6 ฟุต 1 นิ้ว)
คู่สมรสอวี๋ อันอัน (สมรส 1983; หย่า 1983)
Jasmine Tan (สมรส 1986)
บิดามารดา
  • Chow Yung-Wan (บิดา)
  • Chan Lai-fong (มารดา)
รางวัล
ฮ่องกงฟิล์มอวอร์ดนักแสดงดีเด่น
1987 โหด เลว ดี
1988 เถื่อนตามดวง
1990 อาหลาง

รางวัลม้าทองคำนักแสดงดีเด่น
1985 โหดผสมโหด
1987 ดอกไม้กับนายกระจอก

TVB Anniversary AwardsMy Most Memorable Male Leading Role
1999 เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้

ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม周潤發
อักษรจีนตัวย่อ周润发

ประวัติ

แก้

โจว เหวินฟะ (Chow Yun-fat) เกิดบนเกาะลัมมา นอกชายฝั่งของเกาะฮ่องกง ชีวิตวัยเด็กมีฐานะค่อนข้างยากจน แต่เขาก็ยังโชคดีได้เรียนจนจบระดับวิทยาลัย[2] ชีวิตของโจว เหวินฟะ ถึงจุดพลิกผันเมื่อได้เป็นนักแสดงสังกัดค่ายสถานีโทรทัศน์ทีวีบี (TVB) โจว เหวินฟะได้รับความนิยมสูงมากในช่วงยุคปลาย 70's ถึง ต้นยุค 80's เป็นนักแสดงอันดับหนึ่งของค่ายโทรทัศน์ทีวีบี และถูกยกย่องให้เป็น นักแสดงซีรีส์ยอดนิยม (Most popular TV star) ของเกาะฮ่องกง เขามีละครซีรีส์ระดับตำนานหลายเรื่อง อาทิเช่น เทพบุตรชาวดิน , กระบี่เย้ยยุทธจักร , ยาจกซู ไอ้หนุ่มหมัดเมา ฯลฯ ผลงานละครซีรีส์เรื่อง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (The bund ,1980 ; ภาษาจีน :上海灘 พินอิน: Shang Hai tan - แปลตรงตัวว่า หาดเซี่ยงไฮ้) ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายไปทั่วเอเชีย ส่งให้โจว เหวินฟะก้าวขึ้นเป็น พระเอกซีรีส์ยอดนิยมแห่งเอเชีย (Most popular TV star of Asia) นอกจากความโด่งดังเป็นพลุแตกจากซีรีส์ชุดนี้แล้ว บุคลิกของโจว เหวินฟะ ยังได้รับยกย่องให้เป็น ต้นแบบคาแรกเตอร์ตัวละคร(Chow's characters) ในละครซีรีส์และภาพยนตร์ประเภทเจ้าพ่อมาเฟีย(gangster film) อีกด้วย

ในยุคต้นทศวรรษที่ 80's โจว เหวินฟะ แม้จะประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นกับการเป็นนักแสดงละครซีรีส์(หรือจอแก้ว) แต่ผลงานภาพยนตร์(หรือจอเงิน) ล้วนล้มเหลวโดยสิ้นเชิง จนได้รับฉายาว่า "ยาพิษแห่งจอเงิน" แต่เขาก็โดดเด่นด้านฝีมือการแสดงคว้ารางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากสองเวทีใหญ่ คือ ม้าทองคำไต้หวัน และ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเอเชียแปซิฟิค จากภาพยนตร์เรื่อง Hong Kong 1941 (1984) จนกระทั่งในปี 1986 ได้ร่วมงานกับ จอห์น วู ผู้กำกับหน้าใหม่ของวงการภาพยนตร์ ในหนังแอ๊คชั่นแนวสากลเรื่อง โหด เลว ดี (A Better Tomorrow ,1986) ตัวหนังประสบความสำเร็จอย่างมหาศาลไปทั่วเอเชียและดังไกลถึงระดับโลก เป็นปรากฏการณ์หนังแอ๊คชั่นสากลประเภทยิงปืน ระเบิดภูเขา เผากระท่อม ที่ปฏิวัติวงการหนังฮ่องกง (Set a new standard for Hong Kong gangster films) เปลี่ยนแนวภาพยนตร์จากประเภทกังฟู แนวการต่อสู้โบราณสู่แนวหนังแอ็คชั่นสากลสมัยใหม่ ที่ภาษาไทยเรียกว่า หนังจีนสากล มีการสร้างตามกระแสภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นจำนวนมาก จนวงการภาพยนตร์โลกยกย่องให้ภาพยนตร์เรื่อง โหด เลว ดี , จอห์น วู ในฐานะผู้กำกับ และโจว เหวินฟะ ในฐานะนักแสดง เป็น"สัญลักษณ์ หรือไอคอนของหนังแอ๊คชั่นสไตล์ฮ่องกง" (The action heroic bloodshed-genre films) ที่ทรงอิทธิพลต่อหนังแอ๊คชั่นทั่วโลก รวมทั้งวงการหนังฮอลลีวู้ด เป็นตำนานจนถึงทุกวันนี้ หลังจากนั้นภาพยนตร์ที่ โจว เหวินฟะ ร่วมงานกับ จอห์น วู ล้วนประสบความสำเร็จอย่างสูงในตลาดโลก อาทิเช่น โหดตัดโหด (The Killer ,1989) ทะลักจุดแตก (Hard Boiled ,1992) รวมทั้งหนังแอ๊คชั่นแนวยิงปืนเรื่องอื่นๆ อาทิเช่น บอกโลกว่าข้าตายยาก (Full Contact ,1992) ของผู้กำกับหลิน หลิ่มตง(Ringo Lam) และโจว เหวินฟะ ยังได้รับยกย่องว่า "เป็นนักแสดงที่ถือปืนสองมือได้สง่างามที่สุดในโลก" นิตสาร The Los Angeles Times สหรัฐอเมริกา ยกย่องโจว เหวินฟะ ว่าเป็น "นักแสดงหนังแอ็คชั่นที่จัดจ้านเด็ดที่สุดในโลก" (The coolest actor in the world)

