โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง

โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 โดยคณะสงฆ์อำเภอศรีมหาโพธิ เป็นโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในปัจจุบัน ดร.อุดม ชำนิ เป็นผู้อำนวยการ พระราชปริยัติวัชราจารย์ (สุดใจ ยโสธโร ป.ธ.๔) เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี เจ้าอาวาสวัดใหม่กรงทอง เป็นผู้รับใบอนุญาตสถานศึกษา และ พระมหาธนศักดิ์ ธมฺมโชโต ป.ธ.๙ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดใหม่กรงทอง เป็นผู้จัดการโรงเรียน

โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
Matthayomwatmaikrongtong School Under the Royal Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhom
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.ท. (M.T.)
ประเภทโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
คำขวัญสุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ)
สถาปนา14 พฤษภาคม พ.ศ. 2498
ผู้ก่อตั้งคณะสงฆ์อำเภอศรีมหาโพธิ
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ผู้อำนวยการดร.อุดม ชำนิ
ระดับปีที่จัดการศึกษาชั้นปฐมวัย (อนุบาล) ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย สหศึกษา
สี███ ขาว และ
███ เหลือง
เว็บไซต์www.watmai.ac.th

วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงรับโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง อยู่ในพระราชูปถัมภ์

ประวัติ แก้

โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง เป็นโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ก่อตั้งโดยคณะสงฆ์จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 โดยมี พระวิสุทธิธรรมาจารย์ (หลวงพ่อทรัพย์) อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่กรงทอง และอดีตเจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี[1] ร่วมกับพระครูศรีมหาโพธิคณารักษ์ (สวาสดิ์ กระโยมกุล) อดีตเจ้าคณะอำเภอศรีมหาโพธิ[2] แรกเริ่มจัดสร้างด้วยเงินงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรสนับสนุน จำนวน 200,000 บาท มีนายบรรจบ ทองทับ เป็นผู้รับใบอนุญาต นายสนั่น สุวรรณกล่อม เป็นครูใหญ่ และพระมหาสวาสดิ์ กระโยมกุล (พระครูศรีมหาโพธิ์คณารักษ์) เป็นผู้จัดการฝ่ายสงฆ์ ปีการศึกษา พ.ศ. 2503 ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการ[3]

ปัจจุบันมีเนื้อที่ 31 ไร่ อาคารเรียน 7 หลัง จำนวน 157 ห้องเรียน

ห้องเรียน อาคารประกอบ จำนวน 3 หลัง เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปีการศึกษา 2566 มีคณะครู 243 รูป/คน นักเรียน 6,039 รูป/คน [4]

แหล่งข้อมูล แก้

  • เว็บไซต์โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง เก็บถาวร 2010-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ,สำนักงาน,รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา กรณีศึกษาประเภทการศึกษาสงเคราะห์ของวัดใหม่กรงทองจังหวัดปราจีนบุรี, อัดสำเนา กรุงเทพ ฯ ,2545.
  • พระครูสิริอาภาธร,ประวัติวัดใหม่กรงทอง, เอกสารอัดสำเนาวัดใหม่กรงทอง,จังหวัดปราจีนบุรี,2547.
  • โรงเรียนวัดใหม่กรงทอง,รายงานการประเมินตนเอง (Self Study Report), ปีการศึกษา 2546. เอกสารอัดสำเนา กรุงเทพ,2546.
  • วัดใหม่กรงทอง,กิจกรรมแสดงผลงานของวัดใหม่กรงทอง จังหวัดปราจีนบุรี, เอกสารอัดสำเนา จังหวัดปราจีนบุรี.2547.

อ้างอิง แก้

  1. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดปราจีนบุรี, กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย : กระทรวงศึกษาธิการ : กรมศิลปากร, 2544, หน้า 281
  2. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดปราจีนบุรี, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2544, หน้า 280-281
  3. พิศมัย เพ่งนุเคราะห์,วัดใหม่กรงทอง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี การจัดการโรงเรียนเอกชนการกุศลของวัดดีเด่น, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ,2548. หน้า 19.
  4. พิศมัย เพ่งนุเคราะห์,วัดใหม่กรงทอง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี การจัดการโรงเรียนเอกชนการกุศลของวัดดีเด่น, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ,2548. หน้า 18-19.