โรคพุพอง
โรคพุพอง (อังกฤษ: impetigo หรือ impetaigo) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งอันเกิดแต่การติดเชื้อแบคทีเรีย "โรคแผลเปื่อยจากโรงเรียน" (อังกฤษ: school sores) ก็เรียก ปรากฏมากในเด็กอายุระหว่างสองปีถึงหกปี และผู้ที่เล่นกีฬาคลุกคลีระหว่างกัน เช่น รักบี้ อเมริกันฟุตบอล มวยปล้ำ มีความเสี่ยงรับโรคนี้ได้ไวไม่ว่าจะอายุเท่าใดก็ตาม โรคพุพองสามารถรักษาได้ในปัจจุบัน
โรคพุพอง (Impetigo) | |
---|---|
รอยโรคพุพองบนผิวหนัง | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | L01 |
ICD-9 | 684 |
DiseasesDB | 6753 |
MedlinePlus | 000860 |
eMedicine | derm/195 emerg/283 med/1163 ped/1172 |
สาเหตุ
แก้โรคพุพองมีสาเหตุเบื้องต้นมาจากแบคทีเรียชนิด "สตาฟีโลคอกคัสออเรอุส" (ละติน: Staphylococcus aureus) หรือชนิด "สเตรปโทคอกคัสพโยเจเนส" (ละติน: Streptococcus pyogenes)[1] [2]
การวินิจฉัยโรค
แก้โรคพุพองมักปรากฏตัวในสภาพสะเก็ดแผล (อังกฤษ: scab) สีเนื้อ อยู่บนน้ำเหลืองของเลือด (อังกฤษ: serum) ที่แห้งแล้ว ซึ่งพบได้มากตามแขน ขา และใบหน้า[1]
การแพร่เชื้อ
แก้โรคพุพองสามารถแพร่หลายและติดต่อได้โดยการสัมผัสกับรอยโรค (อังกฤษ: lesion) การสูดดม และการแกะเกาบริเวณสะเก็ดแผล
หลังจากได้รับเชื้อโรคพุพองแล้ว เชื้อจะฟักตัวราวหนึ่งถึงสามวันก่อนจะแสดงอาการ
การป้องกันโรค
แก้สุขอนามัยที่ดีสามารถช่วยป้องกันโรคพุพองมิให้แพร่หลายได้
ผู้ป่วยเป็นโรคพุพองควรรักษาความสะอาดของร่างกายเป็นมั่นคง ควรปกปิดรอยโรคด้วยผ้าผันแผลและเทปกาวเป็นต้น กับทั้งควรแยกผ้าเช็ดตัวกับผ้าเช็ดมือจากกัน กล่าวคือ ควรเป็นคนละผืนกัน
ผู้แวดล้อมผู้ป่วยควรระมัดระวังตนอย่าได้สัมผัสหรือเข้าใกล้ผู้ป่วยและเครื่องใช้ส่วนตัวของผู้ป่วย กับทั้งควรรักษาความสะอาดเป็นมั่นคงเช่นกัน
การไว้เล็บสั้นสามารถป้องกันการติดต่อโรคพุพองนี้ได้ดี
โรคพุพองหลากชนิด
แก้โรคพุพองในเด็ก
แก้โรคพุพองในเด็ก (อังกฤษ: bullous impetigo) มักปรากฏในเด็กที่มีอายุต่ำกว่าสองปี โรคชนิดนี้ไม่ก่ออาการเจ็บปวด และไม่ก่อให้ตุ่มพองเป็นของเหลวไหลเยื้มบริเวณแขนขาเป็นต้นเหมือนชนิดอื่น ๆ ผิวหนังบริเวณสะเก็ดแผลโรคนี้มักก่อให้เกิดอาการคันและมีสีแดงอย่างยิ่ง แต่ไม่เป็นแผลเปื่อยอย่างชนิดอื่น แผลจากโรคชนิดนี้หายยากกว่าชนิดอื่น
โรคพุพองเป็นตุ่มหนอง
แก้โรคพุพองเป็นตุ่มหนอง (อังกฤษ: ecthyma) เป็นชนิดที่ร้ายแรงที่สุดของโรคพุพอง เชื้อโรคฝังตัวลึกเข้าถึงผิวหนังชั้นใน ตัวบ่งอาการและอาการของโรคเป็นต้นว่า
- มีตุ่มซึ่งแตกแล้วมีของเหลวหรือหนองไหลออกมา และกลายเป็นแผลเปื่อยอย่างใหญ่หลวง พบมากบริเวณแขนขา
- มีสะเก็ดหนาและแข็งซึ่งมีสีเหลืองอมเทาครอบหุ้มอยู่บริเวณแผลเปื่อย
- ต่อมน้ำเหลืองพองโตบริเวณที่เป็นตุ่มหนอง
- มีรูปรากฏขึ้นหลังจากที่สะเก็ดแผลหายไปแล้ว รูนั้นเมื่อแรกจะเล็กเท่าหัวเข็มหมุด ต่อมาจะใหญ่เท่าเหรียญบาท
- หลังจากแผลเปื่อยหายไปแล้ว จะเกิดเป็นแผลเป็น
การบำบัดเยียวยา
แก้บทความนี้เป็นบทความทางแพทยศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ แม้มีวัตถุประสงค์นำเสนอข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริง กระนั้น ผู้อ่านก็มิควรปฏิบัติตามหรือนำไปปฏิบัติซึ่งข้อมูลใด ๆ เช่นว่านั้น เมื่อเกิดปัญหาควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะดีกว่า |
แต่ก่อนการเยียวยาโรคพุพองนี้กระทำได้โดยใช้ยาเจนเชียนไวโอเล็ตหรือที่รู้จักกันว่า "ยาป้ายปากสีม่วง" ยานี้เป็นยาต้านเชื้อรา [1] ปัจจุบันนิยมใช้ยาปฏิชีวนะมากกว่า
แพทย์ทั่วไปมักแนะนำให้ผู้ป่วยทายาขี้ผึ้งฆ่าแบคทีเรีย (อังกฤษ: bactericidal ointment) เช่น กรดฟูซีดิก (อังกฤษ: fusidic acid) แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงกว่านั้นต้องใช้ยาที่มีฤทธิ์แรงกล้าขึ้นตามลำดับ เช่น สารฟลูโคซาซีลลิน (flucloxacillin) สารเอรีโทรไมซิน (erythromycin) หรือสารดีโคลซาซีลลิน (dicloxacillin)
สารอาโมซีซีลลิน (amoxicillin) ที่ประสมกับสารคลาวูลาเนตโพแทสเซียม (clavulanate potassium) สามารถใช้เยียวยาโรคนี้ได้เช่นเดียวกับยาปฏิชีวนะ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Kumar, Vinay; Abbas, Abul K.; Fausto, Nelson; & Mitchell, Richard N. (2007). Robbins Basic Pathology (8th ed.). Saunders Elsevier. pp. 843 ISBN 978-1-4160-2973-1
- ↑ Stulberg DL, Penrod MA, Blatny RA (2002). "Common bacterial skin infections. In Japanese, this is known as Tobihi". American family physician. 66 (1): 119–24. PMID 12126026. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2008-09-24.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)