แอนดี โกลด์สเวิร์ทธี

แอนดี โกลด์สเวิร์ทธี (อังกฤษ: Andy Goldsworthy) (26 กรกฎาคม ค.ศ. 1956 - ปัจจุบัน) เป็นประติมากร ช่างภาพ และนักต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม คนสำคัญของอังกฤษที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในสกอตแลนด์ ผู้สร้างงานประติมากรรมประเภทที่เรียกว่าศิลปะเฉพาะที่ และ ธรณีศิลป์[1] ที่จะตั้งอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ งานศิลปะของโกลด์สเวิร์ทธีใช้วัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่พบทั่วไปในการสร้างงานที่อาจจะเป็นทั้งงานชั่วคราวหรืองานที่ถาวรที่มาจากลักษณะและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

แอนดี โกลด์สเวิร์ทธี
OBE
Andy Goldsworthy de Young installation.jpg
โกลด์สเวิร์ทธีในเดือนกรกฎาคม 2005
เกิด (1956-07-25) 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1956 (66 ปี)
เชสเชอร์ อังกฤษ
มีชื่อเสียงจากประติมากรรม, ภาพถ่าย
ขบวนการEnvironmental art, ภูมิศิลป์
คู่สมรสJudith Gregson (หย่าร้าง)
คู่รักTina Fiske
บุตร4

ประวัติแก้ไข

โกลด์สเวิร์ทธีผู้เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1956 ที่เชสเชอร์[2]ในสหราชอาณาจักรเป็นบุตรของอัลลิน โกลด์สเวิร์ทธี (ค.ศ. 1929–ค.ศ. 2001) อดีตศาสตราจารย์ทางสาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ ที่ มหาวิทยาลัยลีดส์ โกลด์สเวิร์ทธีเติบโตขึ้นทางด้านฮาร์โรเกทของลีดส์ในเวสต์ยอรค์เชอร์ ตั้งแต่อายุได้ 13 ปีโกลด์สเวิร์ทธีก็ทำงานในฟาร์ม และมีความเห็นว่าคุณสมบัติของงานประจำที่ซ้ำๆ กันของงานที่เกี่ยวกับการทำฟาร์มก็คล้ายคลึงกันกับกระบวนการสร้างงานประติมากรรม ดังที่กล่าวไว้ว่า “งานส่วนใหญ่ของผมก็คือการขุดเก็บมันฝรั่ง ที่คุณต้องจับจุดให้เข้ากับจังหวะ (rhythm) ของงาน”[3]

โกลด์สเวิร์ทธีศึกษาวิจิตรศิลป์ที่วิทยาลัยศิลปะที่แบรดฟอร์ดระหว่างปี ค.ศ. 1974 ถึงปี ค.ศ. 1975) และที่เพรสตันโพลีเทคนิค ค.ศ. 1975 ถึงปี ค.ศ. 1978[2] จนได้รับปริญญาตรีสาขาศิลปะ[4]

หลังจากจบมหาวิทยาลัยแล้วโกลด์สเวิร์ทธีก็ย้ายไปอยู่ที่ยอร์คเชอร์, แลงคาสเชอร์ และต่อมาคัมเบรีย ในปี ค.ศ. 1985 โกลด์สเวิร์ทธีก็ย้ายไปอยู่ที่แลงโฮล์มที่ ดัมฟรีส์และกาลโลเวย์ในดัมฟรีส์เชอร์ในสกอตแลนด์ และปีต่อมาที่เพนพอนท์ กล่าวกันว่าการย้ายไปทางเหนือขึ้นเรื่อยๆ อาจจะมีสาเหตมาจาก “วิถีชีวิตที่ไม่อยู่ในความควบคุมของ[โกลด์สเวิร์ทธี]” แต่ก็เป็นเหตุผลบางส่วนที่ประกอบกับความต้องการที่จะไปทำงานในบริเวณที่เหมาะกับ “สถานะทางเศรษฐกิจ”[5]

ในปี ค.ศ. 1993 โกลด์สเวิร์ทธีก็ได้รับปริญญาเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยแบรดฟอร์ด ในปัจจุบันโกลด์สเวิร์ทธีเป็นศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์[6]

