โกวิทย์ พวงงาม
ศาสตราจารย์ โกวิทย์ พวงงาม (เกิด 8 ธันวาคม พ.ศ. 2494) อดีตหัวหน้าพรรคพลังท้องถิ่นไท[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ อดีตคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช[2]
โกวิทย์ พวงงาม | |
---|---|
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 – 17 มกราคม พ.ศ. 2563 | |
ก่อนหน้า | ศาสตราจารย์ สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ |
ถัดไป | รองศาสตราจารย์ วิชัย แหวนเพชร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2494 |
พรรคการเมือง | พลังท้องถิ่นไท (2561–2566) รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2494 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ภูมิศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาสังคม) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครอง) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาเอก Doctor of Philosophy (Rural Development) จาก CENTRAL LUZON STATE UNIVERSITY ประเทศฟิลิปปินส์[3]
การทำงาน
แก้ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม เคยรับราชการในสังกัดกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ระหว่างปี 2521 - 2534 และเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาส่งเสริมการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างปี 2535 - 2539 จากนั้นโอนย้ายมาสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2547 และเป็นคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างปี 2559 ถึงปี 2562 และเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ระหว่างปี 2561 ถึงปี 2563
ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม เข้าร่วงานการเมืองกับพรรคพลังท้องถิ่นไท ซึ่งนำโดยชัชวาลล์ คงอุดม หรือ "ชัช เตาปูน" ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 2[4] และเป็นหนึ่งในรายชื่อบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2562ของพรรคพลังท้องถิ่นไท โดย ศ.ดร.โกวิทย์ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรกในการเลือกตั้งครั้งนี้
ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม มีบทบาทในด้านการงบประมาณของท้องถิ่น โดยการแสดงความเห็นเกี่ยวกับงบประมาณที่จัดสรรให้ท้องถิ่นน้อยเกินไป[5][6] นอกจากนั้น ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม ยังมีผลงานหนัสือเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นอีกหลายผลงาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ หน.พลังท้องถิ่นไท รอดีล "รวมไทยสร้างชาติ" ชัดเจน ก่อนตัดสินอนาคตพรรค
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๔๙ ง หน้า ๑๘, ๖ มีนาคม ๒๕๖๑
- ↑ สภาผู้แทนราษฎร
- ↑ ชัดเจนเพื่อคนท้องถิ่น “พลังท้องถิ่นไท” ดัน 6 คนท้องถิ่น ขึ้นบัญชีรายชื่อ 10 ลำดับแรก
- ↑ ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม “รัฐให้ความสำคัญไปที่ท้องถิ่นน้อย"
- ↑ ยุทธการเหวี่ยงแหงบประมาณ 2564 ไม่ตอบโจทย์ปัญหาประเทศ : โดย ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๒๘, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