จากความสำเร็จอย่างถล่มทลายของภาพยนตร์เรื่อง โหด เลว ดี (A Better Tomorrow ,1986) โจว เหวินฟะโด่งดังเป็นพลุแตกชั่วพริบตา ผลงานภาพยนตร์ของเขาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ล้วนได้รับความนิยมอย่างมหาศาลทั้งในเกาะฮ่องกงและทั่วเอเชีย นอกจากภาพยนตร์แนวแอคชั่นประเภทยิงปืนแล้ว โจว เหวินฟะยังแสดงภาพยนตร์ได้หลากหลายแนวอย่างเช่น แนวรักโรแมนติกในเรื่อง ดอกไม้กับนายกระจอก (An Autumn's Tale ,1987) แนวตลกคอมาดี้ในเรื่อง ยกเครื่องเรื่องจุ๊ (The Romancing Star ,1987) แนวดราม่ารันทดในเรื่อง อาหลาง (All About Ah-Long ,1989) ล้วนประสบความสำเร็จทั้งด้านรายได้และคำวิจารณ์ จนเขาได้รับยกย่องว่าเป็น พระเอกยอดนิยม (Box office star) แห่งทศวรรษที่ 80's และเขายังเป็นนักแสดงยอดฝีมือของวงการภาพยนตร์ คว้ารางวัลตุ๊กตาทอง(Hong Kong Film Awards) สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม(Best Actor) ถึง 3 ครั้ง ในรอบ 5 ปี จากภาพยนตร์เรื่อง โหด เลว ดี (A Better Tomorrow ,1986) เถื่อนตามดวง (City on Fire ,1987) และ อาหลาง (All About Ah-Long ,1989) ตลอดระยะเวลาช่วงกลางทศวรรษที่ 80s จนเข้าสู่ยุคต้นทศวรรษที่ 90s ไม่มีนักแสดงคนไหนโด่งดังและโดดเด่นไปกว่าโจว เหวินฟะ ทั้งในแง่ของความนิยมและด้านฝีมือการแสดง ทำให้เขาก้าวสู่ทำเนียบนักแสดงผู้โด่งดังในระดับนานาชาติในลำดับเดียวกันกับ บรูซ ลี และ เฉินหลง

ในปี 1989 โจว เหวินฟะ ได้แสดงหนังคู่กับพระเอกยอดนิยมคนใหม่ของวงการภาพยนตร์หลิว เต๋อหัว ในเรื่อง คนตัดคน หรือ God of Gambler (1989) รับบทโคตรเซียนเกาจิ้ง นักพนันเก่งที่สุดแห่งยุค โชคชะตากลับตกอับแต่ได้รับการช่วยเหลือจากจิ๊กโก๋ข้างถนน(หลิว เต๋อหัว) ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายไปทั่วเอเชีย เป็นปรากฏการณ์ของวงการหนังฮ่องกงและวงการภาพยนตร์เอเชียอีกครั้งหนึ่งในชีวิตการแสดงของเขา ตัวละคร "โคตรเซียนเกาจิ้ง"(高進/賭神) ยังเป็น สัญลักษณ์ หรือไอคอนภาพยนตร์แนวการพนัน(The action heroic gambling films) เป็นตำนานยาวนานมาถึงทุกวันนี้

