แร่กลีบหินขาว

สำหรับความหมายอื่น ดูที่ แร่กลีบหินขาว (แก้ความกำกวม)

แร่กลีบหินขาว หรือ มัสโคไวท์ (muscovite) คือ แร่กลีบหิน (mica) ชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่สีขาว มีลักษณะเด่นคือเป็นแร่แผ่น มีความวาวแบบแก้ว โปร่งใสถึงโปร่งแสง จัดอยู่ในกลุ่มแร่ฟิลโลซิลิเกต (phyllosilicate)

Muscovite
Muscovite2.jpg
แร่กลีบหินขาวจากเพกมาไทต์ใน Patapsco River ในเมืองBaltimore County, Maryland.
การจำแนก
ประเภทแร่ซิลิเกต
สูตรเคมีKAl2 (AlSi3O10) (F,OH) 2
คุณสมบัติ
สีขาว เทา เงิน
รูปแบบผลึกเนื้อเดียวถึงเป็นแผ่น
โครงสร้างผลึกโมโนคลินิค (2/m) Space Group: C 2/m
การเกิดผลึกแฝดพบมาก [310] พบน้อย {001}
แนวแตกเรียบสมบูรณ์ {001}
รอยแตกMicaceous
ความยืดหยุ่นยืดหยุ่น
ค่าความแข็ง2–2.5 parallel to {001} to 4 right angle to {001}
ความวาวแก้ว
ดรรชนีหักเหnα = 1.552–1.576 nβ = 1.582–1.615 nγ = 1.587–1.618
ค่าแสงหักเหสองแนวδ = 0.035 - 0.042
สีผงละเอียดขาว
ความถ่วงจำเพาะ2.76–3

ชื่อแร่แก้ไข

มาจากชื่อแร่ Muscovy – glass เนื่องจากครั้งหนึ่งเคยใช้แร่นี้แทนแก้วใน รัสเซีย ส่วน mica มาจากภาษาละตินหมายถึง ความมันแวววาว (Shine)

คุณสมบัติทางฟิสิกส์แก้ไข

รูปผลึกระบบโมโนคลินิก เป็นแผ่นบางๆซ้อนกันจนหนา รูปหกเหลี่ยม บางทีก็มีลักษณะกลมๆ และเป็นเกล็ดขนนก อาจจะมีผลึกขนาดเล็กมากและมีเนื้อสมานแน่น แนวแตกเรียบสมบูรณ์มากจนผลึกจะถูกลอกออกเป็นแผ่นบางๆได้ แผ่นแร่จะโค้งงอได้และกลับที่เดิมได้ แข็ง 2 – 2.5 ถ.พ. 2.76 – 3.1 วาวแบบแก้วและแบบใยไหมหรือแบบมุก โปร่งใสและไม่มีสีเมื่อเป็นแผ่นบางๆสำหรับแร่ที่ซ้อนกันหนาๆ จะโปร่งแสงและมีสีต่างๆ กันคือ สีเหลือง น้ำตาล เขียว และแดง

คุณสมบัติทางเคมีแก้ไข

สูตรเคมี Kal2 (AlSi3O10) (OH) 2 อาจจะมีเหล็ก แมกนีเซียม แคลเซียม โซเดียม ลิเทียม ฟลูออลีน และไทเทเนียม ปนอยู่จำนวนเล็กน้อยไม่ผุสลายด้วยกรด เผาในหลอดทดลองปิดจะมีน้ำเกาะข้างหลอด

ลักษณะเด่นและวิธีตรวจแก้ไข

ดูแนวแตกเรียบที่แยกได้เป็นแผ่นๆ และสี แตกต่างจากโฟลโกไพต์ตรงที่ไม่มีปฏิกิริยากับกรดกำมะถัน และแตกต่างจากเลพิโดไพต์ตรงที่ไม่ให้เปลวไฟสีแดงเข้มของธาตุลิเทียม

การเกิดแก้ไข

เป็นแร่ที่ประกอบหินสำคัญตัวหนึ่ง พบในหินอัคนีจำพวกหินแกรนิต ไซอีไนต์ หินเพกมาไทต์ นอกจากนี้ ยังพบในหินแปรพวกไนส์และชิสต์ ในหินชิสต์นี้บางทีจะพบแร่เป็นเส้นใยขนาดเล็ก มีความวาวแบบใยไหมซึ่งไม่ใช่คุณสมบัติที่แท้จริงของมันเรียกว่า เซริไซต์ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปรสภาพ (alteration) ของเฟลด์สปาอาจเกิดจากการผุสลายของแร่อื่นๆได้ เช่น โทแพซ ไคยาไนต์ สปอดูมีน แอนดาลูไซต์ และสแคโพไลต์ (scapolite) ผลึกของมัสโคไวต์ในหินแกรนิตและหินเพกมาไทต์จะมีขนาดใหญ่และ มักจะเกิดอยู่ร่วมกับควอรตซ์และเฟลด์สปาร์ ทัวร์มาลีน เบริล การ์เนต อะพาไทต์ และฟลูออไรต์ แร่ที่มีส่วนประกอบอย่างเดียวกับเคโอลิไนต์แต่มีโครงสร้างต่างกัน คือ ดิกไคต์ และนาไครต์ ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนสำคัญของแหล่งดินทั่วไป

แหล่งที่พบในประเทศไทยแก้ไข

ในประเทศไทย พบที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และในแหล่งหินแกรนิต เพกมาไทต์ทั่วประเทศ เป็นตัวแร่สำคัญที่พบเสมอในทรายทั่วไป ทำให้ดูวาววับ

ประโยชน์แก้ไข

ใช้ทำเป็นฉนวนไฟฟ้า ทำเป็นวัตถุโปร่งใสในการทำตะเกียงและเตา เศษของไมกาที่เหลือจากการทำฉนวนจะถูกนำมาใช้ทำกระดาษปิดฝาผนัง ทำให้ผนังมีความแวววาวขึ้น ใช้ผสมกับน้ำมันทำเป็นตัวหล่อลื่น เป็นตัวนำความร้อนที่เลวจึงใช้ทำวัตถุทนไฟ

อ้างอิงแก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข