แจ็ก หม่า

(เปลี่ยนทางจาก แจ็คหม่า)

แจ็ก หม่า (อังกฤษ: Jack Ma) หรือชื่อจริงว่า หม่า หยุน (จีน: 马云; เกิด 10 กันยายน ค.ศ. 1964)[3] เป็นเจ้าสัวธุรกิจและผู้ใจบุญชาวจีน เขาเป็นผู้ก่อตั้งและประธานบริหารของกลุ่มอาลีบาบาซึ่งประสบความสำเร็จในธุรกิจอินเทอร์เน็ต เขาเป็นผู้ประกอบการจีนคนแรกที่ปรากฏบนหน้าปกของนิตยสารฟอร์บ[4] ในเดือนมิถุนายน 2018 เขาเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในประเทศจีน และเป็นบุคคลรวยที่สุดอันดับที่ 11 ของโลก โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิประมาณ 50.3 พันล้านดอลลาร์ตาม Bloomberg Billionaires Index (ดัชนีมหาเศรษฐีบลูมเบิร์ก)[5]

แจ็ก หม่า
หม่า ใน ค.ศ. 2018
เกิดหม่า หยุน
(1964-09-10) 10 กันยายน ค.ศ. 1964 (59 ปี)
หางโจว มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน
สัญชาติจีน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยหางโจว
บัณฑิตวิทยาลัยธุรกิจเฉิงกง[1]
อาชีพผู้ก่อตั้งและประธานบริหารกลุ่มบริษัทอาลีบาบา
คู่สมรสจาง หยิง (Zhang Ying)
บุตร3 คน
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ马云
อักษรจีนตัวเต็ม馬雲

ชีวิตในวัยเยาว์ แก้

หม่าเกิดที่เมืองหางโจว ในมณฑลเจ้อเจียง เป็นหลานชายของนักธุรกิจเจ้าของที่ดินรายใหญ่ในหางโจว และเป็นลูกชายของศิลปินที่ทำการแสดงท้องถิ่นโบราณ หลังการถึงแก่อสัญกรรมของเหมา เจ๋อตุง ประเทศจีนได้เปิดประเทศ มีนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวตะวันตกหลั่งไหลมามากขึ้น โดยเฉพาะที่หางโจว ซึ่งเป็นเมืองที่สวยงาม มีทะเลสาบซีหูที่ขึ้นชื่ออยู่ ณ ที่นี่เองที่หม่าได้ฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษจนเชี่ยวชาญกว่าเพื่อนร่วมรุ่น[6] เขาขี่จักรยานเป็นเวลา 45 นาทีทุกเช้าเพื่อไปยังโรงแรมที่อยู่ใกล้เคียงและพูดคุยกับชาวต่างชาติ โดยจะทำหน้าที่เป็นไกด์พาพวกเขาไปรอบเมืองให้ฟรีเพื่อที่จะฝึกฝนและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเขา[7] ต่อมาในวัยหนุ่ม แม้ว่าเขาจะประสบความล้มเหลวในการสอบเข้าถึงสองครั้ง แต่แล้วเขาก็ได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันครูหางโจว[8] และสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1988 ด้วยวุฒิปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลังจากนั้น เขาก็กลายเป็นอาจารย์ผู้สอนในวิชาภาษาอังกฤษและการค้าระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยหางโจวเตี้ยนจื่อ ในการเป็นอาจารย์นั้น หม่าได้ชื่อว่าเป็นอาจารย์ที่ไม่สอนตามตำราหรือระเบียบวิธีการสอนทั่วไป ไม่เคยแม้แต่จะเตรียมตัวการสอนด้วยซ้ำ เขามักใช้วิธีด้นสด แต่นั่นก็ทำให้เขากลายเป็นขวัญใจของเหล่านักศึกษาอย่างยิ่ง หม่าเป็นอาจารย์อยู่ 5 ปี จึงลาออก เนื่องจากเขาเห็นว่าสมควรได้เวลาที่ตนเองจะทำธุรกิจ[6]

อ้างอิง แก้

  1. "Alumni Profiles". English.ckgsb.edu.cn. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2015.
  2. "Jack Ma". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2018.
  3. Shiying (2009), p. 1
  4. "Profile Jack Ma". "Forbes Magazine".
  5. "Bloomberg Billionaires Index". Bloomberg. Bloomberg. 4 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2018.
  6. 6.0 6.1 Porter Erisman. อาลีบาบา มังกรปฏิวัติโลก : Alibaba a World. กรุงเทพฯ : เนชั่นบุ๊คส์, 2558. 265 หน้า. ISBN 6165156332 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  7. "How I Did It: Jack Ma, Alibaba.com". Inc.com. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2014.
  8. Alibaba.com. "About Jack Ma".

แหล่งข้อมูลอื่น แก้