แม่น้ำบีอาส

(เปลี่ยนทางจาก แม่น้ำบีอัส)

แม่น้ำบีอาส (อังกฤษ: Beas River; ฮินดี: ब्यास; ปัญจาบ: ਬਿਆਸ) เป็นแม่น้ำทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นหนึ่งในแม่น้ำใหญ่ทั้งห้าสาย (ปัญจนที) ของภูมิภาคปัญจาบและเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำสินธุ มีความยาวรวม 470 กิโลเมตร (290 ไมล์) มีพื้นที่ลุ่มน้ำกว้างถึง 20,303 ตารางกิโลเมตร (7,839 ตารางไมล์)[1] แม่น้ำบีอาสมีต้นน้ำอยู่ทางทิศใต้ของช่องเขาโรห์ตัง (Rohtang Pass) ในเทือกเขาหิมาลัย รัฐหิมาจัลประเทศ ตัดผ่านเขตมัณฑี (Mandi) และเข้าเขตกางครา (Kangra) ก่อนจะอ้อมเนินเขาศิวาลิกในเมืองโหศยารปุระ (Hoshiarpur) และไหลผ่านเป็นพรมแดนระหว่างเมืองอมฤตสาร์กับเมืองกปูรถลา (Kapurthala) ไปบรรจบกับแม่น้ำสตลุชที่พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองกปูรถลา[2] แม่น้ำบีอาสเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในสนธิสัญญาแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นข้อตกลงด้านทรัพยากรน้ำระหว่างอินเดียกับปากีสถาน[3]

แม่น้ำบีอาส
แม่น้ำบีอาสในรัฐหิมาจัลประเทศ
ที่ตั้ง
ประเทศอินเดีย
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำบีอาสคุนด์ เทือกเขาหิมาลัย
ปากน้ำแม่น้ำสตลุช
ความยาว470 กิโลเมตร (292 ไมล์)
อัตราการไหล499.2 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
แผนที่แม่น้ำบีอาส

ในพระเวทเรียกแม่น้ำบีอาสว่า "อรชิกิยา" (Arjikiya) อินเดียโบราณเรียก "วิปาศา" (Vipasha) และกรีกโบราณเรียก "ฮิฟาซิส" (Hyphasis)[4] ในปีที่ 326 ก่อนคริสต์ศักราช หลังการต่อต้านของกองทหาร พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงกำหนดให้แม่น้ำสายนี้เป็นพรมแดนด้านตะวันออกสุดของจักรวรรดิของพระองค์ และทรงสั่งให้สร้างแท่นบูชาสิบสองแห่งเพื่อระลึกถึงการขยายพระราชอำนาจ[5][6] ช่วงศตวรรษที่ 20 แม่น้ำบีอาสมีบทบาทในด้านการชลประทานและการผลิตไฟฟ้าจากกระแสน้ำ มีการสร้างเขื่อนสองแห่งคือเขื่อนพอง (Pong Dam) และเขื่อนแพนโดห์ (Pandoh Dam) เพื่อใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้[7][8]

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2014 เกิดเหตุกลุ่มนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบันแห่งหนึ่งในไฮเดอราบาดและผู้นำเที่ยวถูกกระแสน้ำในแม่น้ำบีอาสพัดพา จนมีผู้เสียชีวิต 25 ราย คาดว่าสาเหตุมาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนลาร์จิ (Larji Dam) โดยไม่ได้มีการประกาศเตือน[9]

อ้างอิง

แก้
  1. Jain, Sharad K.; Agarwal, Pushpendra K.; Singh, Vijay P. (5 March 2007). Hydrology and water resources of India. Springer. p. 481. ISBN 978-1-4020-5179-1. สืบค้นเมื่อ 15 May 2011.
  2. "Beas River – river, India". Britannica.com.
  3. "The Indus Water Treaty - transboundarywaters". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2015.
  4. "Beas" (GIF). The Imperial Gazetteer of India. 7: 138.
  5. Lieut. Alex. Burnes FRS (1834). Travels into Bokhara. London: John Murray. p. 6.
  6. "The Empire and Expeditions of Alexander the Great". World Digital Library. 1833. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013.
  7. "Developmental History of Beas Project". Bhakra Beas Management Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2011.
  8. "India: National Register of Large Dams 2009" (PDF). Central Water Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2011.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้