โรม 1
โรม 1 (อังกฤษ: Romans 1) เป็นบทแรกของจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรมในภาคพันธสัญญาใหม่ของคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรมเรียบเรียงโดยเปาโลอัครทูตระหว่างอยู่ที่เมืองโครินธ์ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 50[1] ด้วยความช่วยเหลือเลขานุการ (amanuensis) เทอร์ทิอัส ผู้เพิ่มคำทักทายของตนเองลงในโรม 16:22[2] กิจการ 20:3[3] บันทึกว่าเปาโลอยู่ที่กรีซ (ซึ่งอาจเป็นที่เมืองโครินธ์) เป็นเวลา 3 เดือน จดหมายฉบับนี้ส่งถึง "ทุกท่านที่อยู่ในกรุงโรมผู้ซึ่งพระเจ้าทรงรัก และทรงเรียกให้เป็นธรรมิกชน"[4]
โรม 1 | |
---|---|
โรม 2 → | |
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม 1:1–7 ในพาไพรัส 10 เขียนเมื่อประมาณ ค.ศ. 316 | |
หนังสือ | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม |
หมวดหมู่ | บทจดหมายของเปาโล |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาใหม่ |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 6 |
ต้นฉบับ
แก้ข้อความต้นฉบับเขียนด้วยภาษากรีกคอยนี บทนี้แบ่งออกเป็น 32 วรรค
พยานต้นฉบับ
แก้สำเนาต้นฉบับบางส่วนในยุคต้นที่มีเนื้อหาของบทนี้ในภาษากรีกคอยนีได้แก่:[5]
- พาไพรัส 40 (~ ค.ศ. 250; วรรคที่หลงเหลือ 24–27, 31–32)
- พาไพรัส 10 (ค.ศ. 316; วรรคที่หลงเหลือ 1–7)[6]
- ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; ค.ศ. 325–350)
- ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; ค.ศ. 330–360)
- ฉบับอเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; ค.ศ. 400–440)
- Codex Ephraemi Rescriptus (~450; วรรคที่หลงเหลือ 4–32)
สำเนาต้นฉบับในภายหลังคือฉบับเบอร์เนอร์ (Codex Boernerianus; อาจเขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9) ไม่ได้ใช้วลีว่า ἐν Ῥώμῃ ('ในกรุงโรม') ในวรรค 7 แต่ถูกแทนที่ด้วยด้วย ἐν ἀγαπῃ ('ในความรัก', ข้อความแทรกระหว่างบรรทัดภาษาละติน – in caritate et dilectione) และความในวรรค 15 ถูกตัดออกทั้งหมดทั้งข้อความภาษากรีกและภาษาละติน[7]
การอัางอิงในพันธสัญญาเดิม
แก้- โรม 1:17 อ้างอิงฮาบากุก 2:4[8]
- โรม 1:23: สดุดี 10:10 [8]
การอัางอิงในพันธสัญญาใหม่
แก้- โรม 1:1: กิจการ 13:1 [8]
- การอ้างอิงในโรม 1:17 ถึงฮาบากุก 2:4 คู่ขนานกับการอ้างอิงเดียวกันในกาลาเทีย 3:11 และฮีบรู 10:38
คำนำ (1:1-7)
แก้จดหมายส่งถึง "ทุกท่านที่อยู่ในกรุงโรมผู้ซึ่งพระเจ้าทรงรัก และทรงเรียกให้เป็นธรรมิกชน"[4] ไม่ใช่ถึง "คริสตจักรในกรุงโรม" Heinrich Meyer นักเทววิทยาโปรเตสแตนต์ อ้างถึง "คริสตจักรในกรุงโรมโดยรวม"[9] ในขณะที่จอห์น เวสลีย์ (John Wesley) ผู้ก่อตั้งนิกายเมธอดิสต์ให้ความเห็นผู้เชื่อในกรุงโรม "กระจัดการะจายไปทั่วเมืองใหญ่แห่งนั้น และยังไม่รวมกลุ่มกันเป็นคริสตจักร"[10]
วรรค 1
แก้- เปาโล ผู้รับใช้ของพระเยซูคริสต์ ที่ได้รับการทรงเรียกให้เป็นอัครทูต และการตั้งไว้ให้ประกาศข่าวประเสริฐของพระเจ้า[11]
เครก ซี ฮิล (Craig C. Hill) กล่าวว่า "ที่เปาโลเป็นผู้เขียนจดหมายถึงโรมนั้นไม่เป็นที่สงสัยเลย"[1] การอ้างถึง "ข่าวประเสริฐของพระเจ้า" ในคำทักทายนี้มีลักษณะเฉพาะ[1] วลีนี้ปรากฏอีกครั้งในโรม 15:16 วิลเลียม ซันเดย์ (William Sanday) สะท้อนให้เห็นว่ารูปคำแสดงความเป็นเจ้าของที่คลุมเครือว่าข่าวประเสริฐของพระเจ้าดูจะหมายถึง "ข่าวประเสริฐที่มาจากพระเจ้า" หรือ "ข่าวประเสริฐที่พระเจ้าทรงพระนิพนธ์" มากกว่าจะเป็น "ข่าวประเสริฐที่พระเจ้าทรงเป็นผู้ได้รับการกล่าวถึง"[12]
การขอบพระคุณพระเจ้าและโอกาส (1:8-15)
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
แก่นของจดหมาย (1:16–17)
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระพิโรธของพระเจ้าต่อผู้บูชารูปเคารพ (1:18–32)
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
แก้- รักร่วมเพศในพันธสัญญาใหม่
- มาร์ติน ลูเทอร์
- เปาโลอัครทูต
- โรม
- ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: ฮาบากุก 2, กิจการ 9, กาลาเทีย 3, ฮีบรู 10
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Hill 2007, p. 1084.
- ↑ Donaldson, Terence L. (2007). "63. Introduction to the Pauline Corpus". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. p. 1077. ISBN 978-0199277186.
- ↑ กิจการ 20:3
- ↑ 4.0 4.1 โรม 1:7 : พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน
- ↑ List of manuscripts „Fortsetzung der Liste der Handschriften“ Institut für Neutestamentliche Textforschung, Universität Münster. (PDF-file; 147 kB)
- ↑ Grenfell, B. P.; Hunt, A. S., Oxyrhynchus Papyri II (1899), pp. 8–9.
- ↑ Metzger, Bruce M.; Ehrman, Bart D. (2005). The Text of the New Testament: Its Transmission, Corruption and Restoration (4 ed.). New York – Oxford: Oxford University Press. pp. 75–76. ISBN 978-0-19-516122-9.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "Biblical concordances of 1 Romans 1 in the 1611 King James Bible".
- ↑ Meyer, H. A. W. (1880), Meyer's NT Commentary on Romans 1, accessed 4 September 2016
- ↑ Wesley's Notes on the Bible on Romans 1, accessed 1 September 2016
- ↑ โรม 1:1 : พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน
- ↑ Sanday, W. (1905), The Epistle to the Romans: Romans 1, accessed on 21 September 2024
บรรณานุกรม
แก้- Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 9780195288810.
- Hill, Craig C. (2007). "64. Romans". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 1083–1108. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- Moo, Douglas J. (1994). "Romans". ใน Carson, D. A.; France, R. T.; Motyer, J. A.; Wenham, G. J. (บ.ก.). New Bible Commentary: 21st Century Edition (4, illustrated, reprint, revised ed.). Inter-Varsity Press. pp. 1115–1160. ISBN 9780851106489.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Romans 1 King James Bible - Wikisource
- English Translation with Parallel Latin Vulgate เก็บถาวร 2019-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Online Bible at GospelHall.org (ESV, KJV, Darby, American Standard Version, Bible in Basic English)
- Multiple bible versions at Bible Gateway (NKJV, NIV, NRSV etc.)
- โรม 1 ที่ยูเวอร์ชัน