ในปี ค.ศ. 2001 ทอมัส รีเดิลส์ไฮเมอร์กำกับภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิต, ปรัชญาการสร้างงานศิลปะ และ งานศิลปะโดยโกลด์สเวิร์ทธี ชื่อ “Rivers and Tides[7]

ลักษณะงานศิลปะแก้ไข

วัสดุที่โกลด์สเวิร์ทธีใช้ในการสร้างงานศิลปะก็รวมทั้ง ดอกไม้สีสด, ใบไม้, แท่งน้ำค้างแข็งย้อย (icicle), โคลน, ดอกสน (pinecone), หิมะ, หิน, กิ่งไม้ และ หนาม โกลด์สเวิร์ทธีกล่าวว่า

ผมคิดว่าการสร้างงานด้วยดอกไม้และใบไม้และกลีบดอกไม้เป็นสิ่งที่ทำได้ยากเป็นอย่างยิ่ง แต่ผมก็ต้องทำ: ผมไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงวัสดุที่ผมใช้ คือผมจะต้องทำงานกับสิ่งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ

[8] โกลด์สเวิร์ทธีถือกันว่าเป็นศิลปินผู้ริเริ่มศิลปะการวางหินเชิงสมมาตร (Rock balancing) สมัยใหม่ สำหรับงานศิลปะชั่วเวลาโกลด์สเวิร์ทธีมักจะใช้มือเปล่า, ฟัน หรือหาเครื่องมือง่ายๆ ในการช่วยเตรียมและจัดรูปแบบของงาน แต่ถ้าเป็นงานถาวรเช่น “หลังคา”, “แม่น้ำหิน” หรือ “กองหิน” (Cairn) หรือ “ทางอาบแสงจันทร์” และ “หินชอล์ค” โกลด์สเวิร์ทธีก็อาจจะใช้เครื่องมือไฟฟ้า การสร้างงาน “หลังคา” โกลด์สเวิร์ทธีทำร่วมกับผู้ช่วยและผู้วางกำแพงหินเปลือย (dry-stone waller) เพื่อทำให้สิ่งที่สร้างขึ้นสามารถยืนหยัดต่อสภาวะอากาศและเวลาได้ยืนนาน

ภาพถ่ายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างงานศิลปะของโกลด์สเวิร์ทธี เพราะธรรมชาติของที่สร้างมักจะเป็นงานประเภทที่ “แปรรูป” (transient state) ที่เป็นงานชั่วเวลาที่แปรเปลี่ยนไปทุกขณะที่ทำ เช่นการสร้างงานประติมากรรมด้วยแท่งน้ำค้างแข็งย้อยที่เมื่อสร้างแล้วก็อยู่ได้เพียงไม่กี่ชั่วโมงก็จะสลายไป หรือการสร้างกองหินรูปดอกสนตามชายหาดก่อนน้ำขึ้น เมื่อน้ำขึ้นก็จะทลายกองหินที่ทำไว้ ตามความเห็นของโกลด์สเวิร์ทธี “งานแต่ละชิ้นจะเติบโต, คงอยู่, สูญสลายไป – ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักร ที่การใช้การถ่ายภาพที่บันทึกให้เห็นถึงจุดที่อิ่มตัวที่มีชีวิตที่สุดของงาน งานตรงจุดสูงสุดเต็มไปด้วยพลังที่ผมหวังว่าจะสามารถแสดงออกได้จากการจับภาพเอาไว้ ส่วนกระบวนการหักพังสูญสลายนั้นเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย”[9]

โกลด์สเวิร์ทธีสร้างงานศิลปะเฉพาะที่ชื่อ “Drawn Stone”[10]ที่ได้รับจ้างในสร้างในบริเวณลานหน้าพิพิธภัณฑ์เดอยังในซานฟรานซิสโกในปี ค.ศ. 2005 ซึ่งเป็นงานที่สะท้อนถึงภาวะแผ่นดินไหวและผลที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในบริเวณซานฟรานซิสโก งานที่ติดตั้งรวมรอยแยกใหญ่บนทางเดินทีแตกออกเป็นรอยแยกเล็ก และ หินปูนที่แตกกระจัดกระจายที่ใช้เป็นที่นั่งได้ รอยแยกเล็กสร้างโดยการใช้ค้อนทุบซึ่งทำให้รอบแตกเป็นรอยประเภทที่ทำนายไม่ได้ว่าจะออกมาในรูปแบบใด[11]

