แผ่นดินไหวในแคชเมียร์ พ.ศ. 2548

แผ่นดินไหวที่แคชเมียร์ พ.ศ. 2548 เกิดเมื่อเวลา 08:52:37 น. ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับ 03:52:37 น. UTC) ของวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ที่เขตอาซาด แคชเมียร์ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปากีสถาน ใกล้ชายแดนอินเดีย มีจุดศูนย์กลางอยู่ใกล้กับเมืองมูซัฟฟาราบัด เมืองหลวงของแคว้น ด้วยความรุนแรง 7.6

แผ่นดินไหวในแคชเมียร์ พ.ศ. 2548
แผ่นดินไหวในแคชเมียร์ พ.ศ. 2548ตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
คาบูล
คาบูล
อิสลามาบาด
อิสลามาบาด
ลาฮอร์
ลาฮอร์
แผ่นดินไหวในแคชเมียร์ พ.ศ. 2548
เวลาสากลเชิงพิกัด2005-10-08 03:50:40
รหัสเหตุการณ์ ISC7703077
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น8 ตุลาคม 2548 (2548-10-08)
เวลาท้องถิ่น08:50 PKT
ขนาด7.6 Mw[1]
ความลึก15 กิโลเมตร (9.3 ไมล์)[1]
ศูนย์กลาง34°27′N 73°39′E / 34.45°N 73.65°E / 34.45; 73.65[1]
ประเภทตามแนวเฉียง
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบปากีสถาน, อินเดีย
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้XI (สุดขีด) [2]
แผ่นดินถล่มมี[3]
แผ่นดินไหวตาม5.9 Mw  8 ต.ค. 03:57[4]
5.8 Mw  8 ต.ค. 03:58[5]
6.4 Mw  8 ต.ค. 10:46[6]
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 86,000–87,351 คน[7]
บาดเจ็บ 69,000–75,266 คน[7]
พลัดถิ่น 2.8 ล้านคน[7]
ภาพแสดงจุดบรรจบของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนกับอินเดียน บริเวณประเทศปากีสถาน

ทางการปากีสถานได้ประกาศจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน หลังเหตุการณ์ผ่านไปหนึ่งเดือน ด้วยยอดผู้เสียชีวิต 79,000 คน [8] โดยมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมในชัมมูและกัศมีร์ของอินเดีย จำนวน 1,400 คน และอัฟกานิสถาน 4 คน ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เนื่องจากถูกซากอาคารถล่มทับ บางส่วนเสียชีวิตเนื่องจากอุทกภัยเนื่องจากน้ำในแม่น้ำไหลเข้าท่วมพื้นดินที่ยุบตัวลง ประกอบกับมีพายุฝนกระหน่ำซ้ำ และเกิดดินถล่มในเขตภูเขา ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทำได้ล่าช้า

แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก บริเวณอาซาด แคชเมียร์ เป็นบริเวณที่บรรจบกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนกับแผ่นเปลือกโลกอินเดียน ที่ก่อให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย [9]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 ISC (2014), ISC-GEM Global Instrumental Earthquake Catalogue (1900–2009), Version 1.05, International Seismological Centre
  2. Zahid Ali; Muhammad Qaisar; Tariq Mahmood; Muhammad Ali Shah; Talat Iqbal; Leonello Serva; Alessandro M. Michetti; Paul W. Burton (2009). "The Muzaffarabad, Pakistan, earthquake of 8 October 2005: surface faulting, environmental effects and macroseismic intensity". Special Publications. The Geological Society of London. 316: 155–172. doi:10.1144/SP316.9.
  3. Bulmer, M.; Farquhar, T.; Roshan, M.; Akhtar, S. S.; Wahla, S. K. (2007), "Landslide hazards after the 2005 Kashmir earthquake", EOS, 88 (5): 53–68, Bibcode:2007EOSTr..88...53B, doi:10.1029/2007eo050001
  4. USGS. "M5.9 - Pakistan". United States Geological Survey.
  5. USGS. "M5.8 - Pakistan". United States Geological Survey.
  6. USGS. "M6.4 - Pakistan". United States Geological Survey.
  7. 7.0 7.1 7.2 USGS (4 September 2009), PAGER-CAT Earthquake Catalog (Earthquake ID 20051008035040), Version 2008_06.1, United States Geological Survey
  8. "New figures put quake toll at more than 79,000" AP, ,,MSNBC.com, 19 October 2005, retrieved 23 February 2006
  9. "A Biography of the Himalaya". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2000-03-09. สืบค้นเมื่อ 2009-10-09.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้