สัญญาณไฟจราจร[1] เป็นอุปกรณ์สัญญาณไฟที่ปรากฏตามแยกถนนต่างๆ, ทางเดินเท้า และสถานที่อื่นๆ  เพื่อควบคุมการจราจรบนท้องถนน โดยการแสดงสัญญาณให้กับคนขับรถและคนเดินเท้าทำตามสัญญาณไฟ สัญญาณไฟจราจรแห่งแรกของโลก ติดตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1868 กรุงลอนดอน[2] และถูกติดตั้งในสหรัฐอเมริกาในปลายปี ค.ศ. 1890 และในปัจจุบันมีการใช้สัญญาณไฟจราจรกันทั่วโลก

โครงร่างของสัญญาณไฟจราจรแนวตั้งมาตรฐาน
สัญญาณไฟจราจรในเมืองพอร์ตสมัท ประเทศอังกฤษ
สัญญาณไฟจราจรสำหรับการข้ามถนนในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สัญญาณไฟจราจรในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีเวลา

สีที่ปรากฏบนสัญญาณไฟจราจร มีความหมายดังนี้

  • ไฟสีเขียว – อนุญาตให้สัญจรไปในทิศทางที่ระบุ ถ้าทำได้อย่างปลอดภัยและมีที่ว่างอีกด้านของสี่แยก
  • ไฟสีแดง – ห้ามดำเนินการใด ๆ สัญญาณไฟสีแดงกะพริบต้องการให้หยุดการจราจร และดำเนินการต่อเมื่อปลอดภัย (เทียบเท่ากับป้ายหยุด)
  • ไฟสีอำพัน (หรือเรียกว่า ไฟสีส้ม ไฟสีเหลือง) – เตือนว่าสัญญาณกำลังจะเปลี่ยนเป็นไฟสีแดง โดยศาลบางแห่งกำหนดให้ผู้ขับขี่หยุดหากทำได้อย่างปลอดภัย และบางแห่งอนุญาตให้ผู้ขับขี่ผ่านสี่แยกได้หากทำได้อย่างปลอดภัย

ในบางประเทศในยุโรป (เช่น สหราชอาณาจักร) ไฟสีแดงและไฟสีเหลืองจะแสดงพร้อมกัน แสดงว่าสัญญาณกำลังจะเปลี่ยนเป็นไฟสีเขียว สัญญาณไฟสีเหลืองกะพริบเป็นสัญญาณเตือน ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ ไฟสีเหลืองกะพริบจะใช้เฉพาะที่สำหรับคนเดินข้ามถนน แทนที่สัญญาณไฟสีแดงไฟสีเหลืองพร้อมกัน และบอกว่าผู้ขับขี่อาจผ่านไปได้หากไม่มีคนเดินข้ามทางม้าลาย ระยะเวลาที่สัญญาณไฟจราจรยังคงเป็นไฟสีเขียวหรือไฟสีแดงเรียกว่าเฟส

อ้างอิง

แก้
  • City of Beacon. Canajoharie, New York: Credits เก็บถาวร 2008-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 30 Sep 2008.
  • Croton-on-Hudson Historical Society. Canajoharie, New York: Credits. Retrieved 30 Sep 2008.
  • Villages of Canajoharie & Palatine Bridge. Canajoharie, New York: Credits. Retrieved 30 Sep 2008.
  • Woods, Arthur (April 1916). "Keeping City Traffic Moving: One Of The Most Difficult Of All City Problems, And The New Methods Which Have Been Devised To Solve It". The World's Work: A History of Our Time. Doubleday, Page & Company. XXXI: 621–532. สืบค้นเมื่อ 2009-08-04.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้