แบล็ค ฮอว์ค ดาวน์: ฝ่าสมรภูมินรกโซมาเลีย

หนังสือในปี พ.ศ. 2542 โดย มาร์ค โบว์เดน

แบล็ค ฮอว์ค ดาวน์: ฝ่าสมรภูมินรกโซมาเลีย (อังกฤษ: Black Hawk Down: A Story of Modern War) เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นโดย มาร์ค โบว์เดน ในปี พ.ศ. 2542 ซึ่งบันทึกความพยายามของหน่วยเฉพาะกิจรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน (Unified Task Force) ในการเข้าจับกุม โมฮัมเมด ฟาราห์ ไอดิด ผู้นำของฝ่ายโซมาเลียในปี พ.ศ. 2536 และผลลัพธ์ที่เกิดตามขึ้นมาหลังจากการปฏิบัติการคือการสู้รบในโมกาดิชูระหว่างกองกำลังสหรัฐ และกองกำลังติดอาวุธของไอดิด จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ยูเอช-60 แบล็กฮอว์กของสหรัฐถูกยิงตก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหนังสือเล่มนี้ และความพยายามที่จะเข้าช่วยเหลือลูกเรือของเฮลิคอปเตอร์ที่ตกทั้งสองลำนั้น โดยกองกำลังสหรัฐได้จัดกำลัง ประกอบไปด้วย กองพันจู่โจมที่ 3 สังกัดกรมทหารจู่โจมที่ 75, กรมอากาศยาน ปฏิบัติการพิเศษที่ 160 (160th SOAR), กองกำลังเดลตา, ฝูงบินยุทธวิธีพิเศษที่ 24, เดฟกรู เนวีซีลสหรัฐ, กองพลภูเขาที่ 10 (10th Mountain Division) พร้อมทั้งกองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติของมาเลเซียและปากีสถาน

แบล็ค ฮอว์ค ดาวน์: ฝ่าสมรภูมินรกโซมาเลีย
หน้าปกของหนังสือ แบล็ค ฮอว์ค ดาวน์ ฝ่าสมรภูมินรกโซมาเลีย
ผู้ประพันธ์มาร์ค โบว์เดน
ชื่อเรื่องต้นฉบับBlack Hawk Down: A Story of Modern War
ผู้แปลพันเอก พีรพล สงนุ้ย
ประเทศสหรัฐ
ภาษาภาษาอังกฤษ
หัวเรื่องยุทธการที่โมกาดิชู (พ.ศ. 2536)
ประเภทสงคราม
ประวัติศาสตร์ สารคดี
สำนักพิมพ์
  • Signet Books (New American Library)
  • กรมยุทธศึกษาทหารบก กองทัพบกไทย
พิมพ์ในภาษาอังกฤษ
10 กุมภาพันธ์ 2542
พิมพ์ในภาษาไทย
พ.ศ. 2557
ชนิดสื่อหนังสือปกแข็ง
หนังสือปกอ่อน
หน้า392
342 (ไทย)
ISBN978-0-87113-738-8

การจู่โจมในครั้งนี้ กลายเป็นการต่อสู้ระยะประชิดที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การทหารของสหรัฐนับตั้งแต่สงครามเวียดนาม ซึ่งแม้ว่าชื่อปฏิบัติการในการเข้าจับกุมไอดิดจะมีชื่อรหัสอย่างเป็นทางการว่า ปฏิบัติการโกธิคเซอร์เพนท์ (Operation Gothic Serpent) แต่สื่อมวลชนต่างเรียกขานปฏิบัติการนี้ว่า ยุทธการที่โมกาดิชู (Battle of Mogadishu) และยุทธการที่ทะเลดำ (Battle of the Black Sea)[1]