รางวัลและอิสริยาภรณ์แก้ไข

  • ค.ศ. 1979 – North West Arts Award
  • ค.ศ. 1980 – Yorkshire Arts Award
  • ค.ศ. 1981 – Northern Arts Award
  • ค.ศ. 1982 – Northern Arts Award
  • ค.ศ. 1986 – Northern Arts Bursary
  • ค.ศ. 1987 – Scottish Arts Council Award
  • ค.ศ. 1989 – Northern Electricity Arts Award[4]
  • ค.ศ. 2000 – Appointed officer of the Order of the British Empire (OBE)[3]

งานที่ได้รับการตีพิมพ์แก้ไข

  • Andy Goldsworthy (1985). Rain, Sun, Snow, Hail, Mist, Calm: Photoworks by Andy Goldsworthy. Leeds: Henry Moore Centre for the Study of Sculpture. ISBN 0-901981-24-9.
  • Andy Goldsworthy (1988). Parkland. [Yorkshire]: Yorkshire Sculpture Park. ISBN 1-871480-00-0.
  • Andy Goldsworthy (1989). Touching North. London: Fabian Carlsson. ISBN 0-948274-06-9.
  • Andy Goldsworthy (1989). Leaves. London: Common Ground. ISBN 1-870364-07-4.
  • Andy Goldsworth (1990). Andy Goldsworthy. London: Viking. ISBN 0-670-83213-8. Republished as Andy Goldsworthy (1990). Andy Goldsworthy : A Collaboration with Nature. New York, N.Y.: H. N. Abrams. ISBN 0-8109-3351-9.
  • Andy Goldsworthy (1992). Ice and Snow Drawings : 1990–1992. Edinburgh: FruitMarket Gallery. ISBN 0-947912-06-1.
  • Goldsworthy, Andy; Friedman, Terry (1993). Hand to Earth : Andy Goldsworthy Sculpture, 1976–1990. New York, N.Y.: H. N. Abrams. ISBN 0-8109-3420-5.
  • Andy Goldsworthy (1994). Stone. London: Viking. ISBN 0-670-85478-6.
  • Goldsworthy, Andy; Chettle, Steve; Nesbitt, Paul; Humphries, Andrew (1996). Sheepfolds. London: Michael Hue-Williams Fine Art Ltd.
  • Andy Goldsworthy (1996). Wood. Introduction by Terry Friedman. London: Viking. ISBN 0-670-87137-0.
  • Goldsworthy, Andy; Craig, David (1999). Arch. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-01933-9.
  • Andy Goldsworthy. Chronology by Terry Friedman (2000). Time. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-51026-1.
  • Goldsworthy, Andy; Thompson, Jerry L.; Storm King Art Center (2000). Wall at Storm King. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-01991-6.
  • Andy Goldsworthy. Introduction by Judith Collins (2001). Midsummer Snowballs. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-51065-2.
  • Andy Goldsworthy (2002). Andy Goldsworthy : Refuges D'Art. Lyon; Digne, France: Editions Artha; Musée départemental de Digne. ISBN 2-84845-001-0.
  • Andy Goldsworthy (2004). Passage. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-51191-8.
  • Andy Goldsworthy (2007). Enclosure. London: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-09336-8.
  • Goldsworthy, Andy (2015). Andy Goldsworthy: Ephemeral Works: 2004–2014. New York: Harry N. Abrams. ISBN 978-1419717796.