เข้าสู่ยุคทศวรรษ ที่ 90 โจว เหวินฟะ รับงานแสดงน้อยลงมาก เฉลี่ยปีละ 1 - 2 เรื่อง เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า อายุมากขึ้น ต้องการพักผ่อนให้รางวัลแก่ชีวิต ตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมา(ในทศวรรษที่ 80s) เขาทำงานมาหนักมาก ต่อมาภายหลังปี 1997 ประเทศอังกฤษส่งมอบเกาะฮ่องกงคืนให้กับจีนแผ่นดินใหญ่ โจว เหวินฟะขอพำนักในสหรัฐอเมริกาเป็นถิ่นที่อยู่ชั่วคราวและได้แสดงภาพยนตร์ฮอลลีวูดหลายเรื่อง อาทิเช่น นักฆ่ากระสุนโลกันต์ (The Repleacement Killer ,1998) คนคอรัปชั่น (The Corrupter ,1999) แอนนา แอนด์ เดอะ คิง (Anna and the King ,1999) แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก ต่อมาได้แสดงนำในหนังจีนไต้หวันใช้ภาษาจีนกลาง ในภาพยนตร์เรื่อง พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก (Crouching Tiger,Hidden Dragon ,2000) ของผู้กำกับอั้งลี่ หรือ หลีอัน ตัวหนังประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายทำรายได้ไปถึง 128 ล้านเหรียญสหรัฐ(USD)ในสหรัฐอเมริกา เป็น"หนังภาษาต่างประเทศ" ที่ทำเงินสูงสุดในสหรัฐอเมริกา ทั้งยังได้รับรางวัลออสการ์ถึง 4 สาขา ประกอบด้วย รางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ถ่ายภาพยอดเยี่ยม และกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม

โจว เหวินฟะ ยังได้รับยกย่องให้เป็น นักแสดงชั้นบรมครู หรือราชาแห่งนักแสดงของเกาะฮ่องกง เป็นต้นแบบการแสดงและแบบอย่างให้นักแสดงชื่อก้องโลกระดับตำนานอย่าง หลิว เต๋อหัว และโจว ซิงฉือ ซึ่งทั้งสองคนล้วนให้ความเคารพรักในตัวโจว เหวินฟะ ประดุจอาจารย์ผู้มีคุณ โดยเฉพาะบท "โคตรเซียนเกาจิ้ง(高進/賭神)" โจว ซิงฉือนำไปล้อเลียนจนเขาโด่งดังเป็นพลุแตกในเรื่อง คนตัดเซียน (All for the winner ,1990) มาแล้ว ในปี 1994 โจว เหวินฟะได้หวนกลับมารับบท "โคตรเซียนเกาจิ้ง" อีกครั้งหนึ่ง ในภาพยนตร์เรื่อง คนตัดคน ภาคพิเศษ ตอน เกาจิ้งตัดเอง (God of Gamblers Returns ,1994) ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายเช่นเคย ในเกาะฮ่องกงลบสถิติ คนตัดคน ภาค 1 (God of Gambler ,1989) ที่เขาเคยทำไว้อย่างขาดลอย ต่อมาในปี 2014 โจว เหวินฟะได้กลับมารับบทเซียนพนันอีกครั้ง ในภาพยนตร์เรื่อง โคตรเซียนมาเก๊า เขย่าเวกัส (From Vegas to Macau ,2014) ได้รับความนิยมอย่างมหาศาลในจีนแผ่นดินใหญ่ จนมีภาคต่อตามมาคือ โคตรเซียนมาเก๊า เขย่าเวกัส ภาค 2 (From Vegas to Macau 2 ,2015) ในภาคนี้ มีหลิว เต๋อหัว มารับเชิญในบท "โคตรเซียนน้อย อาเต๋า" ศิษย์เอกโคตรเซียนเกาจิ้งในตอนเครดิตท้ายเรื่อง(ent credit) เป็นกระแสฮือฮาอย่างมากส่งให้ยอดรายได้บนตาราง box office ในจีนแผ่นดินใหญ่สูงถล่มทลายในปีนั้น และทำให้หนังเรื่องนี้เชื่อมโยงสู่จักรวาล God of Gambler หรือ คนตัดคน และมีบทบาทในภาคถัดมาคือ โคตรเซียนมาเก๊า เขย่าเวกัส ภาค 3 (From Vegas to Macau 3 ,2016) ในภาคนี้ แม้จะประสบความสำเร็จทางรายได้อย่างมหาศ่าลกว่าทุกภาค แต่ถูกแฟนๆภาพยนตร์ถล่มอย่างยับเยินแสนสาหัส กลายเป็นหนังยอดแย่ที่สุด แห่งปี 2016 และปิดตำนานภาพยนตร์ซีรีส์ชุดโคตรเซียนมาเก๊า เขย่าเวกัส โดยปริยาย

