โซนี่ เอ็กซ์พีเรียแซด1

โซนี่ เอ็กซ์พีเรียแซด1 (อังกฤษ: Sony Xperia Z1) เป็นสมาร์ตโฟน รุ่นระดับสูง ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ผลิตโดยโซนี่ โดยส่วนใหญ่รู้จัก แซด1 ในชื่อ "โฮนามิ" (อังกฤษ: Honami) ซึ่งเป็นชื่อรหัสสำหรับการพัฒนาและผลิตรุ่นนี้ โดยเปิดตัวในงาน ไอเอฟเอ 2013 เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งจะวางขายในสหราชอาณาจักรวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 และในประเทศอื่นๆ ภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556

โซนี่ เอ็กซ์พีเรียแซด1
Sony Xperia Z1
โซนี่ เอ็กซ์พีเรียแซด1 รุ่นสีดำ
ตราสินค้าโซนี่
ผู้พัฒนาโซนี่ โมบายล์ คอมมูนิเคชัน
ผู้ผลิตโซนี่ โมบายล์ คอมมูนิเคชัน
สโลแกนThe best of Sony for the best you
(สุดยอดของโซนี่ ดีที่สุดสำหรับคุณ)
ซีรีส์เอ็กซ์พีเรีย
หมายเลขเครื่องซี6902/แอล39เอช
เครือข่ายที่รองรับจีเอสเอ็ม/จีพีอาร์เอส/เอดจ์ 850/900/1800/1900
เอชเอสพีเอ+ 800/850/900/1700/1900/2100
แอลทีอี 800/850/900/1500/1800/2100/2600
(คุณสมบัติของเครือข่ายอาจแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น)
เปิดตัวครั้งแรก4 กันยายน 2013; 10 ปีก่อน (2013-09-04)
ขายในประเทศ20 กันยายน 2013; 10 ปีก่อน (2013-09-20) (สหราชอาณาจักร)
รุ่นก่อนหน้าโซนี่ เอ็กซ์พีเรียแซด
รุ่นที่เกี่ยวข้องโซนี่ เอ็กซ์พีเรียแซดแอล
โซนี่ เอ็กซ์พีเรียแซดอาร์
โซนี่ เอ็กซ์พีเรียแซดอัลตรา
รูปแบบสมาร์ตโฟนจอสัมผัส
ขนาดสูง 144 mm (5.7 in)
กว้าง 74 mm (2.9 in)
หนา 8.5 mm (0.33 in)
น้ำหนัก170 g (6.0 oz)
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.2.2 เจลลีบีน
ระบบบนชิปคอวล์คอมม์ สแปนดรากอน เอ็มเอสเอ็ม8974 800
ซีพียู2.2 จิกะเฮิรตซ์ ควอดคอร์ ไครต์
จีพียูอาเดรโน 330
หน่วยความจำระบบจิกะไบต์
หน่วยความจำ16 จิกะไบต์
หน่วยความจำภายนอกไมโครเอสดีเอชซี สูงสุด 64 จิกะไบต์
แบตเตอรี่3,050 มิลลิแอมแปร์
การป้อนข้อมูลมัลติทัช, จอสัมผัส, เซ็นเซอร์โทรศัพท์
จอแสดงผล5 in (130 mm) ทีเอฟทีแอลซีดี
1920x1080 พิกเซล (441 พิกเซลต่อนิ้ว)
กล้องหลัง20.7 ล้านพิกเซล พร้อมแฟลชแอลอีดี บันทึกวิดีโอความละเอียด1080p ที่ 30 ภาพต่อวินาที ดิจิตอลซูม 8 เท่า
กล้องหน้า2.2 ล้านพิกเซล (บันทึกวิดีโอความละเอียด 1080p)
การเชื่อมต่อวายฟาย

ดีแอลเอ็นเอ
จีพีเอส/โกลนาสส์
เอ็นเอฟซี

บลูทูธ 4.0
อื่น ๆไอพี55 / ไอพี58 (ป้องกันฝุ่น และป้องกันน้ำ)

เอ็กซ์พีเรียแซด1 เป็นสมาร์ตโฟนที่สามารถกันน้ำ และ กันฝุ่น ได้รับมาตรฐานไอพี 55 และ 58 และมีกล้องความละเอียด 20.7 ล้านพิกเซล ใช้โซนี่ จีเลนส์ และหน่วยประมวลผลภาพ ไบออนซ์ (BIONZ) รวมไปถึงส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ แบบใหม่ และการออกแบบที่ใช้อะลูมิเนียม และกระจก บนตัวเครื่อง

คุณสมบัติ แก้

 
ภาพจับหน้าจอของเอ็กซ์พีเรียแซด1

ฮาร์ดแวร์ แก้

โซนี่ เอ็กซ์พีเรียแซด1 มีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกับรุ่นก่อนหน้าอย่าง เอ็กซ์พีเรียแซด ซึ่งมีการออกแบบที่เรียกว่า "ออมนิบาลานซ์" (Omni-Balance) โดยมุ่งเน้นในการสร้างความสมดุลจากมุมมองในทุกๆ ทิศทาง เอ็กซ์พีเรียแซด1 มีขอบที่โค้งมน และมีผิวเรียบทุกด้าน โดยขอบเชื่อมต่อติดกันทั้งตัวเครื่อง ทำมาจากอะลูมิเนียม ส่วนด้านหน้าและด้านหลัง จะใช้กระจก ปุ่มเปิด-ปิด ทำมาจากอะลูมิเนียม อยู่ทางด้านขวาของตัวเครื่อง ซึ่งที่ตั้งของมันสามารถทำให้ใช้โทรศัพท์ด้วยมือเดียวได้อย่างสะดวก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากปุ่มด้านข้างของนาฬิกาหรู แซด1 วางขายทั้งหมด 3 สี คือสีดำ, สีขาว และ สีม่วง โดยแซด1 มีตัวเครื่องที่ค่อนข้างหนา (หนา 8.5 มิลลิเมตร) และหนัก (169 กรัม)[1] และมีส่วนของหน้าจอหนากว่า เอ็กซ์พีเรียแซด แม้ว่าจะมีขนาดหน้าจอเท่ากัน ซึ่งโซนี่กล่าวว่า ต้องขยายขนาดเนื่องจากต้องรองรับเซนเซอร์ของกล้องที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น[2] เอ็กซ์พีเรียแซด1 ได้รับการรับรองการกันน้ำ และ กันฝุ่น ด้วยค่าไอพี 55 และ 58 ซึ่งแตกต่างจากเอ็กซืพีเรียแซด เพราะว่าแซด1 ไม่มีฝาปิดรูหูฟังกันน้ำ แต่สามารถกันน้ำได้ โดยแซด1 ใช้สแนปดรากอน 800 ควอดคอร์ คล็อกที่ 2.2 จิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลล่าสุดของควอล์คอมม์ และใช้แรม 2 จิกะไบต์ ส่วนหน้าจอนั้นมีขนาด 5 นิ้ว ใช้เทคโนโลยี โซนี่ ไตรลูมีนอส และ เอ็กซ์เรียลลีตีเอนจิน เพื่อช่วยในการรับชมรูปภาพ และวิดีโอ ได้สวยงามขึ้น และแบตเตอรีมีความจุ 3000 มิลลิแอมป์

ซอฟต์แวร์ แก้

เอ็กซ์พีเรียแซด1 ทำงานบนแอนดรอยด์ 4.2.2 พร้อมกับโซนี่ลันเชอร์ ซึ่งจะประกอบด้วยซอฟต์แวร์เพิ่มเติมต่างๆ ของโซนี่ เช่น วอล์คแมน แอปพลิเคชันเล่นสื่อ รวมไปถึงแอปพลิเคชันอัลบัม และวิดีโอ โดยแซด1 จะมีเทคโนโลยีเนียร์ฟีลด์คอมมูนิเคชัน หรือเอ็นเอฟซี ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จะสามารถเชื่อมต่อสมาร์ตโฟนกับโทรทัศน์ที่รองรับ หรือเล่นเพลงผ่านลำโพงที่รองรับระบบเอ็นเอฟซี รวมไปถึงแบตเตอรีที่สามารถอยู่ได้ทนนานมากขึ้นกว่าเดิม ส่วนแอปพลิเคชันของกูเกิล (เช่น กูเกิล โครม, กูเกิล เพลย์, กูเกิล เสิร์ช, กูเกิล แมปส์, กูเกิล ทอล์ก) จะติดตั้งลงในเครื่องตั้งแต่วางจำหน่าย ส่วนซอฟต์แวร์กล้องจะถูกปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด โดยมีคุณสมบัติเด่นคือ ไทม์ชิฟต์ (TimeShift)

รุ่น แก้

หมายเลขรุ่น หมายเลขเอฟเอฟซี (FFC) เครือข่าย/ประเทศ คลื่นความถี่จีเอสเอ็ม คลื่นความถี่ยูเอ็มทีเอส คลื่นความถี่แอลทีอี หมายเหตุ
C6902/L39h PY7PM-0500 ทั่วโลก 4 คลื่น 6 คลื่น N/A [3]
C6906 PY7PM-0460 ทวีปอเมริกาเหนือ 4 คลื่น 6 คลื่น 1, 2, 4, 5, 7, 8, 17 [4]
C6903 PY7PM-0450 ทั่วโลก 4 คลื่น 6 คลื่น 1, 2, 3, 4, 5, 7, 8, 20 [5]
C6943 PY7PM-0650 ประเทศบราซิล 4 คลื่น 6 คลื่น 1, 2, 3, 4, 5, 7, 8, 20 รุ่นนี้เหมือนกับรุ่น C6903 แต่จะรองรับ ไอเอสดีบี-ที ในประเทศบราซิล[6]
SO-01F PY7PM-0440 เอ็นทีทีโดโคะโมะ 4 คลื่น 1, 5, 6, 19 1, 3, 19, 21 [7]

ทุกรุ่นรองรับ 2 จี จีเอสเอ็ม 4 เครือข่าย (850, 900, 1800, 1900) และ 3 จี ยูเอ็มทีเอส 5 เครือข่าย (850, 900, 1700, 1900, 2100) ยกเว้นรุ่น SO-01F โดยในประเทศไทยจะวางจำหน่ายโมเดล C6902 ก่อน ส่วนโมเดล C6903 ที่รองรับเครือข่าย 4G LTE จะนำเข้ามาในภายหลัง[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2013-09-18.
  2. http://www.youtube.com/watch?v=Cr3iIDUa9VE
  3. "Sony Xperia™ Z1 HSPA+ white paper". 2013-09-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-22. สืบค้นเมื่อ 2013-09-18.
  4. "Sony Xperia™ Z1 LTE C6906 white paper". 2013-09-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-23. สืบค้นเมื่อ 2013-09-18.
  5. "Sony Xperia™ Z1 LTE C6903 white paper". 2013-09-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 2013-09-18.
  6. Model Variant Attestation, FCC
  7. Operational Scope, FCC

แหล่งข้อมูลอื่น แก้