ไนเซอริทรอล (อังกฤษ: Niceritrol) (ชื่อการค้า: Perycit) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดที่เป็นอนุพันธ์ของไนอะซิน (niacin derivative) โดยมีโครงสร้างเป็นสารประกอบเอสเทอร์ของเพนตะอีระไธรทอล (pentaerythritol) และกรดนิโคทินิค (nicotinic acid) คุณสมบัติโดยทั่วไปของไนเซอริทรอลนั้นมีความคล้ายคลึงกันกับกรดนิโคทินิค (หรือนิโคทินาไมด์) นอกจากจะมีฤทธิ์เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดแล้ว ไนเซอริทรอลยังมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ซึ่งอาจสามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวเนื่องกับหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular disease) ได้[1][2]

ไนเซอริทรอล
ข้อมูลทางคลินิก
AHFS/Drugs.comInternational Drug Names
รหัส ATC
ตัวบ่งชี้
  • 3-[(pyridin-3-yl) carbonyloxy]-2,2-bis ({[(pyridin-3-yl) carbonyloxy]methyl}) propyl pyridine-3-carboxylate
PubChem CID
ChemSpider
UNII
KEGG
ECHA InfoCard100.025.017
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC29H24N4O8
มวลต่อโมล556.523 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • C1=CC (=CN=C1) C (=O) OCC (COC (=O) C2=CN=CC=C2) (COC (=O) C3=CN=CC=C3) COC (=O) C4=CN=CC=C4
  • InChI=1S/C29H24N4O8/c34-25 (21-5-1-9-30-13-21) 38-17-29 (18-39-26 (35) 22-6-2-10-31-14-22,19-40-27 (36) 23-7-3-11-32-15-23) 20-41-28 (37) 24-8-4-12-33-16-24/h1-16H,17-20H2 ☒N
  • Key:KUEUWHJGRZKESU-UHFFFAOYSA-N ☒N
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

การศึกษาทางคลินิก แก้

การศึกษาทางคลินิกที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของไนเซอริทรอลในการลดระดับไขมันในเลือดนั้นขึ้นอยู่กับขนาดยาและระดับไขมันในเลือดพื้นฐานของผู้ป่วย โดยการศึกษาของ เทระโมโตะและคณะซึ่งได้ทำการศึกษาถึงผลของไนเซอริทรอลต่อระดับไลโปโปีตีน-เอ (Lipoprotein-a) ที่จัดเป็นส่วนประกอบสำคัญของ LDL-C โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงจำนวน 72 คน โดยใช้ไนเซอริทรอลเริ่มต้นในขนาด 750-1500 มิลลิกรัมต่อวัน จากนั้นทุกๆ 4 สัปดาห์ จะพิจารณาปรับเพิ่มขนาดไนเซอริทรอลขึ้นในผู้ที่มีระดับไขมันในกระแสเลือดมากกว่า 5.69 มิลลิโมลต่อลิตร โดยมีขนาดสูงสุด คือ 2250 มิลลิกรัมต่อวัน ผลการศึกษาพบว่า ไนเซอริทรอลสามารถลดระดับไลโปโปรตีน-เอ ลงได้จาก 16.1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เป็น 11.1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับไลโปโปรตีน-เอก่อนเข้าร่วมการศึกษาสูงกว่า 20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ได้ประมาณร้อยละ 10.0, 22.0, และ 31.8 เมื่อใช้ไนเซอริทรอลในขนาด 750, 1500, และ 2250 มิลลิกรัมต่อวัน ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มที่มีระดับไลโปโปรตีน-เอ น้อยกว่า 20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรนั้นพบว่า มีเพียงการใช้ยาในขนาด 2250 มิลลิกรัมต่อวันท่านั้นที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับไลโปโปรตีน-เอ [3]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Owada A, Suda S, Hata T (April 2003). "Antiproteinuric effect of niceritrol, a nicotinic acid derivative, in chronic renal disease with hyperlipidemia: a randomized trial". The American Journal of Medicine. 114 (5): 347–53. doi:10.1016/s0002-9343(02)01567-x. PMID 12714122.
  2. Truven Health Analytics Inc. (May 8, 2008). "Niceritrol". Micromedexsolutions.com. สืบค้นเมื่อ December 14, 2014.
  3. Teramoto T, Yamada N, Shimano H, Oka Y, Itakura H, Saito Y; และคณะ (1996). "Dose-dependent effect of niceritrol on plasma lipoprotein-a". Scand J Clin Lab Invest. 56 (4): 359–65. PMID 8837243.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)