โรคพยาธิกีเนีย (อังกฤษ: Dracunculiasis; GWD) เป็นการติดเชื้อจาก พยาธิกีเนีย [1] คนติดเชื้อโรคนี้เมื่อดื่มน้ำที่มี ตัวไรน้ำ ที่มี ตัวอ่อนของพยาธิกีเนีย[1] เริ่มแรกจะไม่มีอาการ[2] แต่เมื่อประมาณหนึ่งปีผ่านไป ผู้ที่ติดเชื้อจะเริ่มมีความรู้สึกปวดแสบปวดร้อนจากแผลผุพองเนื่องจากพยาธิตัวเมียมาปล่อยตัวอ่อนที่บริเวณผิวหนัง ซึ่งโดยมากมักพบที่ขา[1] ไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้นพยาธิก็จะโผล่ออกมาจากผิวหนัง[3] ในช่วงเวลานี้ การเดินหรือการทำงานจะทำได้ยากลำบากมาก[2] แทบไม่เคยพบการเสียชีวิตที่มีโรคนี้เป็นสาเหตุ[1]

โรคพยาธิกีเนีย (EN: Dracunculiasis)
การใช้ก้านไม้ขีดเพื่อดึงพยาธิกีเนียออกจากขาผู้ป่วย
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10B72
ICD-9125.7
DiseasesDB3945
eMedicineped/616
MeSHD004320

สาเหตุ แก้

มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่ทราบว่ามีการติดเชื้อพยาธิกีเนีย[2] พยาธินี้กว้างประมาณหนึ่งหรือสองมิลลิเมตรและตัวเต็มวัยเพศเมียจะยาว 60 ถึง 100 เซนติเมตร(พยาธิตัวเมียจะสั้นกว่าตัวผู้มาก)[1][2] ภายนอกร่างกายมนุษย์ ไข่พยาธิจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกินสามสัปดาห์ [4] ไข่พยาธิเหล่านี้จะต้องถูกกินโดยตัวไรน้ำก่อนช่วงเวลานี้[1] ตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ภายในตัวไรน้ำจะมีชีวิตอยู่ได้นานถึงสี่เดือน[4] ด้วยเหตุนี้ โรคนี้จึงเกิดขึ้นกับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ทุกๆ ปี[5] โดยทั่วไปมักใช้อาการและอาการแสดงของโรคเป็นพื้นฐานในการวินิจฉัยโรค[6]

การป้องกันและการรักษา แก้

การป้องกันคือการวินิจฉัยโรคตั้งแต่เนิ่นๆ และจากนั้นจึงป้องกันโดยอย่าให้ผู้ติดเชื้อแช่แผลในน้ำที่ใช้ดื่ม[1] การป้องกันวิธีอื่นๆ ได้แก่: การจัดหาแหล่งน้ำสะอาดหรือการกรองน้ำถ้าน้ำนั้นไม่สะอาด[1] การกรองน้ำด้วยผ้าก็มักเพียงพอแล้ว[3] การแก้ไขน้ำดื่มที่ปนเปื้อนก็อาจจะทำได้โดยใส่สารเคมีที่ชื่อว่า เทเมฟอส เพื่อฆ่าตัวอ่อน[1] โรคนี้ไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกัน [1] พยาธิอาจจะถูกกำจัดออกจากร่ายกายได้อย่างช้าๆ โดยการใช้ก้านไม้ม้วนตัวพยาธิแล้วค่อยๆ ดึงออกมา ซึ่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์[2] แผลจะเกิดจากการที่พยาธิโผล่ตัวออกมาซึ่งอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย[2] ความเจ็บปวดอาจจะยังคงเกิดขึ้นต่อไปอีกเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากที่พยาธิถูกกำจัดแล้ว[2]

