นาวาอากาศเอก ไอลีน แมรี คอลลินส์ (Eileen Marie Collins) เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 ในเมืองเอลมิรา นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา อดีตนักบินทดสอบในกองทัพอากาศสหรัฐ ภายหลังรับตำแหน่งเป็นนักบินอวกาศแห่งองค์การนาซา ทั้งยังเป็นนักบินและผู้บังคับการกระสวยอวกาศหญิงคนแรกด้วย

ไอลีน คอลลินส์

ประวัติ แก้

ในวัยเด็ก ไอลีนมีความสนใจทั้งด้านการบินอวกาศและการเป็นนักบิน เมื่อ ค.ศ. 1988 ได้สมรสกับแพต ยังส์ ซึ่งเป็นนักบิน ทั้งสองมีลูกด้วยกันสองคน

การศึกษา แก้

  • ค.ศ. 1974 ไอลีนจบการศึกษาขั้นต้น จากสถาบันเอลมิรา ฟรี ในเมืองเอลมิรา รัฐนิวยอร์ก
  • ค.ศ. 1976 ได้รับอนุปริญญาวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์ จากวิทยาลัยคอร์นิง คอมมูนิตี้
  • ค.ศ. 1978 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยไซราคัส
  • ค.ศ. 1986 ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ด้านวิจัยเชิงปฏิบัติการ จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
  • ค.ศ. 1989 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ด้านการบริหารระบบอวกาศ จากมหาวิทยาลัยเวบสเตอร์

การทำงาน แก้

เมื่อ ค.ศ. 1979 ไอลีนจบการฝึกอบรมการบินระดับปริญญาตรี จากกองทัพอากาศสหรัฐ จากนั้นมาได้ทำงานเป็นนักบินผู้สอน T-38 กระทั่งปี 1982 ต่อมาในระหว่าง ค.ศ. 1983-1985 ได้เป็นครูฝึกบินและผู้บังคับการอากาศยาน เครื่องบิน C-141 สตาร์ลิฟเตอร์ ครั้นปี 1986 – 1989 ก็ได้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาคณิตศาสตร์ และเป็นครูฝึกบิน เครื่องบิน T-41 ที่โรงเรียนนายร้อยทหารอากาศ สหรัฐอเมริกา

ไอลีนได้รับเลือกจากโครงการนักบินอวกาศขององค์การนาซา ขณะที่เข้าเรียนในโรงเรียนนักบินทดสอบแห่งกองทัพอากาศที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา ที่ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิดส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย และจบหลักสูตรเมื่อปี ค.ศ. 1990 ไอลีนได้สะสมชั่วโมงบินได้มากกว่า 6,000 ชั่วโมง ในอากาศยานกว่า 30 แบบ

ประสบการณ์การบินอวกาศ แก้

ไอลีนได้บินกับกระสวยอวกาศเป็นครั้งแรกในฐานะนักบินของกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี เมื่อ ปี ค.ศ. 1995 ในเที่ยวบิน STS-63 ซึ่งมีการนัดพบกับสถานีอวกาศเมียร์ของรัสเซีย

ต่อมา ไอลีนได้บังคับการบินกระสวยอวกาศโคลัมเบีย ในเที่ยวบิน STS-93 ซึ่งปล่อยขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1999 เพื่อปฏิบัติภารกิจปล่อยหอดูดาวรังสีเอ็กซ์จันทรา (Chandra X-Ray Observatory) นี่เป็นภารกิจที่สมบูรณ์ก่อนจะถึงภารกิจครั้งสุดท้ายของกระสวยอวกาศโคลัมเบีย (ภารกิจสมบูรณ์ทั้งสุดท้ายของยานโคลัมเบียคือเที่ยวบิน STS-109 เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2002 ก่อนจะระเบิดในเที่ยวบิน STS-107 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003)

หลังจากนั้น ไอลีนได้บังคับการเที่ยวบิน STS-114 เป็นการส่งกระสวยอวกาศอีกครั้งของนาซา หลังความพินาศของยานโคลัมเบีย ภารกิจครั้งนี้นอกจากจะเป็นการทดสอบการปรับปรุงด้านความปลอดภัยแล้ว ยังเป็นการส่งกำลังบำรุงให้แก่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) อีกด้วย เที่ยวบินนี้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 และกลับเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ปีเดียวกัน ในเที่ยวบินนี้ ไอลีนนับเป็นนักบินอากาศคนแรกที่ควบคุมกระสวยอวกาศให้ตีลังกาหมุนรอบ 360 องศาอย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักบินอวกาศในสถานีอวกาศนานาชาติได้ถ่ายภาพส่วนท้องของยานดิสคัฟเวอรี เพื่อยืนยันว่าไม่มีอันตรายจากความเสียหายของชิ้นส่วนของยานที่หลุดออกในช่วงปล่อยยาน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้