พหุภพ
พหุภพ หรือ พหุจักรวาล (อังกฤษ: multiverse, meta-universe, metaverse[1]) คือแนวคิดตามสมมติฐานว่ามีเอกภพ จำนวนมากมายนับไม่ถ้วน เกิดขึ้นและสลายไปอยู่ ตลอดเวลา (รวมถึงเอกภพของเราเป็นหนึ่งในนั้น) ซึ่งประกอบด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริงทางกายภาพ เช่น กาล อวกาศ รูปแบบทุกชนิดของสสาร พลังงาน โมเมนตัม และกฎทางฟิสิกส์รวมถึงค่าคงที่ต่างๆ ที่ครอบคลุมอยู่ ศัพท์คำนี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1895 โดยนักปรัชญาและจิตวิทยาชาวอเมริกัน วิลเลียม เจมส์[2] เอกภพอื่น ๆ ที่มีอยู่ในพหุภพ บางครั้งก็เรียกว่า เอกภพคู่ขนาน
รากฐานของแนวคิดเรื่อง พหุภพ หรืออนันตภพนี้ ยืนอยู่บนทฤษฏีทางฟิสิกส์ 3 ทฤษฎีคือ ทฤษฎี String Theory, ทฤษฎีเอกภพขยายตัว และทฤษฎีสสารมืด (Dark matters) โดยเมื่อมีทฤษฎีสสารมืด นักฟิสิกส์ คำนวณปริมาณสสารแล้วมีมากกว่าสสารทั้งเอกภพถึง สิบยกกำลังกว่า 500 ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับพหุภพที่มีผู้เสนอเอาไว้ในช่วงทศวรรษ 1970s มีความเป็นไปได้สูง
โครงสร้างของพหุภพ ธรรมชาติของแต่ละเอกภพภายในพหุภพ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกภพแต่ละแห่งมีอยู่หลายแนวทางขึ้นกับสมมุติฐานของพหุภพที่นำมาพิจารณา สมมุติฐานพหุภพมีอยู่ในการศึกษาจักรวาลวิทยา ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา และในนวนิยาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนิยายวิทยาศาสตร์และแฟนตาซี ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปเช่น เอกภพคู่ขนาน โลกคู่ขนาน ความเป็นจริงคู่ขนาน มิติคู่ขนาน และอื่น ๆ อีก
สมมติฐานเกี่ยวกับพหุภพในทางฟิสิกส์
แก้แม็กซ์ เทกมาร์ค (Max Tegmark) และ ไบรอัน กรีน (Brian Greene) ได้คิดค้นรูปแบบของการจัดหมวดหมู่ที่จะจัดจำแนกหมวดหมู่ประเภทของพหุภพประเภทต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างหลากหลายในทางทฤษฎี, หรือประเภทของเอกภพ (universe) ที่อาจประกอบด้วยจำนวนของพหุภพทั้งหมดที่มีอยู่ในทางทฏษฎี
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Laszlo, Ervin (2003). The Cennectivity Hypothesis: Fountations of an Integral Science of Quantum, Cosmos, Life, and Consciousness, p.108. State University of New York Press, Albany. ISBN 0791457850
- ↑ James, William, The Will to Believe, 1895; and earlier in 1895, as cited in OED's new 2003 entry for "multiverse": "1895 W. JAMES in Internat. Jrnl. Ethics 6 10 Visible nature is all plasticity and indifference, a multiverse, as one might call it, and not a universe."
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Aurélien Barrau, "ฟิสิกส์ในพหุภพ เก็บถาวร 2012-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
- --------, "Multiple Universes?" (in French). Review of Carr (2007).
- Paul Davies (2004) "แบบจำลองจักรวาลวิทยาของพหุภพ", Mod.Phys.Lett. A 19: 727-744.
- David Deutsch (2001) "โครงสร้างของพหุภพ"
- Ellis, George F.R. (2004). "Multiverses and physical cosmology". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 347: 921–936. doi:10.1111/j.1365-2966.2004.07261.x. สืบค้นเมื่อ 2007-01-09.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - Max Tegmark, "เอกภพคู่ขนาน ไม่ใช่แค่นิยายวิทยาศาสตร์ เอกภพอื่นๆ เกิดจากการตีความจากผลสังเกตการณ์ทางจักรวาลวิทยา เก็บถาวร 2010-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
- BBC Horizon -Parallel Universes.
- Michael Price's Everett FAQ.
- Jürgen Schmidhuber, "The ensemble of universes describable by constructive mathematics."
- Interview with Tufts cosmologist Alex Vilenkin on his new book, "Many Worlds in One: The Search for Other Universes" on the podcast and public radio interview program ThoughtCast. เก็บถาวร 2020-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Joseph Pine II about Multiverse เก็บถาวร 2008-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Presentation at Mobile Monday Amsterdam, 2008
- Multiverse - รายการสนทนาทางวิทยุกับ เมลวิน แบรกก์ ทางสถานีวิทยุ BBC 4