โจว เหวินฟะ เป็นนักแสดงที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดคนหนึ่งของวงการละครซีรีส์ วงการภาพยนตร์จีน วงการภาพยนตร์เอเชีย วงการภาพยนตร์โลก โดดเด่นที่สุดในยุคทศวรรษที่ 80s ยาวนานถึงปัจจุบัน เป็นนักแสดงที่โด่งดังและทรงอิทธิพลเพียงคนเดียวที่ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างภาพยนตร์ ยึดอาชีพนักแสดงเพียงอย่างเดียว จนได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันศิลปะการแสดงแห่งชาติฮ่องกง เชิดชูเกียรติว่าเป็น "นักแสดงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในอาชีพนักแสดง" เหนือกว่านักแสดงทุกคนในเกาะฮ่องกง ได้รับมอบสมญาว่า เทพเจ้าแห่งการแสดง (God of Actor) ปัจจุบัน โจว เหวินฟะแสดงหนังให้กับวงการภาพยนตร์จีนฮ่องกง วงการภาพยนตร์จีนแผ่นดินใหญ่ ได้รับความนิยมจากแฟนๆ อย่างมหาศาลเช่นเดิม ในช่วงปลายปี 2018 มีข่าวใหญ่ตามสื่อมวลชนว่า เตรียมบริจาคทรัพย์สินกว่า 23,000 ล้านบาท ให้แก่สาธารณกุศล เนื่องจากตัวเขาเองและภรรยาไม่มีทายาทสืบสกุล

งานอดิเรกที่โจว เหวินฟะโปรดปราน คือ การถ่ายภาพ

ผลงานภาพยนตร์บางส่วน

แก้

ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด

แก้

ผลงานทางโทรทัศน์บางส่วน

แก้
  • เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (ภาษาจีน:上海灘 พินอิน:Shang Hai tan - แปลตรงตัวว่า หาดเซี่ยงไฮ้ , พ.ศ. 2523 และ พ.ศ. 2526) 25 ตอนจบ - ละครซีรีส์ชุดเจ้าพ่อสุดคลาสสิกแห่งยุคทศวรรษที่ 80s ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดทั่วเอเชีย [1]
  • กระบี่เย้ยยุทธจักร (พินอิน: Siu Mo Kong Wu , พ.ศ. 2527) ละครโทรทัศน์แนวกำลังภายในเรื่องแรกและเรื่องเดียวของโจว เหวินฟะ เป็นผลงานละครที่นับได้ว่า ประสบความล้มเหลวในแถบเอเซียอย่างสิ้นเชิง

ภาพยนตร์ไทย

แก้

โจว เหวินฟะ ยังเคยแสดงภาพยนตร์ไทยเมื่อปี พ.ศ. 2526 ในภาพยนตร์เรื่อง กตัญญูประกาศิต ร่วมแสดงกับนักแสดงชาวไทย เกรียงไกร อุณหะนันทน์ , ฉัตรชัย เปล่งพานิช , เพ็ญพักตร์ ศิริกุล และอโนเชาว์ ยอดบุตร กำกับการแสดงโดย แจ๊สสยาม

อ้างอิง

แก้
  1. Yang, Jeff (2003). "Frequently Asked Questions and Additional Information". Once Upon a Time in China: A Guide to Hong Kong, Taiwanese, and Mainland Chinese Cinema. New York City: Atria Books. p. 275. ISBN 9780743448178. สืบค้นเมื่อ 13 May 2016 – โดยทาง Google Books.
  2. "Film chat: Chow Yun-Fat - CHOWING THE FAT; HOW EASTERN HERO CHOW YUN-FAT CAME TO HOLD THE WEST HOSTAGE. BY ANNA DAY.(Features) | Article from The Mirror (London, England) | Hi". Highbeam.com. 2003-04-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2010-09-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้