Allochiria (จากภาษากรีกโดยแปลว่า อีกมือหนึ่ง, อีกข้างหนึ่ง) เป็นความผิดปกติของระบบประสาท ที่คนไข้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าซึ่งปรากฏที่ร่างกายด้านหนึ่ง เหมือนกับอยู่ในด้านตรงกันข้าม[1] ปกติเป็นการย้ายข้างแบบอสมมาตรของสิ่งเร้าจากด้านหนึ่งของร่างกาย (หรือแม้รอบ ๆ ตัวจากด้านนั้นทั้งหมด) ไปในด้านตรงกันข้าม ดังนั้น สัมผัสที่ข้างซ้ายของร่างกาย จะปรากฏเหมือนกับปรากฏที่ข้างขวา ซึ่งเรียกว่า somatosensory allochiria[2] ถ้าเป็นการได้ยินหรือการเห็นที่เสียหาย เสียง (เช่นเสียงพูด) จะปรากฏต่อคนไข้ว่าได้ยินจากด้านตรงข้ามที่เกิดจริง ๆ และสิ่งที่เห็นก็เช่นเดียวกัน บ่อยครั้ง คนไข้อาจแสดงอาการของ allochiria เมื่อลอกวาดภาพ เป็นอาการที่บ่อยครั้งเกิดพร้อมกับภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ (unilateral neglect) ซึ่งมีเหตุร่วมกัน คือความเสียหายต่อสมองกลีบข้างด้านขวา[1]

Allochiria
โรคสัมพันธ์กับรอยโรคในสมองกลีบข้างข้างขวามากที่สุด (สีเหลืองด้านบน)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก

allochiria บ่อยครั้งจะสับสนกับ alloesthesia ซึ่งความจริงเป็น "allochiria เทียม"[3] "allochiria แบบแท้" เป็นอาการของ dyschiria บวกกับภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ[4] ส่วน dyschiria ก็คือความผิดปกติในการกำหนดตำแหน่งความรู้สึก เนื่องจากอาการ dissociation ระดับต่าง ๆ เป็นความพิการที่ไม่สามารถบอกว่า กำลังสัมผัสด้านไหนของร่างกายจริง ๆ

เกณฑ์โดยนิยาม แก้

 
สมองกลีบข้าง (แดง)

Allochiria โดยหลักจะเห็นพร้อมกับภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ ซึ่งปกติจะมีเหตุจากรอยโรคที่สมองกลีบข้างด้านขวา[3] คนไข้ที่มีอาการ allochiria จะรู้สึกทุกอย่าง แต่จะไม่ชัดเจนว่า กำลังสัมผัสข้างไหนของร่างกาย แต่ตำแหน่งก็ยังบอกได้ชัดเพียงแต่กลับข้าง โดยมักจะรู้สึกระคายที่แขนขาที่ตรงกันด้วย[5] คนไข้จะสงสัยหรือจะผิดพลาดว่า สัมผัสข้างไหนของร่างกายกันแน่ ในขณะที่ความรู้สึกต่าง ๆ รวมทั้งการกำหนดตำแหน่งจะเป็นปกติ

อาการนี้สัมพันธ์กับรอยโรคในระบบประสาท, อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia), โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, โรคไขสันหลังเสื่อมเหตุซิฟิลิส (tabes dorsalis), ความบาดเจ็บในไขสันหลังข้างเดียว (unilateral), โรคเมนิแยร์, โรคฮิสทีเรีย, และ symmetrical gangrene โดยเป็นความรู้สึกเกี่ยวกับสัมผัส ความเจ็บปวด การรับรู้เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ การรับรู้อุณหภูมิ การเห็น การได้กลิ่น การได้ยิน และปฏิกิริยาต่อกระแสไฟฟ้า[6] Allochiria สามารถเกิดในส่วนไหนของร่างกายก็ได้ บางครั้งอาจเป็นทั้งสองด้าน บางครั้งอาจจำกัดอยู่เฉพาะส่วนในร่างกาย เป็นอาการที่เด่นเพราะเชื่อมกับประสาทสัมผัสแบบต่าง ๆ และเพราะบางครั้ง สิ่งเร้าที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้นจะทำให้เกิดอาการ[7]

