โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 ฝ่ายมัธยมศึกษาตอนปลาย

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ ฝ่ายมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นโรงเรียนในเครือหาดใหญ่วิทยาลัยแห่งที่ 2 สืบเนื่องจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย๒ ได้รับความนิยม และมีนักเรียนเข้าสมัครเรียนเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี คณะกรรมการโรงเรียนในขณะนั้น พร้อมผู้อำนวยการโรงเรียน จึงมีแนวคิดสร้างโรงเรียนในนามหาดใหญ่วิทยาลัย แห่งที่ 2 โดยปัจจุบันเห็นว่าโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมของผู้ปกครองมากขึ้น เห็นได้จากการที่ผู้ปกครองพากันส่งบุตรหลานมาเข้าเรียนเพิ่มขึ้น จนเกินกว่าที่โรงเรียนจะรับไว้ได้หมดทุกปี ประกอบกับโรงเรียนมีพื้นที่กว้างขวางถึง 74 ไร่ 45 ตารางวา สมควรใช้ที่ดินของโรงเรียนให้คุ้มค่าที่สุด จึงประกาศจัดตั้งเป็น "โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย๒ มัธยมศึกษาปลาย" ตั้งอยู่บนพื้นที่เดิมทางทิศเหนือของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย๒ โดยให้รับเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ นั้นจะรับเฉพาะนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในระยะแรกให้ใช้อาคารเรียนรวมกันไปก่อน จนกว่าโรงเรียนจะสร้างอาคารเพิ่มขึ้น โครงการดังกล่าวเป็นการสนองนโยบายในการส่งเสริมการศึกษา อย่างเป็นระบบมากขึ้น ปัจจุบัน โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย๒ ฝ่ายมัธยมปลาย จัดการเรียนการสอนระดับช่วงชั้นที่ 4 (ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) โดยมีรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการ เป็นผู้ดูแล โดยเปิดทำการและมีพัฒนาการเรื่อยมา

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ ฝ่ายมัธยมศึกษาตอนปลาย
Hatyaiwittayalai2 School
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒
ข้อมูล
ชื่ออื่นญ.ว. ๒
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญสุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ)
สถาปนา30 มีนาคม 2539 (28 ปี 36 วัน)
เขตการศึกษาสพฐ.
รหัส03901107
ผู้อำนวยการนายก่อศักดิ์ ศรีน้อย
วิทยาเขตโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย๒
สีสีแดง-ฟ้า
เพลงเพลงประจำโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒, เพลงมาร์ชแดง-ฟ้า, เพลงมาร์ชหาดใหญ่วิทยาลัย ๒
ดอกไม้ดอกอินทนิล
เว็บไซต์[1]

ประวัติ แก้

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 ฝ่ายมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นโครงการจัดตั้งในการส่งเสริมการศึกษา ในระดับการศึกษาต่อเข้าระดับศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ หมู่ 3 และหมู่ 5 ต.บ้านพรุ อ.หาดใหญ่ สงขลา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายปลาย เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในแก่นักเรียนที่จบ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้เข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้มากยิ่งขึ้น เป็นการยกระดับการศึกษาของประชาชนให้สูงขึ้นเพื่อให้โรงเรียนต้นแบบที่เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีคุณภาพสามารถ รับนักเรียนที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนของรัฐและเอกชน เข้าเรียนต่อได้กว้างขวางและเพียงพอกับความต้องการของประชาชนที่เพิ่มขึ้น และแบ่งเบาภาระโรงเรียนมัธยมศึกษาที่จัดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีอยู่ซึ่งต้องรับนักเรียนจำนวนมาก และมีข้อจำกัดทางด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อที่ 74 ไร่ 3 งาน 12 ตารางวา ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตเดียวกับโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น

ความเป็นมาของโรงเรียนแห่งแรก แก้

ความเป็นมาของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยนั้น เดิมชื่อ โรงเรียนหาดใหญ่เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งที่3 ของจ.สงขลา กรมสามัญศึกษาประกาศตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอหาดใหญ่พร้อมเปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๔๘๘ พ.ศ. ๒๔๙๔ นักเรียนชั้น ม.๖ รุ่นแรกสอบได้ที่ ๑ ของ จ.สงขลา และด้วยความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนหาดใหญ่ จึงได้เปลี่ยนจากรับนักเรียนชายล้วนมาเป็นนักเรียนชาย-หญิงโดยยุบรวมกับโรงเรียนสตรีหาดใหญ่ สมบูรณ์กุลกันยา พ.ศ. ๒๕๑๐ โรงเรียนมีชื่อเสียงมากขึ้น มีจำนวนนักเรียนชาย-หญิงมากถึง๑,๒๐๐ คน และ พ.ศ. ๒๕๑๓ เริ่มเปิดสอนมัธยมศึกษาตอนปลาย จึงได้เพิ่มคำว่า วิทยาลัย ต่อจากชื่อเดิมเป็น โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จนถึงปัจจุบันนี้ มีโรงเรียนที่เป็นสาขา ในอดีตคือ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา และ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย๒

