การทรงกลด
การทรงกลด หรือ เฮโล (อังกฤษ: halo) เป็นชื่อเรียกปรากฏการณ์ทางทัศนศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ส่วนบน อันเป็นที่อยู่ของกลุ่มเมฆจำนวนมาก ละอองน้ำในชั้นบรรยากาศนี้สามารถเย็นตัวจัดจนกลายเป็นอนุภาคน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ เมื่อมีแสงมาส่องกระทบก็จะเกิดการหักเหของแสง และเกิดการกระจายเป็นแถบสีรุ้งเหมือนเมื่อแสงผ่านปริซึม แถบสีรุ้งอาจมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละสภาพแวดล้อม
โดยมากแล้วการหักเหนี้มักทำให้เกิดปรากฏเป็นวงล้อมรอบแหล่งกำเนิดแสงทำมุม 22 องศารอบ ซึ่งจะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า พระอาทิตย์ทรงกลด เมื่อเกิดขึ้นกับดวงอาทิตย์ และอาจเกิดขึ้นกับดวงจันทร์ได้ เรียกว่า พระจันทร์ทรงกลด นอกจากนี้ยังเกิดที่มุม 46 องศาได้ด้วย นอกจากรูปแบบวงกลมแล้วก็ยังอาจเกิดในรูปแบบอื่น ๆ อีก ได้แก่ เสาแสง ซันด็อก เป็นต้น
คำว่า halo ซึ่งเป็นชื่อในภาษาอังกฤษมีที่มาจากคำว่า "ฮาลอส" (ἅλως) ในภาษากรีกโบราณ ซึ่งมีความหมายว่า "แผ่นจาน"[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ "halo". The American Heritage Dictionary of the English Language (5th ed.). HarperCollins.
- http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000077249 เก็บถาวร 2007-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.baanjomyut.com/library/wonderful_solar_system/03.html
- http://sci4fun.com/skyobserve/skyobserver.html เก็บถาวร 2010-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://sci4fun.com/skyobserve/2010gallery.html เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Halo explanations and image galleries at Atmospheric Optics
- Meteoros AKM - Halo explanations and image galleries
- Halo reports of interesting halo observations around the World
- Southern Hemisphere Halo and other atmospheric phenomena เก็บถาวร 2019-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Moon Halo Gallery เก็บถาวร 2008-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Halo in Chisinau Moldova (photo and video
- Sun Halo appeared in Padang after the earthquake