ไอโอเอส
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ไอโอเอส (ชื่อเดิมคือ ไอโฟนโอเอส) คือระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (สมาร์ตโฟน,แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์) พัฒนาและจำหน่ายโดยแอปเปิล เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 2007 เพื่อใช้บนไอโฟน และได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อใช้บนอุปกรณ์พกพาอื่น ๆ ของแอปเปิล เช่น ไอพอดทัช (ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007), ไอแพด (ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010), ไอแพด มินิ (พฤศจิกายน ค.ศ. 2012) และ แอปเปิลทีวี รุ่นที่ 2 (ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010) ไอโอเอสแตกต่างจากวินโดวส์โฟนของไมโครซอฟท์และแอนดรอยด์ของกูเกิล ตรงที่แอปเปิลไม่อนุญาตให้นำไอโอเอสไปติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ของแอปเปิล ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 แอปสโตร์ของแอปเปิลมีแอปพลิเคชันมากกว่า 2.1 ล้าน แอปพลิเคชัน และ 1 ล้านแอพที่ออกแบบมาเพื่อ ไอแพด แอปพลิเคชันเหล่านี้มียอดดาวโหลดน์รวมกันมากกว่า 1.3 แสนล้านครั้ง ไอโอเอสมีส่วนแบ่ง 28% ของส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาในไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2018 ซึ่งเป็นรองจากแอนดรอยของกูเกิลเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 ไอโอเอสมีส่วนแบ่งคิดเป็น 65% ของการบริโภคข้อมูลบนอุปกรณ์พกพา (ซึ่งรวม ไอพอดทัช และ ไอแพด) ในกลางปี ค.ศ. 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอสมากกว่า 410 ล้านเครื่องที่เปิดใช้งาน จากการอ้างอิงจากงานแถลงเปิดตัวต่อสื่อโดยแอปเปิลใน วันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอส 400 ล้านตัวที่จำหน่ายไปแล้วในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012
ผู้พัฒนา | แอปเปิล |
---|---|
เขียนด้วย | C, C++, อ็อบเจกทีฟ-ซี, จาวา (มีข้อพิพาท) |
ตระกูล | แมคโอเอสเท็น, ยูนิกซ์ |
สถานะ | ยังให้บริการอยู่ |
รูปแบบ รหัสต้นฉบับ | ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ |
วันที่เปิดตัว | 29 มิถุนายน 2007 |
รุ่นเสถียร | แม่แบบ:Latest preview software release/iOS/iOS 17 |
ภาษาสื่อสาร | 40 ภาษา[1][2] |
ตัวจัดการ แพกเกจ | แอปสโตร์ (ไอโอเอส) |
แพลตฟอร์ม ที่รองรับ | ARM (ไอโฟน, ไอพอด, ไอแพด, ไอแพดมินิ, และรุ่น 2 หรือสูงกว่า แอปเปิลทีวี), Apple A4, Apple A5, Apple A5X, Apple A6, Apple A6X |
ชนิดเคอร์เนล | แบบผสม (XNU) |
ส่วนติดต่อผู้ใช้ปริยาย | Cocoa Touch (มัลติทัช, GUI) |
สัญญาอนุญาต | จำกัดสิทธิ์ EULA ยกเว้นชิ้นส่วนโอเพนซอร์ส |
เว็บไซต์ | apple |
ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ของไอโอเอสมีพื้นฐานแนวคิดมาจาก "การควบคุมโดยตรง" (direct manipulation) ด้วยการใช้มัลติทัช องค์ประกอบของการควบคุมก็คือการใช้นิ้วเลื่อน, สวิทช์ และปุ่ม เพื่อเป็นการควบคุมอุปกรณ์รวมถึงท่าทางอย่างอื่น เช่น การนำนิ้วมือ (มากกว่าสองนิ้ว) บีบเข้าหาศูนย์กลาง (swipe), แตะเบา ๆ (tap), การนำนิ้วสองนิ้วบีบเขาหาศูนย์กลาง (pinch), การนำนิ้วสองนิ้วกางออกจากศูนย์กลาง (reverse pinch) ซึ่งทั้งหมดนี้มีความหมายที่เจาะจงในบริบทต่าง ๆ ของไอโอเอสและถือเป็นการใช้งานแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบมัลติทัช ภายในอุปกรณ์ที่ติดตั้งไอโอเอสจะมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อใช้กับบางแอปพลิเคชันเพื่อตอบสนองการสั่นของอุปกรณ์ หรือการหมุนอุปกรณ์ที่คำนวณในรูปแบบสามมิติ
ไอโอเอสมีต้นกำเนิดมาจากแมคโอเอสซึ่งได้รากฐานมาจากดาร์วินและแอปพลิเคชันเฟรมเวิร์คต่าง ๆ ไอโอเอสคือรุ่นพกพาของแมคโอเอสที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ของแอปเปิล
ในงาน WWDC 2019 ไอโอเอส 13 ที่จะอัปเดทในไอแพด ได้แยกจากที่จะแตกต่างไปจากไอโอเอสคือไอแพดโอเอส ซึ่งเป็นนัยถึงการแยกระบบปฏิบัติการที่จะแตกต่างไปจากไอโอเอสซึ่งใช้สำหรับในไอแพด
รุ่นหลักของไอโอเอสจะมีการเปิดตัวทุก ๆ ปี จนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการปล่อยตัว iOS 18 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567 ในงาน WWDC 2024
ไอโอเอสแต่ละรุ่น
แก้รุ่น | เปิดตัวครั้งแรก | รายละเอียดหลัก [3] |
---|---|---|
1 | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 | เปิดตัวพร้อมกับ iPhone 2G รุ่นแรก โดยใช้ชื่อว่า iPhone OS |
2 | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 | รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 3G และ iPod Touch ซึ่งเปิดตัวเป็นครั้งแรก ทั้งยังรองรับ App store เป็นครั้งแรก |
3 | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552 | รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 3GS สามารถคัดลอกและวางข้อความ และส่ง MMS ได้ |
4 | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553 | รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 4 เป็นรุ่นแรกที่ใช้ชื่อว่า iOS อย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อว่า iOS 4 โดยเป็นเวอร์ชันแรกที่ iPhone รุ่นแรกไม่รองรับ ในรุ่นนี้รองรับฟังก์ชันมากมาย อาทิ Multitasking เป็นต้น และในรุ่น 4.2.1 เป็นรุ่นแรกที่เริ่มใช่งานใน ไอแพด ซึ่งเปิดตัวเป็นครั้งแรก |
5 | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 4S รุ่นนี้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบหน้าตาของฟังก์ชันพื้นฐาน และรองรับระบบต่างๆมากมาย อาทิ ไอคลาวด์ และ สิริ เป็นต้น |
