แอตเมิสเฟียร์ (อังกฤษ: Atmosfear) (หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ไนท์แมร์ (อังกฤษ: Nightmare) ในบางพื้นที่) เป็นวิดีโอบอร์ดเกมแนวระทึกสยองขวัญจากประเทศออสเตรเลีย[1][2] ออกจำหน่ายครั้งแรกในปี 1991 โดย ฟิลลิป แทนเนอร์ (อังกฤษ: Phillip Tanner) และเบรตต์ แคลเมนส์ (อังกฤษ: Brett Clements)

แอตเมิสเฟียร์
ผู้ออกแบบเบรตต์ แคลเมนส์
ฟิลลิป แทนเนอร์
ผู้วาดภาพประกอบRichard McKenna
Carmen Delprat
Daniel Burns
ผู้จัดทำJ. W. Spear & Sons
Mattel
Flying Bark Productions
Creata IP
วันที่ออกจำหน่าย1991 – ปัจจุบัน
ประเภทของเกมสยองขวัญ หวาดกลัว
จำนวนผู้เล่น3 – 6 คน
ระยะเวลาติดตั้ง10 นาที
ระยะเวลาเล่น60 นาทีขึ้นไป
ทักษะที่จำเป็นทอยลูกเต๋า และ กลยุทธ์

หลังการเปิดตัวเกมสองปี แอตเมิสเฟียร์ถูกจำหน่ายออกไปถึง 2 ล้านฉบับ และหลังจากนั้นได้มีการออกส่วนเสริมมาอีกสามเกม

ในปี 1995 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในชื่อส่วนเสริม เดอะ ฮาร์บิงเกอร์ส (อังกฤษ: The Harbingers) ซึ่งขายได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ของอุตสาหกรรมในออสเตรเลีย และกลายเป็นหนึ่งในสิบเกมที่ขายดีที่สุดในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรภายในไม่กี่เดือนหลังจากเปิดตัว

เกมกระดานซีรีส์นี้ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ในปี 2004 ในชื่อ แอตเมิสเฟียร์: เดอะ เกตคีพเพอร์ (อังกฤษ: The Gatekeeper) และเปลี่ยนเทคโนโลยีจากเทปวิดีโอไปใช้แผ่นดีวีดีแทน พร้อมทั้งการตั้งโปรแกรมสุ่ม เพื่อให้ตัวเกมมีความแปลกใหม่ทุกครั้งในการเล่น เกมกระดานดีวีดีชุดที่สองเปิดตัวในปี 2006 ในชื่อ คูฟู เดอะ มัมมี (อังกฤษ: Khufu the Mummy)

แอตเมิสเฟียร์ มีการเปิดตัวเวอร์ชันใหม่ในปี 2019 พร้อมทั้งเปิดตัวแอปพลิเคชันเพื่อประกอบกับการเล่น และในปี 2021 ได้มีการออกเกมในฉบับรีบูตผ่านการระดมทุนผ่านคิกสตาร์ทเตอร์

ระบบการเล่น แก้

เป้าหมายของเกมคือการรวบรวมกุญแจหกสีที่แตกต่างกัน[3][4][5][6] และเอาชนะผู้คุมเกม ซึ่งในซีรีย์ส่วนมากจะเป็นผู้เฝ้าประตู หรือ the Gatekeeper ที่เป็นผู้คุมเกม แต่ในตัวเกมปี 2006 และสามส่วนเสริมในตัวเกมหลัก จะมีตัวละครอื่นที่จะทำหน้าที่ผู้คุมเกมแทน และทำหน้าที่อธิบายกฎกติกาของตัวเอง[6] เพื่อที่จะเอาชนะผู้คุมเกม ผู้เล่นต้องเผชิญกับความกลัวที่เลวร้ายที่สุด หากผู้เล่นไม่สามารถบรรลุเป้าหมายภายในเวลาที่กำหนด ผู้คุมเกมจะเป็นฝ่ายชนะ[7]

เทปวิดีโอ[3][4]หรือภายหลังในรูปแบบดีวีดี[5][6]จะถูกแถมมาในกับตัวเกมและจะทำหน้าที่เป็นนาฬิกาจับเวลา และเป็นผู้คุมเกม ซึ่งผู้คุมเกมจะทำการอธิบายวิธีการเล่นให้กับผู้เล่น เมื่อผู้เล่นสามารถสะสมกุญแจได้จนครบ ผู้เล่นจะสามารถชนะได้เมื่อได้เผชิญกับความกลัวที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งอันที่จริงเป็นเพียงเหตุการณ์สุ่มหรือถูกกำหนดโดยผู้เล่นในช่วงติดตั้งเกม หากผู้เล่นไม่กลัวแล้วทำภารกิจสำเร็จ ผู้เล่นจะเป็นผู้ชนะ

ตัวละคร แก้

ตัวละครทั้งหมดในเกม แอตเมิสเฟียร์ จะอ้างอิงจากบุคคลหรือตำนานในชีวิตจริง

เดอะ ฮาร์บิงเกอร์ส (The Harbingers) แก้

เดอะ โซล เรนเจอร์ส (The Soul Rangers) แก้

เส้นเวลา แก้

เกม ปี ผู้คุมเกม ตัวละคร
Nightmare 1991 ผู้เฝ้าประตู
Nightmare II 1992 บารอนซาเมอดี ซอมบี
Nightmare III 1993 แอน เดอ ช็องแตร็น แม่มด
Nightmare IV 1994 แอร์เฌแบ็ต บาโตรี แวมไพร์
Atmosfear: The Harbingers 1995 ผู้เฝ้าประตู
Atmosfear: The Harbingers Booster Tape 1 1995 ผู้เฝ้าประตู
Atmosfear: The Harbingers Booster Tape 2 1995 ผู้เฝ้าประตู
Atmosfear: The Soul Rangers 1996 ดร.แมสทีฟฟ์ โครงกระดูก
Atmosfear: The Gatekeeper 2004 ผู้เฝ้าประตู
Atmosfear: Khufu the Mummy 2006 คูฟู มัมมี่
Atmosfear 2019 ผู้เฝ้าประตู
Atmosfear 30th Anniversary Edition 2021 ผู้เฝ้าประตู

อ้างอิง แก้

  1. Paulsen, Steven (1996). "Cowboys and Atmosfear". Bloodsongs. Australia: Bambada Press (7): 16.
  2. Nicklin, Lenore (12 April 1994). "Game boys". The Bulletin. Sydney, Australia: Australian Consolidated Press. 116 (5915): 36. ISSN 0007-4039.
  3. 3.0 3.1 Nightmare [Game booklet]. Australia: A Couple 'A Cowboys. 1991.
  4. 4.0 4.1 The Harbingers [Game booklet]. Australia: A Couple 'A Cowboys. 1995.
  5. 5.0 5.1 The Gatekeeper [Game booklet]. Australia: A Couple 'A Cowboys. 2004.
  6. 6.0 6.1 6.2 Khufu The Mummy [Game booklet]. Australia: A Couple 'A Cowboys. 2006.
  7. The Harbingers (VHS videotape). Australia: A Couple 'A Cowboys. 1995. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 59:57. The Gatekeeper: It's over you idiots. You have lost, and you only have yourselves to blame. So good riddance. *laughs*

แหล่งข้อมูลอื่น แก้