โทจิงิ (เมือง)

นครในจังหวัดโทจิงิ ประเทศญี่ปุ่น

โทจิงิ (ญี่ปุ่น: 栃木市โรมาจิTochigi-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ในจังหวัดโทจิงิ ในทางตอนเหนือของภูมิภาคคันโตของประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 331.50 ตารางกิโลเมตร (127.99 ตารางไมล์) มีจำนวนประชากร ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 ประมาณ 150,051 คน[1][2] ความหนาแน่นของประชากร 453 คนต่อตารางกิโลเมตร ในตัวเมืองโทจิงิยังคงมีวัดเก่าแก่ ร้านค้าแบบดั้งเดิม และคูระ (โกดังสินค้าแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น) จำนวนมาก เนื่องจากได้รับความเสียหายน้อยจากช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองโทจิงิเคยเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดโทจิงิมาตั้งแต่ ค.ศ. 1871 แต่ได้ย้ายมาตั้งในเมืองอุตสึโนมิยะเมื่อ ค.ศ. 1884

โทจิงิ

栃木市
สถานที่ต่าง ๆ ในนครโทจิงิ
สถานที่ต่าง ๆ ในนครโทจิงิ
ธงของโทจิงิ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของโทจิงิ
ตรา
ที่ตั้งของโทจิงิ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดโทจิงิ
ที่ตั้งของโทจิงิ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดโทจิงิ
แผนที่
โทจิงิตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
โทจิงิ
โทจิงิ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 36°22′52.8″N 139°43′49″E / 36.381333°N 139.73028°E / 36.381333; 139.73028
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัด โทจิงิ
บันทึกอย่างเป็นทางการครั้งแรก40 ปีก่อน ค.ศ.
จัดตั้งเป็นเทศบาลนคร1 เมษายน ค.ศ. 1937
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีฮิเดโกะ โอกาวะ (ตั้งแต่เมษายน ค.ศ. 2018) (อิสระ)
พื้นที่
 • ทั้งหมด331.50 ตร.กม. (127.99 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด150,051 คน
 • ความหนาแน่น453 คน/ตร.กม. (1,170 คน/ตร.ไมล์)
สัญลักษณ์
 • ต้นไม้Stewartia pseudocamellia
 • ดอกไม้อาซาเลียญี่ปุ่น (Rhododendron japonicum)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสท้องถิ่น09203-7
โทรศัพท์0282-21-2224
ที่อยู่ศาลาว่าการ7-26 อิริฟูเนะ นครโทจิงิ จังหวัดโทจิงิ 328-8686
เว็บไซต์www.city.tochigi.lg.jp

ภูมิศาสตร์

แก้

นครโทจิงิตั้งอยู่ในพื้นที่ทางใต้สุดของจังหวัดโทจิงิ มีอาณาเขตทางทิศใต้ติดกับจังหวัดไซตามะ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับจังหวัดอิบารากิ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับจังหวัดกุมมะ นครโทจิงิตั้งอยู่ทางตอนเหนือของที่ราบคันโต มีเทือกเขาทอดยาวในพื้นที่ทางตอนเหนือของเมือง มีแม่น้ำโทมาวะไหลผ่านใจกลางเมือง แม่น้ำโอชิงาวะไหลผ่านทางทิศตะวันออก และแม่น้ำวาตาราเซะไหลผ่านทางทิศใต้ บริเวณที่แม่น้ำทั้งสามสายนี้บรรจบกันคืออ่างเก็บน้ำยานากะ (อ่างเก็บน้ำวาตาราเซะ) ซึ่งใช้สำหรับเล่นเรือใบและวินด์เซิร์ฟ เมืองนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012[3]

เทศบาลข้างเคียง

แก้
 
จุดติดต่อระหว่างจังหวัดโทจิงิ-กุมมะ-ไซตามะ

ภูมิอากาศ

แก้

นครโทจิงิมีภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเด่นคือมีฤดูร้อนที่อบอุ่น และฤดูหนาวที่หนาวเย็น มีหิมะตกหนัก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของนครโทจิงิอยู่ที่ 14.2 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1325 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ประมาณ 26.5 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ 2.9 °C[4]

สถิติประชากร

แก้

ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[5] ประชากรของนครโทจิงิค่อนข้างคงที่ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1920 110,209—    
1930 117,833+6.9%
1940 120,583+2.3%
1950 156,029+29.4%
1960 147,499−5.5%
1970 152,125+3.1%
1980 168,423+10.7%
1990 174,717+3.7%
2000 171,755−1.7%
2010 164,033−4.5%
2020 155,549−5.2%

