เบียร์ชีบา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เบียร์ชีบา (ฮีบรู: בְּאֵר שֶׁבַע , อาหรับ: بئر السبع แปล บ่อน้ำแห่งความสัตย์) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตทะเลทรายเนเกฟทางตอนใต้ของประเทศอิสราเอล ได้รับสมญาว่าเป็น "เมืองหลวงของเนเกฟ" เบียร์ชีบาตั้งอยู่ใจกลางของเขตปริมณฑลที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ หากนับเฉพาะเขตเมืองแล้ว เบียร์ชีบาเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศ ด้วยจำนวน 209,002 คน[1] และเป็นนครที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่สอง (รองจากเยรูซาเลม) ด้วยพื้นที่ 117,500 ดูนัม
เบียร์ชีบา
| |
---|---|
การถอดเสียงฮีบรู | |
• Also spelled | Be'er-Sheva, Beer Sheva (unofficial) |
จากบนซ้าย: ศาลาว่าการเบียร์ชีบา, มหาวิทยาลัยเบนกูเรียนแห่งเนเกฟ, หอศิลป์เนเกฟ, ย่านใจกลางนคร, จัตุรัสอาสาสมัคร, เบียร์ชีบาในยามค่ำคืน | |
พิกัด: 31°15′32″N 34°47′59″E / 31.25889°N 34.79972°E | |
Country | อิสราเอล |
เขต | ใต้ |
ก่อตั้ง | 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช (เทลเบียร์ชีบา) 1900 (นครใหม่) |
การปกครอง | |
• ประเภท | นคร |
• นายกเทศมนตรี | รูวิก ดานิลอวิช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 117,500 ดูนัม (117.5 ตร.กม. หรือ 45.4 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 260 เมตร (850 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2018)[1] | |
• ทั้งหมด | 209,002 คน |
• ความหนาแน่น | 1,800 คน/ตร.กม. (4,600 คน/ตร.ไมล์) |
ความหมายของชื่อเมือง | บ่อน้ำแห่งความสัตย์ |
เว็บไซต์ | www |
หลักฐานทางประวัติศาสตร์จากคัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงพื้นที่เมืองโบราณ เทลเบียร์ชีบา ซึ่งอยู่ห่างจากเบียร์ชีบาในปัจจุบันไปประมาณ 2.5 ไมล์ นครปัจจุบันก่อตั้งในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยชาวเติร์กออตโตมัน[2] ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กองทัพบริติชได้เข้ายึดครองเมืองโดยใช้ม้าเร็วออสเตรเลียในช่วงสงครามเบียร์บีชา (1917) ต่อมาใน ค.ศ. 1947 เบียร์ชีบา หรือ บีร์เซบอา (อาหรับ: بئر السبع) ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอาหรับในแผนการแบ่งปาเลสไตน์โดยสหประชาชาติ หลังจากการประกาศเอกราชของอิสราเอล กองทัพอียิปต์ได้รวบรวมกำลังคนไว้ที่เบียร์บีชาในฐานะจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ต่อมาในสงครามเบียร์ชีบาเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1948 นครได้ถูกยึดครองโดยกองกำลังป้องกันตนเองอิสราเอล[3]
หลังจากที่อิสราเอลได้รับเอกราช นครได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชากรส่วนใหญ่ในเขตเมืองถือว่าเป็นทายาทของชาวยิวเซฟาร์ดีและชาวยิวมิซราฮีที่อพยพจากอาหรับใน ค.ศ. 1948 ต่อมาใน ค.ศ. 1990 กลุ่มอพยพลำดับที่สองและสามก็ได้ตามเข้ามา กลุ่มนี้ประกอบไปด้วยชาวยิวอัชเคนาซิที่อพยพจากสหภาพโซเวียต และชาวเบตาอิสราเอลที่อพยพจากประเทศเอธิโอเปีย ผู้อพยพจากโซเวียตได้คิดค้นหมากรุกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเกมกีฬาหลักของนคร จนทำให้นครกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาทางเทคโนโลยี ปัจจุบัน เบียร์ชีบาถือเป็นศูนย์กลางเกมหมากรุกของประเทศอิสราเอล และเนื่องด้วยในเบียร์ชีบามีเจ้าของรางวัลหมากรุกมากกว่านครแห่งอื่น ๆ ของโลก ทำให้เบียร์ชีบาได้รับขนานนามว่าเป็นเมืองหลวงหมากรุกของโลก[4]
เบียร์ชีบาเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเบนกูเรียนแห่งเนเกฟ และยังเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมล้ำสมัยของประเทศ[5]
เมืองฝาแฝด
แก้เบียร์ชีบาเป็นเมืองฝาแฝดกับเมืองดังต่อไปนี้[6]
แอฟริกา
เอเชีย |
ยุโรป
|
อเมริกาเหนือ
โอเชียเนีย
อเมริกาใต้
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Population in the Localities 2018" (XLS). Israel Central Bureau of Statistics. 25 August 2019. สืบค้นเมื่อ 26 August 2019.
- ↑ Mildred Berman (1965). "The Evolution of Beersheba as an Urban Center". Annals of the Association of American Geographers. 55 (2): 308–326. doi:10.1111/j.1467-8306.1965.tb00520.x.
- ↑ Guide to Israel, Zev Vilnay, Hamakor Press, Jerusalem, 1972, pp.309–14
- ↑ "Beersheba Masters Kings, Knights, Pawns", Los Angeles Times, January 30, 2005
- ↑ "Beersheva: Israel's emerging high-tech hub - Globes English".
- ↑ "International Relations of the City of Beersheba" (ภาษาฮิบรู). Beersheba Municipality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-02-08.
- ↑ "Villes amies de Bouaké" [Twin towns with Bouaké] (ภาษาฝรั่งเศส). mairiebke.e-monsite.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-08-20.
- ↑ "Partner Cities of Lyon and Greater Lyon". copyright 2008 Mairie de Lyon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 19, 2009. สืบค้นเมื่อ 2008-10-21.
บรรณานุกรม
แก้- Thareani-Sussely, Yifat (2007). "The 'Archaeology of the Days of Manasseh' Reconsidered in the Light of Evidence From The Beersheba Valley". Palestine Exploration Quarterly. 139 (2): 69–77. doi:10.1179/003103207x194091.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้คู่มือการท่องเที่ยว Beer Sheva จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Beersheba City Council เก็บถาวร 2004-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Selection of photos from Beer-Sheva from flickr
- Ben-Gurion University
- The city of Beersheba: a tourist's guide
- Beer-Sheva – Historical article from the Catholic Encyclopaedia
- Light Horse charges again Article written by Martin Chulov, published in The Australian, November 1, 2007, the descendants of the Australian light-horsemen rode into the centre of Beersheva, re-enacting the gallant gallop of October 31, 1917
- Israel Builds Expansion and architecture of Beersheva in the 1960s and 1970s
- Blueprint for Beersheba
- Goodchild, Philip; Talbert, Andrew (2010). "Beersheba & Abraham". Bibledex in Israel. Brady Haran for the University of Nottingham.
- Tsagai Asamain, Be'er Sheva-Compound C:Conservation measures during the excavation, Israel Antiquities Authority Site – Conservation Department
- Yardena Etgar and Ofer Cohen, Tel Be’er Sheva: The Underground Water Reservoir System, Israel Antiquities Authority Site – Conservation Department
- Shauli Sela and Fuad Abu-Taa, The Turkish Mosque and the Governor’s House: Conservation of the stone and plaster, Israel Antiquities Authority Site – Conservation Department
- Survey of Western Palestine, Map 24: IAA, Wikimedia commons