ประวัติ

แก้

แบล็ค ฮอว์ค ดาวน์: ฝ่าสมรภูมินรกโซมาเลีย สร้างขึ้นมาจากบทความจำนวน 29 ตอนที่เขียนโดย มาร์ค โบว์เดน นักข่าวของหนังสือพิมพ์ The Philadelphia Inquirer เขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าอย่างหนักในบันทึกของกองทัพสหรัฐ สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมเหตุการณ์จากทั้งสองฝ่ายในความขัดแย้ง ตรวจสอบภาพและบันทึกวีดีโอต่าง ๆ จากเครื่องบินตรวจการณ์รวมไปถึงฟังบันทึกการสั่งการและการจราจรทางวิทยุ ก่อนหนังสือเล่มนี้จะถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ ซีรีส์บทความของเขาก็เริ่มเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนอยู่ก่อนแล้ว โดยได้มีการใช้แผ่นซีดีรอมที่มีข้อมูลวีดีโอความยาวหนึ่งชั่วโมง และการเผยแพร่ซีรีส์ภาพและเสียงบนเว็บไซต์ของ The Inquirer เอง[1]

พอล อาร์. โฮว์ หนึ่งในสมาชิกของกองกำลังเดลตาได้ให้ข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับปฏิบัติการของกองกำลังเดลตาในการเขียนหนังสือเล่มนี้[2] โดยมาร์คได้พบกับโฮว์ในปี พ.ศ. 2540 หลังจากเขาได้เคลียร์กับผู้บังคับบัญชาของเขาแล้วเกี่ยวกับขอบเขตข้อมูลที่จะให้ได้ นอกจากนั้นยังมีสมาชิกของหน่วยคนอื่น ๆ ร่วมให้ข้อมูลและเป็นที่ปรึกษาให้กับหนังสือเล่มนี้อีกด้วย แต่ไม่อนุญาตให้เปิดเผยชื่อจริงของพวกเขา และวิจารณ์โฮว์ที่อนุญาตให้ผู้เขียนใช้ชื่อจริงของโฮว์ในงานเขียน[3]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2534 กลุ่มติดอาวุธได้เข้าโค่นล้มการปกครองของประธานาธิบดี ไซอัด บาร์รี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่สงครามกลางเมืองโซมาเลีย ต่อมาองค์การสหประชาชาติได้ดำเนินการเข้าแทรกแซง นำโดยสหรัฐใจการเข้ามาสร้างรัฐบาลขึ้นมาใหม่และดำเนินการให้กองกำลังติดอาวุธกระจายอำนาจและเริ่มตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมา ต่อมาประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ได้ส่งกำลังนาวิกโยธินสหรัฐเข้าไปยังโซมาเลียในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2535 เพื่อบรรลุความพยายามของสหประชาชาติในการรักษาเส้นทางคมนาคมสิ่งของบรรเทาทุกข์และอาหาร ซึ่งถูกขัดขวางและโจมตีโดยกองกำลังติดอาวุธในท้องถิ่น[1]

ในขณะเดียวกัน โมฮัมเมด ฟาราห์ ไอดิด ได้มองว่าภารกิจบรรเทาทุกข์ของสหประชาชาติที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อตน และไม่สนใจกระบวนการสันติภาพในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จึงได้ดำเนินการซุ่มโจมตีขบวนรถของกองกำลังรักษาสันติภาพในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2536 ทำให้มีทหารปากีสถานจำนวน 24 นายเสียชีวิต เป็นเหตุให้พลเรือเอก โจนาธาน โฮว์ ของสหรัฐประกาศให้ไอดิดเป็นบุคคลนอกกฎหมาย รวมไปถึงกองกำลังของไอดิดเองและกลุ่มผู้สนับสนุนของเขา