6 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555 | รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 5 และไอพอดทัช รุ้นที่ 5 เปลี่ยนไปใช้ระบบแผนที่ของ TomTom, สามารถ Facetime ผ่านระบบเซลลูล่าร์, การถ่ายภาพแบบพาโนรามา, คีย์บอร์ดภาษาไทยแบบ 4 แถว, แอปพลิเคชันนาฬิกาสำหรับ iPad |
7 | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | เปลี่ยนส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ใหม่ทั้งหมดให้เป็นแบบเรียบง่าย เพิ่มสถานีวิทยุไอจูนส์ ศูนย์การตั้งค่าด่วน บริการส่งไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ของแอปเปิลผ่านแอร์ดรอป และเสริมความสามารถของซีรี (อังกฤษ: Siri) หรือที่แผลงเป็น สิริ |
8 | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557 | เพิ่มไอคลาวด์ไดรฟ์ การแจ้งเตือนแบบอินเตอร์แอกทีฟ การสนับสนุนแป้นพิมพ์จากผู้พัฒนาอื่นนอกเหนือแอปเปิล การแบ่งปันข้อมูลในอุปกรณ์ของแอปเปิลภายในครอบครัว และระบบการค้นหาใหม่ |
9 | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558 | ปรับปรุง Siri ให้มีความแม่นย้ำมากขึ้นกว่าเดิม , เปลี่ยนแอปพลิเคชัน จาก Passbook เป็น Wallet , เพิ่มแอปพลิเคชัน News , ปรับปรุงอินเทอร์เฟส Multitasking และอื่นๆ
- สำหรับ iPad โดยเฉพาะ : เพิ่มฟีเจอร์ QuickType keyboard , เพิ่มการรองรับ Slide Over , เพิ่มการรองรับ รูปภาพข้างในรูปภาพ (Picture in Picture) และ เพิ่มการรองรับ Split View
|
10 | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559 | - เปลี่ยนหน้าตา Lock Screen ใหม่ พร้อมฟังค์ชั่น Raise To Wake โดยใช้ Apple M9 คอยตรวจการเคลื่อนไหวของตัวเครื่อง , เปลี่ยนเสียงเอกเฟคบางส่วน , เปลี่ยนหน้าตา Control Center , เปลี่ยนหน้าตาแอพต่างๆ เช่น Apple Music News Maps
- ปรับปรุงการใช้ 3D Touch , ปรับปรุง QuickType - สามารถลบแอพที่มาพร้อมกับ iOS ได้แล้ว , การแจ้งเตือน สามารถลบออกทั้งหมดได้ในแตะครั้งเดียว - เพิ่มลูกเล่นสำหรับแอพ Messages , Photos - เพิ่มแอพใหม่ Home - เพิ่มฟังค์ชั่นการตรวจสอบเบอร์โทรเป็นสแปม , VoIP ทำได้บนแอพโทรศัพท์ได้แล้ว |
11 | 19 กันยายน พ.ศ. 2560 | ใน ไอโอเอส 11 มีการออกแบบหน้าตาของระบบ โปรแกรม และไอคอนใหม่ โดยมีการปรับปรุงให้ใช้งานง่ายและสะดวกมากขึ้น เช่น Control Center Notification Calculator App Store เป็นต้น
-ปรังปรุง Siri ทั้งไอคอน หน้าจอ เสียง หรือความฉลาดที่มากขึ้น -เพิ่มแอปฯ Files[4] |
12 | 17 กันยายน พ.ศ. 2561 | ปรับปรุงประสิทธิภาพของตัวเครื่องให้เปิดแอพได้เร็วขึ้น , เพิ่ม Screen Time , รองรับแอพที่ทำด้วย ARKit 2 , รองรับการใช้แผนที่จากแอพฯภายนอก บน Carplay ได้ |
13 | 4 มิถุนายน 2562 | - เพิ่ม Dark mode สำหรับใช้งานตอนกลางคืน