งานแสดงศิลปะและงานติดตั้งแก้ไข

ภาพ ปีสร้าง ชื่องาน ที่ตั้ง
  ค.ศ. 1996–ค.ศ. 2003 Sheepfolds คัมเบรีย, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร
22 พฤษภาคม –
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000
แอนดี โกลด์สเวิร์ทธีที่ศูนย์ศิลปะสตอร์มคิง[12]

(ก่อตั้ง Storm King Wall)

ศูนย์ศิลปะสตอร์มคิง

Mountainville, คอร์นวอลล์, นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา

สิงหาคม ค.ศ. 2001 Stone River[13] ศูนย์ศิลปะแคนเทอร์, มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

สแตนฟอร์ด, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา

สิงหาคม ค.ศ. 2001 Neuberger Cairn
กองหินนิวเบอร์เกอร์
พิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวเบอร์เกอร์, สเตทยูนิเวอร์ซิตี้ออฟนิวยอร์กแห่งเพอร์เชส, นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
  ค.ศ. 2002 Arch at Goodwood[14]
มูลนิธิประติมากรรมคาส

เวสต์ซัสเซ็กซ์, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร

ค.ศ. 2002 Chalk Stones Trail เซาธ์ดาวน์ใกล้เวสต์ดีน, เวสต์ซัสเซ็กซ์
4 พฤษภาคม –
31 ตุลาคม ค.ศ. 2004
Andy Goldsworthy on the Roof[15]

(ติดตั้ง Stone Houses)

Iris and B. Gerald Cantor Roof Garden, พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน

นครนิวยอร์ก, นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา

ค.ศ. 2005 Andy Goldsworthy: Early Works[16] , อังกฤษ, สหราชอาณาจักร
ค.ศ. 2005 Drawn Stone[17] M. H. de Young Memorial Museum

ซานฟรานซิสโก, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา

22 มกราคม –
15 พฤษภาคม 2005
The Andy Goldsworthy Project[18]

(including the installation Roof)[19]

หอศิลป์แห่งชาติ

วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา

ค.ศ. 2006 Red sandstone wall at the Doerr-Hosier Center[20] สถาบันแอสเพ็น

แอสเพ็น, โคโลราโด, สหรัฐอเมริกา

  31 มีนาคม ค.ศ. 2007 –
6 มกราคม ค.ศ. 2008
Andy Goldsworthy[21] อุทยานประติมากรรมแห่งยอร์คเชอร์

เวคฟิลด์, เวสต์ยอร์คเชอร์, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร

ตุลาคม ค.ศ. 2008 Spire[22] Presidio of San Francisco

ซานฟรานซิสโก, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา

มิถุนายน ค.ศ. 2009 Provence art trail[23] โปรวองซ์

ฝรั่งเศส

  ไม่ทราบปี ไม่ทราบชื่อ Royal Botanic Garden Edinburgh

คำกล่าวแก้ไข

ผมพบว่างานใหม่ๆ ที่พบทำเป็นงานที่น่ากังวล เหมือนกัที่ผมพบว่าธรรมชาติโดยทั่วไปแล้วก็เป็นสิ่งที่น่ากังวล ภูมิทัศน์ที่มักจะคิดว่าสงบ และ สวยงาม ที่เป็นฉากหลังที่เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขในวันเสาร์อาทิตย์ก่อนที่จะต้องกลับเข้าไปสู้รบปรบมือกับชีวิตในเมือง แต่ผู้ที่ทำงานกับดินก็จะทราบว่ามิใช่เช่นนั้น ธรรมชาติสามารถเป็นสิ่งที่ทารุณได้ – เอาไม่อยู่ และ ทารุณ และในขณะเดียวกันก็มีความสวยงาม คุณไม่สามารถที่จะก้าวเดินไปไหนมากได้เกินกว่าห้านาทีก่อนที่จะพบกับสิ่งที่เน่าเปื่อยหรือตายไปแล้ว

— แอนดี โกลด์สเวิร์ทธี[8]

ความงามของศิลปะข้อหนึ่งคือความสามารถในการสะท้องชีวิตทั้งชีวิตของศิลปิน สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ใน 30 ปีที่ผ่านมาเริ่มหวนกลับมาบอกว่าผมได้ทำอะไรไปบ้าง และผมก็หวังว่ากระบวนการนี้จะดำเนินต่อไปจนกว่าผมจะตาย

— แอนดี โกลด์สเวิร์ทธี[8]