การปฏิบัติการตามล่าตัวไอดิดนั้น ร่วมไปถึงการบุกเข้าจู่โจมบ้านของสมาชิกกลุ่มที่เป็นผู้ต่อต้าน ส่งผลให้มีพลเรือนโซมาเลียบาดเจ็บล้มตาย ทำให้เริ่มมีกลุ่มผู้ต่อต้านภารกิจและการปฏิบัติการของสหประชาชาติเพิ่มมากขึ้น ทำให้การบรรเทาทุกข์ลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติการด้วยเฮลิคอปเตอร์[1] ส่งผลให้ประธานาธิบดี บิล คลินตัน อนุมัติปฏิบัติการโกธิคเซอร์เพนท์ (Operation Gothic Serpent) ซึ่งเป็นปฏิบัติการของหน่วยบัญชาการยุทธการพิเศษร่วม (JOSC) ในการเข้าจับกุมไอดิด[4] ประกอบไปด้วย กองพันจู่โจมที่ 3 สังกัดกรมทหารจู่โจมที่ 75 (3rd Ranger Battalion, 75th Ranger Regiment), กรมอากาศยาน ปฏิบัติการพิเศษที่ 160 (160th Special Operations Aviation Regiment: 160th SOAR), กองกำลังเดลตา, ฝูงบินยุทธวิธีพิเศษที่ 24 (24th Special Tactics Squadron), เดฟกรู เนวีซีลสหรัฐ (DEVGRU Navy SEALs) [5] หนึ่งในภารกิจของปฏิบัติการนี้ส่งผลให้เฮลิคอปเตอร์แบบแบล็คฮอว์กหลายลำถูกยิงตก และเกิดการสู้รบติดพันยืดเยื้อระหว่างกองกำลังเฉพาะกิจและกองกำลังสหประชาชาติในการต่อต้านกองทหารอาสาของโซมาเลีย ซึ่งหลังจากยุทธการดังกล่าว การตามล่าตัวไอดิดก็ถูกยกเลิก และกองทัพสหรัฐได้ถอนตัวออกมาจากพื้นที่โซมาเลียตามมาด้วยกองกำลังสหประชาชาติในอีกไม่กี่เดือนหลังจากสหรัฐ

ในปี พ.ศ. 2539 ไอดิดเสียชีวิตจากบาดแผลที่ได้รับจากการต่อสู้กับกองกำลังติดอาวุธของฝ่ายตรงข้ามของขั้วอำนาจภายในโซมาเลีย[6] และในท้ายที่สุด รัฐบาลเปลี่ยนผ่านแห่งชาติได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2543 หนึ่งปีหลังจากหนังสือของมาร์คได้รับการตีพิมพ์

แปลภาษาไทย

แก้

หนังสือเล่มนี้ถูกแปลเป็นฉบับภาษาไทย ภายใต้ลิขสิทธิ์ของกองทัพบกไทย โดยศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก กระทรวงกลาโหม แปลและเรียบเรียงโดย พันเอก พีรพล สงนุ้ย มีจำนวน 342 หน้า ตีพิมพ์ครั้งที่ 1 จำนวน 1,500 เล่ม และได้รับรหัสมาตรฐานทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติหมายเลข 978-974-9752-78-4[7]

กระแสตอบรับ

แก้

งานเขียนของเขาเป็นที่ยอมรับอยู่แล้วโดยเฉพาะในแง่ของความพยายามที่จะอธิบายในเรื่องของบริบททางการเมืองท้องถิ่น และบริบทของการเมืองระหว่างประเทศ รวมไปถึงอธิบายว่าจากภารกิจเพื่อรักษาสันติภาพธรรมดาทั่วไปทำไมถึงพัฒนาขึ้นไปสู่ความขัดแย้งที่ต้องใช้อาวุธ ซึ่งต่อมามันถูกเรียกว่า โมกาดิชูไลน์ (Mogadishu Line)[1] จากรายงานของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ชิ้นหนึ่ง พบว่ามาร์คสามารถถ่ายทอดการต่อสู้ครั้งนี้ได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในระดับนาทีต่อนาทีของปฏิบัติการโดยกองกำลังสหรัฐในโมกาดิชู หรือที่รู้จักกันใจชื่อของยุทธการที่ทะเลดำ โดยรายงานของนิวยอร์กไทมส์ได้เสริมอีกว่ามาร์คได้เปลี่ยนมุมมองของเรื่องอย่างรวดเร็วหลังจากที่กองกำลังทางพื้นดินของสหรัฐเดินทางเข้ามายังเขตเมือง และพยายามแยกตัวผู้นำของไอดิดออกมา จนกระทั่งเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้น ภารกิจนั้นจึงเปลี่ยนเป็นการกู้ภัยกองกำลังของสหรัฐเอง[1] นอกจากนี้รายงานระบุว่า มาร์คสามารถบรรยายได้ถึงอารมณ์และความรู้สึกวิตกกังวลทั้งของทหารและพลเรือนในสถานการณ์ที่กดดันจากการปิดล้อม และรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ที่รู้สึกไม่พอใจและกล่าวโทษกลุ่มทหารเรนเจอร์ว่าเป็นสาเหตุของผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จากการปะทะ[1]