ข้อมูลทางระบาดวิทยาและประวัติ แก้

ในปี 2556 มีการรายงานเกี่ยวกับโรคนี้จำนวน 148 ราย[1] ซึ่งลดลงจากจำนวน 3.5 ล้านรายในปี 2529[2] โรคนี้ยังคงมีอยู่เฉพาะใน 4 ประเทศของแอฟริกาจากจำนวน 20 ประเทศในระหว่างปี 2523-2533[1] ประเทศที่มีจำนวนการติดเชื้อสูงสุดคือ ซูดานใต้[1] มีแนวโน้มว่าพยาธิชนิดนี้อาจจะเป็น พยาธิก่อโรค ชนิดแรกที่จะถูกกำจัดให้หมดสิ้น[7] พยาธิกีเนียเป็นพยาธิที่รู้จักกันมาตั้งแต่ยุคโบราณ[2] มันถูกกล่าวถึงในประวัติทางการแพทย์ของอียิปต์ ปาปิรุสเอแบส เมื่อประมาณ 1550 ปี ก่อนคริสต์ศักราช[8] ชื่อ dracunculiasis นี้ผันมาจาก ละติน ที่แปลว่า "ความเจ็บปวดจากมังกรตัวน้อย"[9] ในขณะที่ชื่อ "พยาธิกีเนีย" เกิดขึ้นหลังจากที่ชาวยุโรปพบเห็นโรคที่ชายฝั่งของประเทศ กินี ของ แอฟริกาตะวันตก ในศตวรรษที่ 17[8] พยาธิที่เป็นสาเหตุของโรคในสัตว์อื่นๆ มีสายพันธ์ที่คล้ายคลึงกับพยาธิกีเนีย[10] ซึ่งพยาธิเหล่านี้ไม่พบว่ามีการติดเชื้อในมนุษย์[10] โรคนี้ถูกจัดว่าเป็น โรคเขตร้อนที่ถูกละเลย[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 "Dracunculiasis (guinea-worm disease) Fact sheet N°359 (Revised)". World Health Organization. March 2014. สืบค้นเมื่อ 18 March 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 Greenaway, C (Feb 17, 2004). "Dracunculiasis (guinea worm disease)". CMAJ : Canadian Medical Association journal. 170 (4): 495–500. PMC 332717. PMID 14970098.
  3. 3.0 3.1 Cairncross, S; Tayeh, A; Korkor, AS (Jun 2012). "Why is dracunculiasis eradication taking so long?". Trends in parasitology. 28 (6): 225–30. doi:10.1016/j.pt.2012.03.003. PMID 22520367.
  4. 4.0 4.1 Junghanss, Jeremy Farrar, Peter J. Hotez, Thomas (2013). Manson's tropical diseases (23rd ed.). Oxford: Elsevier/Saunders. p. e62. ISBN 9780702053061.
  5. "Parasites - Dracunculiasis (also known as Guinea Worm Disease) Eradication Program". CDC. November 22, 2013. สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
  6. Cook, Gordon (2009). Manson's tropical diseases (22nd ed.). [Edinburgh]: Saunders. p. 1506. ISBN 9781416044703.
  7. "Guinea Worm Eradication Program". The Carter Center. Carter Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.
  8. 8.0 8.1 Tropical Medicine Central Resource. "Dracunculiasis". Uniformed Services University of the Health Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-14. สืบค้นเมื่อ 2008-07-15.
  9. Barry M (June 2007). "The tail end of guinea worm — global eradication without a drug or a vaccine". N. Engl. J. Med. 356 (25): 2561–4. doi:10.1056/NEJMp078089. PMID 17582064. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-06. สืบค้นเมื่อ 2015-08-04.
  10. 10.0 10.1 Junghanss, Jeremy Farrar, Peter J. Hotez, Thomas (2013). Manson's tropical diseases (23rd ed.). Oxford: Elsevier/Saunders. p. 763. ISBN 9780702053061.
  11. "Neglected Tropical Diseases". cdc.gov. June 6, 2011. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.