แม่น้ำฤษีคงคา

แม่น้ำในประเทศอินเดีย

ฤษีคงคา (ฮินดี: ऋषि गंगा ; อังกฤษ: Rishiganga หรือ Rishi Ganga) เป็นแม่น้ำในอำเภอฉโมลี, รัฐอุตตราขัณฑ์ ประเทศอินเดีย โดยต้นน้ำผุดจากธารน้ำแข็งอุตตรีนันทาเทวี บนภูเขานันทาเทวี และยังได้รับน้ำมาจากธารน้ำแข็งทักษิณีนันทาเทวี ลำน้ำไหลผ่านอุทยานแห่งชาตินันทาเทวี, แล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำธาวลีคงคา ใกล้กับหมู่บ้านรีนี

ฤษีคงคา
Rishi Ganga
แผนที่ของภูเขาในพื้นที่เส้นสีน้ำเงินคือแม่น้ำ, เส้นสีน้ำตาลเป็นแนวสันเขา, สีขาวคือธารน้ำแข็ง, สีเขียวอ่อนคืออุทยานแห่งชาตินันทาเทวี
ที่ตั้ง
ประเทศอินเดีย
รัฐอุตตราขัณฑ์
แขวงครห์วาล
อำเภอฉโมลี
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำธารน้ำแข็งนันทาเทวี, ธารน้ำแข็งอุตตรีฤษี, ธารน้ำแข็งทักษิณีฤษี, ธารน้ำแข็งทักษิณีนันทาเทวี
 • พิกัดภูมิศาสตร์30°21′59″N 79°55′49″E / 30.366356°N 79.930279°E / 30.366356; 79.930279
 • ระดับความสูง4,400 เมตร
ปากน้ำแม่น้ำธาวลีคงคา
 • พิกัด
30°29′16″N 79°41′26″E / 30.487751°N 79.690575°E / 30.487751; 79.690575
 • ระดับความสูง
2,000 เมตร
ความยาว30 กิโลเมตร
พื้นที่ลุ่มน้ำ695 ตร.กม.
อัตราการไหล 
 • เฉลี่ย23.4 ลบ.ม./ว.
ลุ่มน้ำ
ลำดับแม่น้ำธาวลีคงคา // อลักนันทา // คงคา // มหาสมุทรอินเดีย
ระบบแม่น้ำคงคา
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายตรีศูลนาลา
แหล่งน้ำเขื่อนฤษีคงคา

แนวลำน้ำ แก้

เป็นแม่น้ำบนภูเขาซึ่งรับน้ำที่ละลายจากธารแข็งด้านตะวันตกของกลุ่มธารน้ำแข็งนันทาเทวี แม่น้ำฤษีคงคามีจุดกำเนิดที่ระดับความสูง 4,400 เมตร ที่ปลายด้านล่างของธารน้ำแข็งทักษิณีฤษีคัล ทางด้านล่างของทิศตะวันตกของภูเขานันทาเทวี (7,816 เมตร) แม่น้ำไหลในทิศทางตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ผ่านภูเขาสูง ไหลผ่านช่องเขาแคบ ๆ เป็นระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำธาวลีคงคา ที่ระดับความสูง 2,000 เมตร พื้นที่รับน้ำของแม่น้ำฤษีคงคา มีอาณาเขตทางทิศใต้ติดกับภูเขาตรีศูล (7,120 เมตร) และภูเขานันทาฆุนตี (6,309 เมตร) ทางเหนือติดกับภูเขากลันกา (6,931เมตร) และภูเขาฑูณคีรี (7,066 เมตร)

ฤษีคงคา เคยเป็นเพียงหนทางเดียวในการเข้าสู่ภูเขานันทาเทวี และยอดเขาที่อยู่ใกล้เคียง ช่องเขาฤษีคงคาเป็นหนึ่งในเป้าหมายแรก ๆ ของนักปีนเขา

อุทกวิทยาและพื้นที่รับน้ำ แก้

ฤษีคงคา เป็นเส้นทางระบายน้ำของพื้นที่ประมาณ 695 ตารางกิโลเมตร ซึ่ง 393 กม.2 ปกคลุมด้วยหิมะหรือธารน้ำแข็ง[1] ค่าเฉลี่ยอัตราการไหลที่ระยะเหนือปากแม่น้ำขึ้นไป 5 กิโลเมตร อยู่ที่ 23.4 ลูกบาศ์กเมตร/วินาที[1] ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 69.5 ม.3/ว. ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ 4.5 ม.3/ว.[1] เกือบร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำที่ไหลในแต่ละปีเกิดขึ้นในช่วงฤดูมรสุม ซึ่งกินเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน[1]

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ แก้

แม่น้ำมีน้ำปริมาณมากซึ่งมีศักยภาพที่จะใช้ในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่ดี กำลังมีการวางแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำสองแห่งบนลำน้ำฤษีคงคา และอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ปากแม่น้ำก็มีการพิจารณาในเบื้องต้น:

  • ฤษีคงคา-Ⅰ : กังหันน้ำ 2 เครื่องขนาด 35 เมกะวัตต์ เขื่อนคอนกรีตแบบถ่วงน้ำหนักที่ระดับความสูง 2,874 ม. มีความสูงของสันเขื่อน 29 ม. และความยาวสันเขื่อน 118 ม.[2]
  • ฤษีคงคา-Ⅱ : กังหันน้ำ 2 เครื่องขนาด 35 เมกะวัตต์ 1 เครื่อง เขื่อนคอนกรีตแบบถ่วงน้ำหนักที่ระดับความสูง 2,309 ม. มีความสูงของสันเขื่อน 29 ม. และความยาวสันเขื่อน 112 ม.[1]

อุทกภัยจากธารน้ำแข็งแตก พ.ศ. 2564 แก้

เหตุการณ์เริ่มขึ้นประมาณเวลา 10:45 นาฬิกา ตามเวลามาตรฐานของอินเดีย ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[3] ภัยพิบัติน้ำท่วมเกิดขึ้นตลอดความยาวของแม่น้ำ และเกิดเหตุการณ์ ดินถล่ม, หิมะถล่ม และน้ำท่วมจากทะเลสาบธารน้ำแข็งแตก ในโกรกธารของลำน้าตามมา โรงไฟฟ้าพลังน้ำที่กำลังก่อสร้างถูกน้ำท่วม มีคนงานถูกกระแสน้ำพัดพาหายไป[4]

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "PFR STUDIES OF RISHIGANGA-I HE PROJECT" (PDF, 27,6 KB) (ภาษาอังกฤษ). www.iitr.ac.in. สืบค้นเมื่อ 2021-02-08.
  2. "PFR STUDIES OF RISHIGANGA – II HE PROJECT" (PDF, 25,8 KB) (ภาษาอังกฤษ). www.iitr.ac.in. สืบค้นเมื่อ 2021-02-08.
  3. "Uttarakhand flood wreaks death, damage". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-08. สืบค้นเมื่อ 2021-02-09.
  4. "Gewaltige Flutwelle nach Gletscherabbruch" (ภาษาเยอรมัน). www.tagesschau.de. 2021-02-07. สืบค้นเมื่อ 2021-02-07.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  แผนที่พร้อมพิกัดทั้งหมด : OSM

พิกัดภูมิศาสตร์: 30°25′16″N 79°55′52″E / 30.421°N 79.931°E / 30.421; 79.931