ดูเพิ่มแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. “พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545
  2. 2.0 2.1 Stonard, John Paul (10 December 2000). "Goldsworthy, Andy". Grove Art Online. Retrieved on 15 May 2007.
  3. 3.0 3.1 Adams, Tim (2007-03-11). "Natural talent". The Observer.
  4. 4.0 4.1 "Andy Goldsworthy (British, 1956)". artnet. สืบค้นเมื่อ 2008-01-31.
  5. "Andy Goldsworthy". Cass Sculpture Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-12. สืบค้นเมื่อ 2008-01-31.
  6. Rivers and Tides ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส. Retrieved on 31 January 2008.
  7. 8.0 8.1 8.2 Sooke, Alastair (2007-03-24). "He's got the whole world in his hands". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-04. สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.
  8. "Andy Goldsworthy: Art of nature". ninemsn. 2006-02-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-16. สืบค้นเมื่อ 2007-06-18.
  9. "Andy Goldsworthy: Drawn Stone, 2005". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-14. สืบค้นเมื่อ 2010-01-20.
  10. Sarah Douglas (24 October 2005), In Their Words: James Turrell and Andy Goldsworthy, ARTINFO, สืบค้นเมื่อ 2008-04-16{{citation}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  11. "Andy Goldsworthy at Storm King Art Center". Storm King Art Center. 2005-11-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2000-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-06-24.
  12. "Andy Goldsworthy sculpture, Stone River, enters Stanford University's outdoor art collection". Cantor Arts Center, Stanford University. 2001-09-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-21. สืบค้นเมื่อ 2008-02-10.
  13. "Andy Goldsworthy: Arch at Goodwood, 2002". Cass Sculpture Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-04. สืบค้นเมื่อ 2008-01-30.
  14. "Andy Goldsworthy on the Roof". Metropolitan Museum of Art. 2004. สืบค้นเมื่อ 2007-06-24.
  15. "Andy Goldsworthy : Early Works : Leaves, Twigs, Enormous Snowballs and Icicles... Andy Goldworthy's Sculptures are Inherently Surprising and Beautiful". bbc.co.uk. 2005-05-04. "Andy Goldsworthy : Nature and Art Combine when the Early Works of the Internationally Renowned Artist Andy Goldsworthy come to Fairfields Art Centre in Basingstoke". bbc.co.uk. 2005-09-20.
  16. ""Drawn Stone" on the website of Galerie Lelong, New York City, New York". สืบค้นเมื่อ 2007-06-24.
  17. "The Andy Goldsworthy Project : 22 January – 15 May 2005". National Gallery of Art. 2005. สืบค้นเมื่อ 2007-06-24.
  18. "Andy Goldsworthy : Roof". National Gallery of Art. สืบค้นเมื่อ 2007-06-24.
  19. Oksenhorn, Stewart (2006-09-23). "A Wall of Integration, Not Division". Aspen Times Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-30. สืบค้นเมื่อ 2010-01-20.
  20. Calton, Gary (photographer) (2007-03-11). "Andy Goldsworthy at the Yorkshire Sculpture Park". The Observer. "Andy Goldsworthy". Yorkshire Sculpture Park. สืบค้นเมื่อ 2007-06-24.
  21. ""Spire" by Andy Goldsworthy". The Presidio Trust. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-12. สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
  22. ""Provence art trail" by Andy Goldsworthy". 2009. สืบค้นเมื่อ 31 August 2009.

ข้อมูลเพิ่มเติมแก้ไข

บทความ:

หนังสือ:

  • Malpas, William (1995). Andy Goldsworthy: Touching Nature. Kidderminster: Crescent Moon. ISBN 1-86171-049-6.
  • Malpas, William (1998). The Art of Andy Goldsworthy. Kidderminster: Crescent Moon. ISBN 1-86171-032-1.
  • Malpas, William (2003). Andy Goldsworthy in Close-Up. Maidstone, Kent: Crescent Moon. ISBN 1-86171-050-X.
  • Malpas, William (2008). Andy Goldsworthy: Pocket Guide. Maidstone, Kent: Crescent Moon. ISBN 978-1-86171-241-7.

ภาพยนตร์/สารคดี

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แอนดี โกลด์สเวิร์ทธี

ทั่วไป:

ศิลปะ: