โจหงอ[2] (ค.ศ. 130-143) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เฉา เอ๋อ (曹娥; Cáo É) เป็นหญิงสาวที่อาศัยในบริเวณที่เป็นเขตช่าง-ยฺหวี นครเช่าซิง มณฑลเจ้อเจียงในประเทศจีนในปัจจุบัน โจหงอเป็นบุตรสาวของเฉา ซฺวีที่เป็นหมอผี โจหงอเสียชีวิตในปี ค.ศ. 143 ขณะที่พยายามจะช่วยชีวิตบิดาจากการจมน้ำ ในปี ค.ศ. 151 มีการสร้างศาลขึ้นเป็นที่ระลึกถึงโจหงอและแม่น้ำที่โจหงอและบิดาจมน้ำเสียชีวิตซึ่งได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของโจหงอ

โจหงอ
ภาพวาดโจหงอ (曹娥 เฉา เอ๋อ) ในอู๋ชฺวางผู่ (無雙譜, ทำเนียบวีรชนไร้เทียมทาน) โดยจิน กู่เหลียง
ภาษาจีน曹娥
โจเฮาลี[1] / เฉา เซี่ยว-นฺหวี่
(สมัญญานาม)
ภาษาจีน曹孝女
ความหมายตามตัวอักษรบุตรสาวกตัญญูแซ่เฉา (โจ)
ศาลโจหงอทางตะวันออก มุมมองจากทางแม่น้ำโจหงอ
ศิลาจารึกโจหงอจากปี ค.ศ. 1093 สร้างโดยไช่ เปี้ยน (蔡卞) ศิลาจารึกมีความสูง 2.1 เมตรและกว้าง 1 เมตร

ประวัติ แก้

เฉา ซฺวี (曹盱) เป็นบิดาของโจหงอ (เฉา เอ๋อ) เฉา ซฺวีเป็นหมอผีที่นำการทำพิธีกรรมที่ช่าง-ยฺหวี (上虞) ในพิธีกรรมของเทศกาลแข่งเรือมังกร (เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง) ในปี ค.ศ. 143 เฉา ซฺวีพลัดตกลงไปในแม่น้ำชุ่น เหล่าชาวช่าง-ยฺหวีค้นหาเฉา ซฺวีเป็นขนานใหญ่เป็นเวลา 17 วันแต่ไม่พบ โจหงอบุตรสาวอายุ 13 ปีของเฉา ซฺวีจึงตัดสินใจค้นหาบิดาในแม่น้ำโดยความกตัญญู (孝, เซี่ยว) หลังจากนั้น 5 วัน โจหงอปรากฏตัวขึ้นเหนือน้ำพร้อมกับบิดาในอ้อมแขน ทั้งคู่เสียชีวิตจากการจมน้ำ วีรกรรมนี้ทำให้โจหงอกลายเป็นเด็กสาวที่มีชื่อเสียงอย่างมาก กลายเป็นตัวอย่างในตำราในเรื่องความกตัญญู ความเคารพนับถือที่มีต่อโจหงอเริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โจหงอได้รับชื่อรองย้อนหลังเป็น "โจเฮาลี"[1](曹孝女 เฉา เซี่ยว-นฺหวี่; แปลว่า "บุตรสาวกตัญญูแซ่เฉา (โจ)") แปดปีต่อมาในปี ค.ศ. 151 มีการสร้างศาล[3] และสุสานขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงโจหงอและเพื่อเป็นเกียรติแก่การเสียสละของโจหงอเพื่อช่วยเหลือบิดา มีการสร้างศิลาจารึกเพื่อเป็นเกียรติแก่โจหงอ แต่ภายหลังได้สูญหายไป ในปี ค.ศ. 1093 ไช่ เปี้ยน (蔡卞) ทำศิลาจารึกที่คล้ายคลึงกันเพื่อเป็นเกียรติแก่โจหงอ[4][5] แม่น้ำชุ่นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นแม่น้ำโจหงอเพื่อเป็นเกียรติแก่โจหงอ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ("เจ้าเมืองโตเสียงจึงเอาเนื้อความขึ้นกราบทูลพระเจ้าโฮ้เต้ ๆ จึงให้เขียนชื่อนางโจหงอใส่ศิลา มาปักไว้ เปนอักษรว่าเฮาลี แปลภาษาไทยว่า นางรู้จักคุณบิดามารดา") "สามก๊ก ตอนที่ ๕๗". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ April 16, 2024.
  2. ("นางซัวเอี๋ยมจึงบอกว่า เมื่อครั้งพระเจ้าโฮ้เต้ได้ราชสมบัติในเมืองหลวง บิดานางโจหงอมาเล่นแข่งเรือตกน้ำตายศพหายไป นางโจหงอผู้บุตรอายุได้สิบสี่ปี เที่ยวร้องไห้หาศพบิดาถึงเจ็ดวันก็มิได้พบ นางโจหงอคิดแค้นใจก็โจนน้ำตายตามบิดา อยู่ห้าวันนางโจหงอก็กอดศพบิดาลอยขึ้นมา") "สามก๊ก ตอนที่ ๕๗". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ April 16, 2024.
  3. "曹娥庙 (Cao'e Temple)" (ภาษาจีน). Zhejiang Provincial Bureau of Cultural Relics. 2021-08-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-30.
  4. "Translation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-12-02.(W) "Translation". 14 April 2015.
  5. Fang Ailong (2018). "蔡卞行书上虞孝女曹娥碑" (ภาษาจีน). Hangzhou Normal University (Social Science Edition). doi:10.3969/j.issn.1674-2338.2018.01.020. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)