ทะเลสาบตะวันตก

(เปลี่ยนทางจาก ทะเลสาบซีหู)

ทะเลสาบตะวันตก หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ทะเลสาบซีหู (จีน: 西湖; พินอิน: Xī Hú; ภาษาอู๋: [si ɦu]) ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของเมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ที่มีทัศนียภาพสวยงามเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ทะเลสาบมีความยาวจากทิศใต้ถึงทิศเหนือ 3.3 กิโลเมตร ความกว้างจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก 2.8 กิโลเมตร รอบด้านประกอบด้วยภูเขา 3 ลูก น้ำมีความใสราวกับกระจก และมีสิ่งก่อสร้างทางวัฒธรรมที่สวยงามอยู่รายรอบทั้งเจดีย์, เก๋งจีน, วัด, สวนแบบจีน, สวนเซ็นญี่ปุ่น, ศาลเจ้า จนถูกขนานนามว่าเป็น "สวรรค์บนดิน"[1][2]

ทะเลสาบตะวันตก
ถะกลางทะเลสาบ
ที่ตั้งเขตช่างเฉิง/เขตเซียะเฉิง/เขตซีหู หางโจว มณฑลเจ้อเจียง
พิกัด30°14′49″N 120°08′39″E / 30.24694°N 120.14417°E / 30.24694; 120.14417
ชนิดทะเลสาบน้ำจืดธรรมชาติ
ชื่อในภาษาแม่西湖  (จีน)
ส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำช่างเฉิง
แหล่งน้ำไหลออกคลองใหญ่
ประเทศในลุ่มน้ำประเทศจีน
ช่วงยาวที่สุด3.2 กิโลเมตร (2.0 ไมล์)
ช่วงกว้างที่สุด2.8 กิโลเมตร (1.7 ไมล์)
พื้นที่พื้นน้ำ1,580 เอเคอร์ (4,000 ไร่)
ความลึกโดยเฉลี่ย2.27 เมตร (7.4 ฟุต)
ความยาวชายฝั่ง115 กิโลเมตร (9.3 ไมล์)
ความสูงของพื้นที่10 เมตร (33 ฟุต)
เมืองหางโจว
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนภูมิทัศน์วัฒนธรรมทะเลสาบตะวันตกในหางโจว
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์i, iii, vi
ขึ้นเมื่อ2554 (คณะกรรมการสมัยที่ 35)
เลขอ้างอิง1334
พื้นที่3,322.88 เฮกตาร์ (20,768.0 ไร่)
เขตกันชน7,270.31 เฮกตาร์ (45,439.4 ไร่)
ชื่อภาษาจีน
ภาษาจีน西湖
ความหมายตามตัวอักษร"ทะเลสาบตะวันตก"
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด
แผนที่ทะเลสาบตะวันตกในหางโจว
ทัศนียภาพของทะเลสาบพร้อมด้วยเจดีย์เหลิงเฟิงและวัดหลิงหยิน

ทะเลสาบตะวันตก จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อ และได้รับความนิยมมาตั้งแต่ยุคโบราณ กวีชาวจีนหลายคนได้ชื่นชมและรจนาความงามของทะเลสาบแห่งนี้ มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 และเป็นแหล่งกำเนิดของนิทานพื้นบ้านเรื่องนางพญางูขาว อันเป็นที่รู้จักกันดี [1]

มรดกโลก

แก้

ทะเลสาบตะวันตกตลอดจนทิวทัศน์ทางวัฒนธรรมทั้งหลายได้รับการลงทะเบียนขึ้นเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 35 เมื่อปี พ.ศ. 2554 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในชื่อ "ภูมิทัศน์วัฒนธรรมทะเลสาบตะวันตกในหางโจว" ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์[2]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ตามรอย "นางพญางูขาว"... สัมผัสความงามแห่ง..ทะเลสาบซีหู". ไทยรัฐ. 2014-07-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-25.
  2. 2.0 2.1 "West Lake Cultural Landscape of Hangzhou". องค์การยูเนสโก.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้