หนังสือเล่มนี้ได้เข้าสู่รอบสุดท้ายในการประกวดรางวัลหนังสือแห่งชาติสาขาสารคดีของสหรัฐในปี พ.ศ. 2552[8]

การดัดแปลง

แก้
  • เรื่องราวนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ในรูปแบบของซีรีส์บนหนังสือพิมพ์จำนวน 29 ตอน และถูกดัดแปลงเป็นชุดมัลติมีเดียออนไลน์ชิ้นแรกของ The Philadelphia Inquirer[9] โดยผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลประกอบต่าง ๆ จำนวนมาก คือบันทึกย่อ เทปเสียง เอกสาร รูปภาพ และบันทึกการติดต่อวิทยุสื่อสาร และนำขึ้นเผยแพร่ทางออนไลน์เพื่อประกอบกับบทความ ซึ่งถือเป็นสิ่งใหม่มากที่บทความที่เขียนขึ้นโดยสำนักข่าว[10]ที่จะมีการเชื่อมโยงมัลติมีเดียต่าง ๆ ในการอ้างอิงข้อมูลและเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลภายนอกได้[11]
  • หนังสือเล่มนี้มาพร้อมกับวีดีโอที่ชื่อว่า Somalia: Good Intentions, Deadly Results ผลิตโดย KVR Video หลังจากนั้นมันได้ออกอากาศทางซีเอ็นเอ็นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2542 ในเวอร์ชันความยาว 57 นาที ในชื่อ Black Hawk Down: A Story of Modern War และได้รับรางวัลเอ็มมีในเวลาต่อมา[12]
  • หนังสือเล่มนี้ได้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เมื่อปี พ.ศ. 2544 ชื่อว่า ยุทธการฝ่ารหัสทมิฬ กำกับโดย ริดลีย์ สกอต และอำนวยการสร้างโดย เจอร์รี บรักไฮเมอร์

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Finnegan, William (14 March 1999). "A Million Enemies". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2000.
  2. Hunter, Stephen (18 January 2002). "Shock Troops". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2021. สืบค้นเมื่อ 2 January 2022.
  3. Shepard, Alicia C. (March 2002). "Appointment in Somalia". American Journalism Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2 January 2022.
  4. Bowden 1999, p. 95.
  5. Bowden 1999, p. 5.
  6. Bowden 1999, p. 333.
  7. โบว์เดน, มาร์ค (2557). แบล็ค ฮอว์ค ดาวน์: ฝ่าสมรภูมินรกโซมาเลีย [พีรพล สงนุ้ย]. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก กระทรวงกลาโหม. p. 342. ISBN 978-974-9752-78-4.
  8. "National Book Awards – 1999". National Book Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2018. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  9. Hernandez, Richard; Rue, Jeremy (2016). "Chapter 2: Evolution of the Digital News Package". Principles of Multimedia. Routledge. pp. 59–60. ISBN 978-0-415-73815-6.
  10. Bowden, Mark (2000). "Narrative Journalism Goes Multimedia". Nieman Reports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2015. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  11. Bowden, Mark (1997). "Black Hawk Down Newspaper Series Online". The Philadelphia Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2011. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  12. "Black Hawk Down: A Story of Modern War". The Philadelphia Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2011. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.

ผลงานที่อ้างถึง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้