ประวัติศาสตร์

แก้

ในยุคเอโดะ เมืองโทจิงิมีความเจริญรุ่งเรืองเนื่องด้วยที่ตั้งริมแม่น้ำอูซูมาวะ ซึ่งเชื่อมต่อกับแม่น้ำโทเนะไปยังเอโดะ เหล่าทูตที่ทางราชสำนักส่งมายังศาลเจ้าและวัดต่าง ๆ ในนิกโก จะใช้เมืองโทจิงิเป็นที่พักก่อนเดินทางผ่านเส้นทางเรเฮอิชิไปยังนิกโก พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองโทจิงิเคยเป็นดินแดนเท็นเรียวซึ่งเป็นที่ดินอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของโชกุนโทกูงาวะ และเคยมีอาณาเขตศักดินาฟูกิอาเกะซึ่งเป็นพื้นที่เล็ก ๆ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเมืองโทจิงิในปัจจุบันด้วย

หลังจากการปฏิรูปเมจิและการก่อตั้งจังหวัดโทจิงิ เมืองโทจิงิเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดมาตั้งแต่ ค.ศ. 1871 จนกระทั่งย้ายไปยังเมืองอุตสึโนมิยะเมื่อ ค.ศ. 1884 และในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1937 เมืองโทจิงิได้รับการยกฐานะเป็นนคร

ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1954 เมืองโทจิงิได้ควบรวมหมู่บ้านโอมิยะ มินางาวะ ฟูกิอาเกะ และเทราโอะ (ทั้งหมดมาจากอำเภอชิมตสึงะ) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ต่อมาได้รวมเอาหมู่บ้านโคโอ (จากอำเภอชิมตสึงะ) เข้ามาด้วยเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1957 นครโทจิงิได้จัดเทศกาลภาพยนตร์ครั้งแรกที่มีชื่อว่า คูราโนมาจิคาโดะ หรือ "เทศกาลภาพยนตร์เอโซ" ตั้งแต่วันที่ 5–8 ตุลาคม ค.ศ. 2007

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2010 นครโทจิงิได้ควบรวมเมืองฟูจิโอกะ โอฮิระ และสึงะ (จากอำเภอชิมตสึงะ) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ต่อมาได้รวมเอาเมืองนิชิกาตะ (จากอำเภอคามิตสึงะ) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2011 และเมืองอิวาฟูเนะ (จากอำเภอชิมตสึงะ) เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 2014

การเมืองการปกครอง

แก้
 
ศาลาว่าการนครโทจิงิ

นครโทจิงิมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี-สภา โดยมีนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียว มีสมาชิกจำนวน 30 คน ในแง่ของการเมืองระดับจังหวัด นครโทจิงิเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดโทจิงิจำนวน 4 คน และในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครโทจิงิถูกแบ่งออกเป็นเขตเลือกตั้ง 3 เขต ได้แก่ เขตที่ 2, เขตที่ 4 และเขตที่ 5 ของจังหวัดโทจิงิ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ

แก้

นครโทจิงิเป็นศูนย์กลางการค้าของเมืองและหมู่บ้านที่อยู่โดยรอบและมีเศรษฐกิจท้องถิ่นแบบผสมผสาน โดยมีอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ การแปรรูปอาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ และการผลิตเบา บริษัทอีซูซุมีโรงงานตั้งอยู่ในนครโทจิงิมาตั้งแต่ ค.ศ. 1961 และเมื่อ ค.ศ. 2010 เมืองนี้มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรมากที่สุดในจังหวัด[6]

การศึกษา

แก้

นครโทจิงิมีโรงเรียนประถมศึกษา 29 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 15 แห่งที่สังกัดเทศบาลนครโทจิงิ มีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 8 แห่งที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดโทจิงิ และทางจังหวัดยังเปิดโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับผู้พิการอีก 1 แห่งในนครโทจิงิ นอกจากนี้ ยังมีวิทยาลัยโคกูงากูอิงโทจิงิ (國學院大學栃木短期大学) ซึ่งเป็นวิทยาลัยระดับอนุปริญญาเอกชน

การขนส่ง

แก้

รถไฟ

แก้

ทางหลวง

แก้

สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น

แก้

เมืองพี่น้อง

แก้

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "栃木県毎月人口推計月報" [รายงานประมาณการประชากรรายเดือนของจังหวัดโทจิงิ]. จังหวัดโทจิงิ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2024.
  2. "สถิติทางการของนครโทจิงิ" (ภาษาญี่ปุ่น). ประเทศญี่ปุ่น.
  3. June, 2012.
  4. ข้อมูลภูมิอากาศนครโทจิงิ
  5. สถิติประชากรนครโทจิงิ
  6. หน้าแรกเว็บไซต์ทางการของนครโทจิงิ (ในภาษาญี่ปุ่น)
  7. "100 Soundscapes of Japan". Ministry of the Environment. สืบค้นเมื่อ 8 December 2015.
  8. "Sister Cities International". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-29. สืบค้นเมื่อ 2006-11-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้