แผนการเรียน แก้

  • วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
  • ศิลป์-ฝรั่งเศส
  • ศิลป์-จีน
  • ศิลป์ทั่วไป

รูปแบบสถานะ แก้

  • โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย๒ ฝ่ายมัธยมศึกษาตอนปลาย ยังคงเป็นโรงเรียนเดียวกับหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ และการบริหารงานร่วมกันมีสถานะเป็นโครงการจัดตั้ง และเป็นหน่วยงานภายในกำกับ มีการจัดการเรียนการสอนร่วมกับโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ การบริหารงบประมาณอาคารสถานที่ และบุคลากร งานวิชาการ ยังจัดร่วมกับโรงเรียนเช่นเดิม เน้นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการเป็นผู้ดูแล ทั้งกำหนดหลักสูตร นโยบายในการ สอบคัดเลือกเข้าศึกษา และ และ ส่งเสริมความเลิศทางวิชาการ ในการศึกษาต่อยอดขั้นอุดมศึกษา

เหตุผลและหลักการ แก้

  • เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในแก่นักเรียนที่จบ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้เข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้มากยิ่งขึ้น เป็นการยกระดับการศึกษาของประชาชนให้สูงขึ้น
  • เพื่อให้โรงเรียนต้นแบบที่เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีคุณภาพสามารถ รับนักเรียนที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนของรัฐและเอกชน เข้าเรียนต่อได้กว้างขวางและเพียงพอกับความต้องการของประชาชนที่เพิ่มขึ้น
  • เพื่อแบ่งเบาภาระโรงเรียนมัธยมศึกษาที่จัดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีอยู่ซึ่งต้องรับนักเรียนจำนวนมาก และมีข้อจำกัดทางด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
  • เพื่อเตรียมการให้เป็นสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปอีกในอนาคต ซึ่งดำเนินการได้เต็มโครงการแล้ว ภาคใต้จะมีโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นแม่แบบต่อการพัฒนาพื้นที่อื่นได้
  • เพื่อจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของประเทศ ซึ่งอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ เป็นศูนย์กลางของสถาบันระดับอุดมศึกษาหลายแห่งและเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ตอนล่าง การคมนาคมสะดวก สามารถติดต่อแต่ละจังหวัดในภาคใต้และประเทศเพื่อนบ้าน เช่นประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน แก้

  • ตรีจักร ตราเครื่องหมายตรีจักร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็น ไทย คือ สถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ส่วน จักร หมายถึง ความยิ่งใหญ่ ความกล้าหาญ ความคม อันจะปกป้องสถาบันทั้งสาม  
  • อินทนิล เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียน ซึ่งมีกลีบดอกสีชมพู สีม่วงแกมชมพู หรือสีม่วง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลแห้ง มีขนาดใหญ่ และมีกลิ่นหอมเปรียบเสมือนคุณงามความดี ของลูก ญว สอง และความยิ่งใหญ่ของโรงเรียน ที่ส่งกลิ่นหอมขจรขจายไปทั่วทุกหนทุกแห่ง
  • พระพุทธมงคลอุดมโชค เป็นหอพระประจำโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ ตั้งตระหง่านเป็นสง่าอยู่ที่ประตูหน้า ของโรงเรียน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ที่ได้รับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาว ญว ๒เคารพสักการะ และยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพวกเราทุกคนให้ตั้งอยู่ในความประพฤติดี มีคุณธรรมอีกด้วย

สิ่งปลูกสร้างสำคัญต่างๆ ภายในโรงเรียน แก้

  • อาคารเจิดตรีจักร
  • หอประชุมภัคพิพิธ
  • อาคารกิตตระการ
  • โรงอาหารธารศัทธา
  • อาคารปัญจาสิริ
  • หอพระพุทธรูป
  • เสาธงมาตรฐาน
  • เรือนไทยนิทัศน์
  • อาคารปรีตินุสรณ์

รายนามผู้บริหาร แก้

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายวิลาพ อุทัยรัตน์ พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541
2. นางบุปผา มณีพรหม พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2547
3. นางสาวผ่องศรี เรืองดิษฐ์ พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549
4. ดร.พิมพ์มาส รังสรรค์สฤษดิ์ พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2554
5. นายก่อศักดิ์ ศรีน้อย พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้