รูปแบบ แก้

Electromotor allochiria แก้

นี้เกิดขึ้นเมื่อมีรีเฟล็กซ์กล้ามเนื้อต่อไฟฟ้าแบบกลับข้าง ซึ่งพบที่ใบหน้า แขน และขา[6] เช่น กระแสไฟฟ้าที่หน้าข้างหนึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อของหน้าอีกข้างหนึ่งเกร็ง แม้ด้วยกระแสไฟฟ้าที่อ่อนมากจนกระทั่งว่า ใบหน้าที่ปกติจะไม่มีปฏิกิริยาอะไรเลย อีกตัวอย่างก็คือ กระแสไฟฟ้าที่แขนท่อนปลายข้างหนึ่ง จะทำให้แขนอีกข้างหนึ่งขยับ

จุดสำคัญก็คือ กระแสไฟฟ้าอาจมีผลต่อส่วนที่ไกลกันในระบบประสาท ส่วนที่ไกลอาจจะอยู่ในซีกเดียวกันของร่างกาย หรืออยู่ในซีกตรงกันข้ามซึ่งบ่อยกว่า อวัยวะซีกซ้ายขวาจะอยู่ "ใกล้กว่า" อวัยวะด้านบนล่างข้างเดียวกัน เพราะการจัดระเบียบของเซลล์/ใยประสาทในไขสันหลัง[6] ไม่ใช่เพราะความสับสนระหว่างด้านซ้ายขวาที่คนไข้อาจมี

Motor allochiria แก้

นี่เกิดเมื่อให้คนไข้ขยับส่วนร่างกายข้างที่เสียหาย คนไข้จะขยับอวัยวะซีกตรงกันข้ามโดยรู้สึกว่า ตนได้ขยับตามที่บอกแล้ว[6]

Reflex allochiria แก้

คนไข้จะมีรีเฟล็กซ์ตอบสนองต่อการกระตุ้นที่ส้นเท้าหรือต้นขาด้านในที่ขาซีกตรงข้าม[6]

Auditory allochiria แก้

เมื่อแนบส้อมเสียงเข้าที่หูข้างหนึ่ง คนไข้จะตอบสนองด้วยอาการต่าง ๆ รวมทั้งความเจ็บปวดและหูอื้อ ในหูตรงกันข้าม[6]

Visual allochiria แก้

คนไข้จะเห็นสิ่งของที่อยู่ข้างหนึ่งของลานสายตา เหมือนอยู่กับในลานสายตาซีกตรงข้าม[8] ในกรณีหนึ่งในสองกรณีที่เคยบันทึกไว้ สิ่งที่เห็นในตาขวาที่เปิด คนไข้ปกติจะบอกว่าเห็นด้วยตาซ้าย แม้ว่าตาซ้ายจะปิดอยู่ ส่วนในอีกกรณีหนึ่ง แม้คนไข้จะรู้จักวัตถุมีสีซึ่งแสดงที่ตาข้างซ้าย แต่ยืนยันว่าเห็นสีนั้นด้วยตาขวา[6]

Gustatory allochiria แก้

คนไข้บอกว่ารู้รสสิ่งของที่ถูกลิ้นซีกหนึ่ง ด้วยส่วนลิ้นอีกซีกหนึ่ง นอกจากนั้น สัมผัสที่ลิ้นก็รู้สึกที่ซีกตรงกันข้ามเช่นกัน[6]

