สปริงบ็อก

(เปลี่ยนทางจาก Antidorcas marsupialis)

สปริงบ็อก (อังกฤษ: Springbok; ชื่อวิทยาศาสตร์: Antidorcas marsupialis) สัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง จำพวกแอนทิโลป จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Antidorcas ที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันเพราะชนิดอื่น ๆ สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว

สปริงบ็อก
ตัวผู้ (♂) ที่อุทยานแห่งชาติอีโตซา, นามิเบีย
ตัวเมีย (♀) ที่อุทยานแห่งชาติอีโตซา, นามิเบีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
วงศ์ย่อย: Antilopinae
สกุล: Antidorcas
Sundevall, 1847
สปีชีส์: A.  marsupialis
ชื่อทวินาม
Antidorcas marsupialis
(Zimmermann, 1780)
ชนิดย่อย
ดูในเนื้อหา
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

ศัพทมูลวิทยา แก้

คำว่า "สปริงบ็อก" มาจากภาษาแอฟริคานส์และภาษาดัตช์คำว่า "สปริง" หมายถึง "กระโดด" และ "บ็อก" หมายถึง "แอนทิโลปตัวผู้" หรือ "แพะ" ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ marsupialis มาจากภาษาละตินคำว่า "marsupium" หมายถึง "กระเป๋า" หมายถึง แผ่นผิวหนังที่เหมือนกระเป๋าที่ตั้งอยู่ตรงกลางหลังไปจนถึงโคนหาง เมื่อตัวผู้ต้องการแสดงออกเพื่อดึงดูดตัวเมียหรือข่มขู่ศัตรู จะย่ำเท้าแล้วกระโดดขึ้นไปในอากาศ และชูแผ่นหนังนั้นพับขึ้น เผยให้เห็นขนสีขาวใต้หางชูขึ้นเหมือนพัดและปล่อยกลิ่นออกมา ซึ่งพฤติกรรมนี้เรียกว่า "สต็อตติง"[2][3]

ลักษณะและพฤติกรรม แก้

สปริงบ็อกจัดเป็นแอนทิโลปขนาดกลางจำพวกกาเซลล์ พบกระจายพันธุ์เฉพาะแอฟริกาตอนใต้แถบลุ่มแม่น้ำแซมเบซีเท่านั้น ตัวผู้มีเขาโค้งเป็นรูปตัววี ตัวเมียมีเขาเช่นกัน แต่มีขนาดเล็กและสั้นกว่าตัวผู้ มีขนาดความสูงจากหัวไหล่ถึงปลายเท้าประมาณ 78–84 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 31–36 กิโลกรัม อายุขัยโดยเฉลี่ย 10 ปี

สปริงบ็อกรวมตัวกันหากินเป็นฝูงในทุ่งหญ้าและกินหญ้าเป็นอาหาร การที่ได้เชื่อว่าเป็นสปริงบ็อก มาจากพฤติกรรมที่สามารถกระโดดลอยตัวได้สูงและไกลมากยามตกใจหรือหลบหนีศัตรู โดยกระโดดได้สูงกว่า 8–10 ฟุต[4] หรือ 4 เมตร และกระโดดได้ไกลถึง 15 เมตร สามารถวิ่งได้เร็วถึง 97 กิโลเมตร/ชั่วโมง สปริงบ็อกมีหลากหลายสีตามลักษณะทางพันธุกรรม[5]

จากพฤติกรรมเช่นนี้ ทำให้สปริงบ็อกได้รับการยกย่องให้เป็นสัตว์ประจำชาติและสัญลักษณ์ทางการกีฬาของแอฟริกาใต้[6]

 
ตราแผ่นดินของแอฟริกาใต้ (ค.ศ. 1932–ค.ศ. 2000) ซึ่งมีรูปสปริงบ็อกอยู่ด้านซ้าย

การจำแนก แก้

จำแนกออกเป็นชนิดย่อยได้ 3 ชนิด คือ

  • Antidorcas marsupialis marsupialis – แอฟริกาใต้
  • Antidorcas marsupialis angolensis – ตอนเหนือของนามิเบีย, พื้นที่ชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของแองโกลา
  • Antidorcas marsupialis hofmeyri – ตอนใต้และตอนกลางของนามิเบีย, บอตสวานา[7]

อ้างอิง แก้

  1. IUCN SSC Antelope Specialist Group (2008). Antidorcas marsupialis. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 29 March 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of least concern
  2. Geoffrey Haresnape (1974). The Great Hunters. Purnell. ISBN 0-360-00232-3.
  3. "Largest Herds (Mammals)". 4to40.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-12-27.
  4. หน้า 54, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (พิมพ์ครั้งที่ 2; สิงหาคม, 2518)
  5. The Springbok. J. D. Skinner & G. N. Louw (1996)
  6. ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 272 หน้า. หน้า 46-47. ISBN 978-616-90508-0-3
  7. "Zoo Hannover – Springbok". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 2013-12-27.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Antidorcas marsupialis ที่วิกิสปีชีส์