แปะจี้
แปะจี้ | |
---|---|
![]() | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Apiales |
วงศ์: | Apiaceae |
สกุล: | Angelica |
สปีชีส์: | A. dahurica |
ชื่อทวินาม | |
Angelica dahurica Fisch.ex Hoffm. |
แปะจี้ในภาษาจีนแต้จิ๋ว หรือ ไป๋จื่อในภาษาจีนกลาง (จีน: 白芷; พินอิน: bái zhǐ;[1]) ชื่อวิทยาศาสตร์: Angelica dahurica) อยู่ในวงศ์ผักชี (Apiaceae) เป็นพืชท้องถิ่นใน ไซบีเรีย ตะวันออกไกลของรัสเซีย มองโกเลีย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และ ไต้หวัน[2] รากภายนอกเป็นสีเทาขาวหรือสีเหลืองขาว ด้านในสีขาวรากใช้เป็นยาแก้ปวดบวม ไข้หวัด [3]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์แก้ไข
เป็นไม้ต้นขนาดเล็กที่มีความสูงประมาณ 1–2.5 เมตร[4] พืชมักมีรากกลมสีน้ำตาล หนาประมาณ 2–5 เซนติเมตร[5] ลำต้นมีสีเขียวอมม่วง มีลายนูน และมักมีเส้นผ่านศูนย์กลางหนา 2-8 เซนติเมตร ในปีแรกต้นแปะจี้ยังคงสภาพเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก พุ่มสูงไม่เกิน 75 เซนติเมตร เดิบโดได้ดีในดินที่อุดมสมบูรณ์ ลำต้นออกสีม่วงแดงเข้มที่โคนต้น เมื่ออายุสองหรือสามปี เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นมีขนาด 2.5 เซนติเมตร กลวงเป็นโพรงตรงกลางและแข็ง สูงได้ 2.5 เมตร
ใบประกอบแบบขนนก ซับซ้อน ยาว 25–50 เซนติเมตร กว้าง 25–40 เซนติเมตร[4] ใบย่อย ยาว 4–10 เซนติเมตร กว้าง 1–4 เซนติเมตร[4]
ดอกไม้สีขาว โคนดอกเขียว ช่อดอกบานกว้างมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 30 เซนติเมตร ดอกกะเทย ผสมเกสรด้วยแมลง อาจผสมเกสรด้วยตัวเอง ออกดอกในฤดูร้อนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม หรืออาจถึงกันยายน
เมื่อดอกแก่ ช่อดอกเปลี่ยนช่อเมล็ด กลายเป็นสีน้ำตาลและมีลักษณะเป็นแผ่น ๆ เมื่อแก่ ออกผลตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงตุลาคม[6][4]
รากและใบของพืชมีกลิ่นหอมมาก รากมีกลิ่นหอมคล้ายกับแคร์รอตป่า (Daucus carota) และรสขมฉุน[7]
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายพันธุ์แก้ไข
แปะจี้ (A. dahurica) เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออก เช่น ประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และบางส่วนของไซบีเรีย เจริญได้ดีที่ความสูง 500–1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล บนพื้นที่ป่าโปร่ง หรือพื้นที่เปิดแดดส่องถึงระหว่างยอดไม้สูง และใน ทุ่งหญ้า เพาะปลูกมากในประเทศจีนเพื่อเป็นยาแผนจีน เช่น พันธุ์ปลูก A. dahurica var. dahurica และ A. dahurica var. formosana[4]
พิษแก้ไข
นอกจากสรรพคุณทางยาของพืชชนิดนี้แล้ว แปะจี้นี้ยังประกอบด้วย furocoumarins ซึ่งทำให้ผิวหนังเพิ่มความไวต่อแสงแดดและอาจชักนำให้เกิดโรคผิวหนังบางอย่างได้ สารประกอบอีกชนิดหนึ่งคือ angelicotoxin เป็นสารออกฤทธิ์พบในราก ซึ่งมีผลกระตุ้นต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบหลอดเลือดของร่างกาย โดยมีผลเพิ่มอัตราการหายใจ ความดันโลหิต ลดอัตราชีพจร เพิ่มการผลิตน้ำลาย และกระตุ้นให้อาเจียน หากบริโภคในปริมาณมากสารพิษ angelicotoxin สามารถทำให้เกิดอาการชักและเป็นอัมพาตได้[8]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Dahurican Angelica Root" (PDF). China Health Resource. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-08-13. สืบค้นเมื่อ 2015-05-23.
- ↑ USDA Angelica Dahurica http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxon.pl?3418
- ↑ ภาสกิจ วัณณาวิบูล. รู้เลือกรู้ใช้ 100 ยาจีน. กทม. ทองเกษม. 2555
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Angelica dahurica in Flora of China @ efloras.org". www.efloras.org.
- ↑ Angelica dahurica http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200015358
- ↑ High Falls Garden http://aces.nmsu.edu/medicinalherbs/documents/vol_01.pdf
- ↑ The Healing Power of Chinese Herbs and Medicinal Recipes https://books.google.com/books?id=odRH0T_U7oEC&pg=PA312&dq=angelica+dahurica&hl=en&ei=nS3QTfnTGIrDgQewuLyhDA&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=2&ved=0CDsQ6AEwATgK#v=onepage&q=angelica%20dahurica&f=false
- ↑ "Angelica dahurica - (Fisch.)Benth.&Hook.f. ex Franch. & Sav". Plants For A Future. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2011. สืบค้นเมื่อ 18 May 2011.