 
นายแพทย์โทมัส เกรนเจอร์ สตัวร์ต

Alloesthesia แก้

alloesthesia หรือ allesthesia (มาจากภาษากรีกว่า allache = การรับรู้ที่อื่น) หรือ false allochiria เป็นคำที่พจนานุกรมจำนวนมากแสดงนิยามเดียวกันกับ allochiria และแม้แต่แสดงรากศัพท์ภาษากรีกเดียวกัน โดยนายแพทย์โทมัส เกรนเจอร์ สตัวร์ต ได้เริ่มใช้คำนี้ในบทความที่พิมพ์ใน British Medical Journal ในปี 2437[9] แต่กรณีคนไข้ที่ นพ. สตัวร์ตเจอโดยหลักเป็นความรู้สึกซึ่งย้ายที่แบบสูงต่ำอย่างสม่ำเสมอจากจุดเดิม Alloesthesia เป็นความรู้สึกที่ผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับสิ่งเร้า และอาจมีความผิดปกติในการรับรู้อื่น ๆ เช่น การหนดตำแหน่งของความรู้สึก (Localization of sensation)[3]

ในกรณีคนไข้หนึ่ง ซึ่งกำหนดโรคอย่างไม่ถูกต้องว่าเป็น allochiria สิ่งเร้าที่แนบกระทบกระพุ้งแก้มข้างใน คนไข้จะรู้สึกเหมือนอยู่ข้างนอก ในอีกกรณีหนึ่ง การสัมผัสที่นิ้วชี้ทำให้รู้สึกที่นิ้วโป้ง False allochiria อาจเกิดในกรณีที่เส้นประสาททั้งสองซีกเกิดเสียหาย เช่น ประสาทอักเสบหลายเส้น (multiple neuritis) และแม้จะไม่พบกรณีคนไข้เช่นนี้อีก แต่ก็ชัดเจนว่า อาการตามที่กล่าวแล้วไม่ใช่ allochiria[3][10]

Dyschiria แก้

ใน dyschiria (dyscheiria) การกำหนดซีกร่างกายผิดเป็นความผิดพลาดที่เฉพาะเจาะจง และเป็นอิสระจากความบกพร่องอื่น ๆ ในการรับรู้สิ่งเร้า กล่าวอีกอย่างก็คือ คนไข้อาจรู้ทุกอย่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ที่เป็นประเด็นรวมทั้งตำแหน่ง แต่จะไม่รู้ว่าอยู่ซีกไหนของร่างกาย หลักฐานแสดงว่า นี่เป็นความบกพร่องทางประสาทที่เฉพาะเจาะจง และมีหลายรูปแบบรวมทั้ง achiria, allochiria, และ synchiria[6]

Achiria แก้

Achiria (acheiria) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า simple allochiria หมายถึงการไม่สามารถบอกซีกร่างกายที่เกิดความรู้สึก โดยมีองค์ประกอบในระบบรับความรู้สึก (sensory) การเคลื่อนไหว (motor) และการระลึกรู้ความรู้สึกของตนเอง (introspective) ในการรับความรู้สึก สิ่งเร้าที่กระทบกับส่วนที่เสียหายจะไม่ทำให้รู้ซีกของร่างกาย ในการเคลื่อนไหว ถ้าบอกให้คนไข้ขยับแขนขาที่เป็นประเด็น คนไข้จะไม่สามารถทำได้โดยไม่บอกโดยวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจากคำว่าซ้ายขวา เหตุผลก็อาจคือ คนไข้ได้เสียความรู้เกี่ยวกับความหมายของคำเหล่านี้โดยสิ้นเชิง หรือโดยเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งหมดที่เนื่องกับแขนขาที่เป็นประเด็น ในการระลึกรู้ คนไข้จะระลึกถึงสิ่งเร้าที่มากระทบซีกร่างกายที่เป็นปัญหาไม่ได้ แล้วบอกว่า แม้เขาจะรู้ว่ามีส่วนนี้ แต่ก็ไม่รู้สึก[6]

Allochiria แก้

อาการของ Allochiria (allocheiria) ก็คือ เมื่อสิ่งเร้าปรากฏที่ร่างกายซีกหนึ่ง แต่กลับรู้สึกย้ายที่ไปยังซีกร่างกายตรงกันข้ามจุดเดียวกัน โดยมีอาการในการรับความรู้สึก (sensory) การเคลื่อนไหว (motor) และการระลึกรู้ความรู้สึกของตนเอง (introspective) ในกรณีการรับความรู้สึก จุดที่ย้ายที่ในซีกตรงข้ามจะมีลักษณะสมมาตรอย่างสมบูรณ์กับจุดที่ถูกจริง ๆ เป็นอาการที่ทำให้มักเสนอว่า allochiria เป็นเพียงแค่ความปั่นป่วนในการกำหนดตำแหน่งความรู้สึกเท่านั้น ในกรณีการเคลื่อนไหว ถ้าให้คนไข้เคลื่อนไหวซีกที่มีปัญหา เขาจะเคลื่อนไหวซีกตรงข้ามโดยรู้สึกว่า ตนเองกำลังขยับเหมือนตามที่บอก ในกรณีการระลึกรู้ความรู้สึก คนไข้จะสามารถระลึกถึงความรู้สึกว่าซีกไหน เฉพาะเมื่อเร้าหรือขยับอวัยวะซีกตรงข้ามที่ไม่มีปัญหา[6]

Synchiria แก้

Synchiria (syncheiria) เป็นรูปแบบหนึ่งของ dyschiria ที่สิ่งเร้าซึ่งกระทบกับด้านหนึ่งของร่างกาย คนไข้จะรู้สึกทั้งสองซีก โดยมีอาการในการรับความรู้สึก (sensory) การเคลื่อนไหว (motor) และการระลึกรู้ความรู้สึกของตนเอง (introspective) ในการรับความรู้สึก การมีสิ่งเร้ากระทบอวัยวะที่มีปัญหา จะทำให้เกิดความรู้สึกพร้อม ๆ กันทั้งสองซีกของร่างกายตามจุดที่กระทบ ในการเคลื่อนไหว ถ้าให้คนไข้ขยับส่วนที่มีปัญหา คนไข้จะขยับทั้งสองด้านแม้จะรู้สึกเหมือนขยับข้างที่มีปัญหาข้างเดียว ในการระลึกรู้ความรู้สึก คนไข้จะไม่สามารถรู้ข้างได้นอกเหนือจากความรู้สึกที่มาจากสองข้างพร้อม ๆ กัน[6]

ประสบการณ์ แก้

 
ภาพวาดนาฬิกาของคนไข้ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิที่มีอาการ allochiria

มีคนไข้หลายกรณีที่แสดงอาการ allochiria ในการสร้าง/วาดภาพ คนไข้จะย้ายสิ่งที่อยู่ด้านซ้ายไปด้านขวา แต่จะไม่เห็นหรือแก้ปัญหานี้ คนไข้บางส่วนจะแสดงอาการเมื่อลอกหรือวาดรูปนาฬิกาจากความจำ ความบกพร่องบางอย่างอาจทำให้คนไข้สร้าง/วาดสิ่งที่อยู่ด้านซ้ายขวาไปยังด้านเดียวกัน[2] เช่น คนไข้อาจเขียนหลักชั่วโมงของนาฬิกาทั้งหมดให้อยู่ทางซีกขวา แต่ก็ยังมีการย้ายที่แบบอื่น ๆ เมื่อคนไข้วาดรูปเช่นนี้[2]

รูปที่เห็นเป็นตัวอย่างการวาดภาพนาฬิกาของคนไข้ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิที่มีอาการ allochiria คนไข้ไม่วาดด้านซ้ายของนาฬิกา แม้คนไข้จะบอกได้ว่า นาฬิกามีหน้าปัดข้างซ้าย แต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า รูปที่วาดไม่สมบูรณ์ ซึ่งแสดงนัยว่า การวาดภาพอาจสามารถใช้จำแนกความเสียหายจากรอยโรคในสมอง ไม่ใช่แค่บอกว่าคนไข้มีภาวะสมองเสื่อม[11]

การวินิจฉัย แก้

เมื่อวินิจฉัยอาการ allochiria สำคัญที่จะพิจารณาทั้งการรับความรู้สึก (sensory) และการเคลื่อนไหว (motor) ที่เนื่องกับอาการ เพราะถ้าไม่กำหนดอาการต่าง ๆ ให้ดีพอ อาจจะมองข้ามหรือตีความหมายผิดเพราะยังมีอาการต่าง ๆ ที่ไม่รู้

ตัวอย่างที่มีน้อยอย่างหนึ่งในการแพทย์ ซึ่งมีเหตุจากการไม่รู้อะไรง่าย ๆ ไม่กี่อย่าง โดยไม่เกี่ยวกับวิจารณญาณ คือ แพทย์พยาบาลได้มองข้ามรายละเอียดความรู้สึก เมื่อตรวจสอบว่าคนไข้กำหนดตำแหน่งความรู้สึกได้หรือไม่ คือไม่ได้ถามโดยตรงว่า ความรู้สึกอะไรที่ไหนย้ายที่ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เป็นไปได้เมื่อคนไข้มีอาการ allochiria แต่ไม่มีปัญหารับรู้ความรู้สึกหรือกำหนดตำแหน่งที่รู้สึก และเมื่อแม้คนไข้กล่าวถึงซีกร่างกายที่ผิดพลาด ก็คิดว่าคนไข้พูดพลาดและไม่ตรวจสอบให้ยิ่ง ๆ ขึ้น

สืบเนื่องกับการเคลื่อนไหว อาการสามารถกำหนดผิดได้เพราะลักษณะต่าง ๆ อาจไม่ค่อยชัดเจน และถ้าไม่วิเคราะห์พิจารณาให้ดี อาการอาจจะดูเหมือนความซุ่มซ่ามหรือความอ่อนแอเท่านั้น[7] นอกจากนั้น เมื่อคนไข้บ่นถึงความอ่อนแอและความงุ่มง่ามของซีกร่างกายที่เป็นปัญหา การตรวจอาจยืนยันคำบ่นนี้ แล้วจึงกำหนดความบกพร่องในการเคลื่อนไหวอย่างผิด ๆ ว่าเป็นอะไรที่ตั้งใจทำและมีเฉพาะในบริบทนี้ จนกระทั่งคนไข้กล่าวว่า เขาไม่รู้ว่าสิ่งเร้ามากระทบกับซีกไหนของร่างกาย จึงจะกำหนดได้ว่า มีอาการ allochiria โดยเป็นกรณีที่ยังรู้สึกได้โดยปกติ[12]

ทฤษฎี แก้

มีทฤษฎีหลายอย่างเกี่ยวกับอาการของ allochiria ทฤษฎีปัจจุบันที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางที่สุดคือ Hammond’s Theory[3] ซึงสมมุติว่า ใยประสาทรับความรู้สึกเกือบทั้งหมดจะข้ามไขว้ทแยงไปยังอีกซีกหนึ่งของร่างกาย เขาสรุปว่า เมื่อเกิดรอยโรคที่ไขสันหลังด้านหลัง (posterior) ข้างหนึ่ง สัญญาณความรู้สึกก็ยังส่งไปถึงซีกสมองข้างเดียวกัน และดังนั้น จึงรู้สึกเหมือนกับความรู้สึกยังมาจากซีกตรงข้ามของร่างกาย[6] แฮมมอนด์ก็กล่าวด้วยว่า ถ้ามีรอยโรคข้างเดียวอีกข้างหนึ่งในระดับที่สูงกว่ารอยโรคแรก ความรู้สึกที่ส่งไปยังซีกสมองผิดข้าง ก็จะเจออุปสรรคอีกอันหนึ่งแล้วกลับส่งไปหาซีกสมองที่ถูกข้าง Allochiria จะเกิดเท่ากันไม่ว่าจะเป็นเพราะรอยโรคแบบข้างเดียวหรือสองข้าง ตราบเท่าที่เป็นแบบไม่เท่ากัน (asymmetrical) ซึ่งตรงกับ Huber’s theory ซึ่งสมมุติว่า การเกิดขึ้นของรอยโรคใหม่ในด้านตรงกันข้ามจากรอยโรคแรก จะทำให้ส่งสัญญาณกลับไปถึงเป้าหมายดังเดิม[3]

อาการสามารถหายไปได้เนื่องจากปัญหาที่เป็นรอยโรคและที่เส้นประสาทกลับดีขึ้น[6]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Halligan, P. W., Marshall, J., & Wade, D. (1992). S2CID 10770474.
  2. 2.0 2.1 2.2 Lepore, M., Conson, M., Grossi, D., & Trojano, L. (2003). On the different mechanisms of spatial transpositions: a case of representational allochiria in clock drawing. Neuropsychologia, 41 (10), 1290–1295. doi:10.1016/s0028-3932(03)00062-9 .
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Meador KJ, Allen ME, Adams RJ, Loring DW (1991). "ALLOCHIRIA VS ALLESTHESIA - IS THERE A MISPERCEPTION". Archives of Neurology. 48 (5): 546–549. doi:10.1001/archneur.1991.00530170110029.
  4. Halligan, P. W., Marshall, J., & Wade, D. (August 1992). Left on the right: Allochiria in a case of left visuo-spatial neglect.Journal of Neurology, Neurosurgery, and Psychiatry, 55 (8), 717–719. PMID 1527545. doi:10.1136/jnnp.55.8.717., Jones, E. (21 September 1907). The clinical significance of Allochiria. The Lancet, 170 (4386): 830–832. doi:10.1016/S0140-6736(00)50066-X.
  5. Young, RR; Benson, DF (April 1992). "WHERE IS THE LESION IN ALLOCHIRIA. [Letter]". Archives of Neurology. 49 (4): 348–349. doi:10.1001/archneur.1992.00530280028013.
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 6.13 Jones E. (January 1908). The precise diagnostic value of allochiria. Bravis. Brain, 30 (4),490–532. doi:10.1093/brain/30.4.490.
  7. 7.0 7.1 Marcel, A., Postma, P., Gillmeister, H., Cox, S., Rorden, C., Nimmo-Smith, I., et al. (2004). Migration and fusion of tactile sensation - premorbid susceptibility to allochiria, neglect and extinction? [Article]. Neuropsychologia, 42 (13), 1749–1767. doi:10.1016/j.neuropsychologia.2004.04.020 .
  8. Gonzalo-Fonrodona (February 2007). "Inverted or tilted perception disorder." REV NEUROL 44 (3) : 157–165. PMID 17285521.
  9. Stewart, TG. (6 January 1894). A clinical lecture on a case of perverted localization of sensation or allachaesthesia. BMJ. 1 (1723): 1–4. PMID 20754592. doi:10.1136/bmj.1.1723.1.
  10. Mario F. Mendez, J. W. Y. C. (June 2009). "Epilepsy partialis continua with visual allesthesia." Journal of Neurology 256 (6) : 1009–1011. PMID 19240953. doi:10.1007/s00415-009-5031-8.
  11. Kim, H. Y. S. C. E. Y.-L. D. (2010). "Context-bounded Refinement Filter Algorithm: Improving Recognizer Accuracy of Handwriting in Clock Drawing Test." Visual Representations and Reasoning 53–60. S2CID 8573411.
  12. Lancet, Lepore, M., Conson, M., Ferrigno, A., Grossi, D., & Trojano, L. (October 2004). Spatial transpositions across tasks and response modalities: Exploring representational allochiria. [Article]. Neurocase, 10 (5), 386–392. PMID 15788277. doi:10.1080/13554790490892275.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้