- ปรับปรุง Portrait Lightning ให้ดียิ่งขึ้น - สามารถหมุนและปรับการสะท้อนของวีดีโอ - แอพกล้องสามารถแต่งรูปภาพโดยใช้แสงและสี โดยเครื่องมือมีความละเอียดมากยิ่งขึ้น - แยก iPad ออกจาก iOS โดยตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ในชื่อ iPadOS - เพิ่มการใช้งานการลงชื่อเข้าสู่ระบบ โดยใช้อีเมลและรหัสผ่านของแอปเปิลเอง (Sign in with Apple) - ปรับปรุง Siri ให้มีเสียงพูดที่ธรรมชาติมากยิ่งขึ้น - สามารถนำ Memoji ส่งเป็นสติกเกอร์ในแอพ iMessage |
14 | 23 มิถุนายน 2563 | - เพิ่มวิดเจ็ตที่สามารถแสดงข้อมูลจากแอปพลิเคชันต่างๆ บนหน้าจอโฮมได้
- เพิ่มหน้า App Library ที่จะแบ่งกลุ่มของแอพลิเคชั่นในเครื่องตามฟังก์ชันโดยอัตโนมัติ |
15 | 20 กันยายน 2564 | - เพิ่มระบบ "SharePlay" สำหรับ FaceTime โดยเป็นการแชร์ภาพยนตร์, รายการโทรทัศน์, หน้าจอ และเพลง
- เพิ่มระบบ "แชร์กับคุณ" ที่จะเป็นการส่งต่อข้อความไป-มาระหว่างแอปต่าง ๆ ได้ - ปรบปรุง Meemmoji ให้ดียิ่งขึ้น มีการเพิ่มเสื้อผ้าเข้ามาและเครื่องประดับอีกมากมาย - เพิ่มระบบโฟกัส ซึ่งมีการทำงานคล้ายระบบ "ห้ามรบกวน" โดยผู้ใช้จะเลือกช่วงเวลาที่โฟกัสกับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ระบบนี้จะช่วยกรองการแจ้งเตือนต่าง ๆ เพื่อจะได้ไม่รบกวนผู้ใช้ตามช่วงเวลาที่เลือกไว้ - การปรับปรุงระบบอื่น ๆ ให้ดียิ่งขึ้นไป |
16 | 12 กันยายน 2565 | - เพิ่มระบบการตกแต่งหน้าจอ Lock Screen
- ปรับหน้าจอล็อกและสามารถปรับลุคและอารมณ์และเชื่อมต่อกับ Focus ได้ - แสดงบางแอปที่หน้าล็อก Lock Screen - แอปสภาพอากาศ - Visual Look Up เพิ่มความสามารถใหม่ไดคัทรูปได้ - แอปแปลภาษาสามารถรองรับภาษาไทย - Live Text รองรับไฟล์วีดีโอ - จัดระบบแสดงผล Notification ใหม่ - เพิ่มแอป Fitness - แอปสุขภาพเพิ่มฟีเจอร์การทานยา - เพิ่มการแชร์กลุ่มแท็บของ Safari - แอปข้อความ เพิ่มความสามารถแก้ไขข้อความและยกเลิกการส่งได้ - แอปเมลปรับปรุงใหม่ - ดูรหัส Wi-fi ที่เชื่อมต่อ - การปรับปรุงระบบเพิ่มเติม ให้ดียิ่งไป |
17 | 18 กันยายน 2566 | - เพิ่มฟีเจอร์ Name Drop และ StandBy Mode
- แอปข้อความปรับปรุงหน้าตาแอปและเพิ่มในการสร้าง Sticker - สร้าง Live Sticker - การปรับปรุงระบบเพิ่มเติม ให้ดียิ่งไป |
18 | กันยายน 2567 | ปรับปรุงแต่ไอคอนสีแอปให้อิสระ |
ฟังค์ชั่นต่างๆที่รองรับอุปกรณ์ต่าง ๆ
แก้ดูเพิ่มเติมได้ที่ : รายการฟังค์ชั่นที่รองรับอุปกรณ์บน iOS
ช่วงเวลาต่าง ๆ บนในแต่ละรุ่นกับ iOS
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Apple – iPad Pro – Specs". Apple. สืบค้นเมื่อ October 24, 2015.
- ↑ "Apple – iPad mini – View the technical specifications for iPad mini". Apple. สืบค้นเมื่อ October 29, 2012.
- ↑ "AppleForward". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-03. สืบค้นเมื่อ 2021-09-03.
- ↑ iOS 11 เปิดให้อัปเดตอย่างเป็นทางการแล้ว มีอะไรใหม่?
- ↑ Apple Inc., Newsroom Archive - Apple, Retrieved June 7, 2018.
- ↑ Mactracker (mactracker.ca), Apple Inc. model database, version as of 26 July 2007.