ประยงค์

ชนิดของพรรณไม้
(เปลี่ยนทางจาก Aglaia odorata)
ประยงค์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Sapindales
วงศ์: Meliaceae
สกุล: Aglaia
สปีชีส์: A.  odorata
ชื่อทวินาม
Aglaia odorata
Lour.
การกระจายพันธุ์

ประยงค์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Aglaia odorata) เป็นไม้ในวงศ์ Meliaceae อยู่ในสกุลเดียวกับลางสาด ลองกอง ใบมีสีเขียวเข้ม หนา มีใบย่อย 5 ใบ ใบรูปร่างโค้งมนปลายแหลม ออกดอกเป็นช่อ ดอกขนาดเล็กรูปร่างเป็นเม็ดกลม ๆ มี 20–30 ดอกต่อช่อ ดอกมีสีเหลือง พบในกัมพูชา จีน อินโดนีเซีย พม่า ไต้หวัน ไทย เวียดนาม และอาจจะมีในลาว

ในประยงค์มีสารออกฤทธิ์หลายชนิด เช่น สารกลุ่ม Cyclopentabenzofuran ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสาร Rocaglamide, Odorine, Aglain, Lignanes และ Triterpenes สารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงวันผลไม้ได้[2] สารสกัดด้วยน้ำจากกิ่งอ่อนยับยั้งการเจริญเติบโตของผักโขมและหญ้าข้าวนกได้[3] ชาวโอรังอัซลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียนำดอกไปแช่น้ำใช้ลดไข้[4]

อ้างอิง แก้

  1. Pannell, C.M. 1998. Aglaia odorata. The IUCN Red List of Threatened Species. Version 2022-1. doi:10.2305/IUCN.UK.1998.RLTS.T34913A9896864.en.
  2. รัตติยา นวลหล้า; พิทยา สรวมศิริ (มิถุนายน 1999). "การคัดเลือกพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ยับยั้งการกินของหนอนกระทู้ผัก". วารสารเกษตร. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 15 (2): 192–202. eISSN 2630-029X.
  3. ยิ่งยง เมฆลอย, วิรัตน์ ภูวิวัฒน์, จำรูญ เล้าสินวัฒนา และ พัชนี เจริญยิ่ง (3–7 กุมภาพันธ์ 2546). "การเปรียบเทียบผลของสารสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของต้นประยงค์ด้วยน้ำที่มีต่อการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชสองชนิด." เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 41 สาขาพืช สาขาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร. หน้า 311–317. ISBN 974-537-233-1.
  4. Anbu Jeba Sunilson John Samuel; Anandarajagopal Kalusalingam; Dinesh Kumar Chellappan; และคณะ (7 กุมภาพันธ์ 2010). "Ethnomedical survey of plants used by the Orang Asli in Kampung Bawong, Perak, West Malaysia". Journal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6: 5. doi:10.1186/1746-4269-6-5. PMID 20137098.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • "Aglaia odorata Lour". Medicinal Plant Images Database (ภาษาChinese (Hong Kong) และ อังกฤษ). School of Chinese Medicine, Hong Kong Baptist University.
  • กิตติ ตันเมืองปัก; พาคิน ฝั่งไชยสงค์; อาทิตย์ พิมมี (28–29 กรกฎาคม 2007). "ผลของสารสกัดจากใบประยงค์ต่อจำนวนเม็ดเลือดของแมลงวันผลไม้ระยะตัวหนอน". การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัยครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยนเรศวร.