การหักเห
การหักเห (refraction) คือการเปลี่ยนแปลงทิศทางของคลื่นที่ส่วนรอยต่อระหว่างตัวกลางต่างกัน เมื่อผ่านตัวกลางที่เปลี่ยนไป ทิศทางของการเดินทางจะเปลี่ยนไปเนื่องจากความเร็วเปลี่ยนไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ของคลื่น
การหักเหของแสงเป็นตัวอย่างที่คุ้นเคยที่สุด แต่คลื่นเสียงและคลื่นน้ำก็เกิดการหักเหเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงทิศทางการแผ่ของคลื่นแสงจะเป็นไปตามกฎของสแน็ล ซึ่งอธิบายโดยใช้หลักการของเฮยเคินส์[1] พฤติกรรมการสะท้อนแสงบางส่วนอธิบายโดยสมการแฟรแนล ส่วนคำอธิบายในทางกลศาสตร์ควอนตัมว่าทำไมแสงจึงหักเหนั้นอาจแสดงได้โดยปริพันธ์ตามวิถี[2][3]
ภาพรวม
แก้ตัวอย่างเช่น ลำแสงที่ส่องผ่านกระจกจะหักเหจนดูงอเนื่องจากแก้วมีค่าดรรชนีหักเหแตกต่างจากอากาศ ส่วนกรณีเมื่อแสงตกกระทบในแนวตั้งฉากกับพื้นผิวกระจก ทิศทางการเดินทางของแสงจะไม่เปลี่ยนแปลง มีเพียงความเร็วเท่านั้นที่เปลี่ยนไป
ดังที่แสดงในรูปทางด้านซ้าย ปรากฏการณ์ที่แท่งไม้ซึ่งยื่นลงไปในน้ำดูเหมือนจะงอนั้นสามารถอธิบายได้โดยการหักเหของแสง เนื่องจากดรรชนีหักเหแสงของอากาศอยู่ที่ประมาณ 1.0003 และของน้ำมีค่าประมาณ 1.3330 แสงที่สะท้อนจากน้ำจะถูกหักเหก่อนที่จะมาถึงดวงตา กล่าวอีกนัยหนึ่ง ตำแหน่งที่ปรากฏของ X กลายเป็น Y เนื่องจากแสงที่มาจาก X ในรูปหักเหบนผิวน้ำ ทำให้แท่งที่จมอยู่ใต้น้ำดูเหมือนอยู่สูงกว่าที่เป็นจริง
เมื่อแสงแผ่จากตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหสูงไปยังตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหของแสงต่ำ แสงอาจสะท้อนกลับไปทั้งหมดโดยไม่เกิดการหักเหเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การสะท้อนกลับทั้งหมด หลักการนี้ใช้ประโยชน์ในอุปการณ์ทางแสง เช่น ใยแก้วนำแสง เป็นต้น[1] การหักเหสองแนว อาจเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเดินทางผ่านตัวกลางแอนไอโซทรอปิก[4]
กฎของสเน็ล
แก้กฎของสแน็ลเป็นกฎที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วการแผ่ของคลื่นที่เดินทางผ่านตัวกลางสองตัว กับมุมตกกระทบ และมุมหักเห ให้ความเร็วคลื่นในตัวกลาง A เป็น ความเร็วคลื่นในตัวกลาง B เป็น มุมตกกระทบจากตัวกลาง A ถึงตัวกลาง B เป็น มุมตกกระทบจากตัวกลาง B ถึงตัวกลาง A เป็น แล้วจะได้ความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้
ในที่นี้ คือดรรชนีหักเห ของตัวกลาง B เทียบกับตัวกลาง A
สมการแฟรแนล
แก้สมการแฟรแนล เป็นสมการที่อธิบายลักษณะการสะท้อนและหักเหของแสงที่ส่วนรอยต่อระหว่างตัวกลาง เมื่อแสงแผ่จากตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหเป็น ไปยังตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหเป็น โดยแนวการตกกระทบตั้งฉากกับส่วนรอยต่อของตัวกลาง ความเข้มของแสงสะท้อนเมื่อ จะคำนวณจากความเข้มของแสงที่ตกกระทบ เป็น [5]
ถ้าแสงที่ตกกระทบเป็นแสงโพลาไรซ์ โดยมุมตกกระทบเป็น และมุมสะท้อนเป็น ในกรณีที่ทิศทางขององค์ประกอบสนามไฟฟ้าภายในคลื่นแสงอยู่ในแนวตั้งฉากกับระนาบการหักเห จะได้ว่า
สำหรับกรณีที่ทิศทางขององค์ประกอบสนามไฟฟ้าขนานกับระนาบการหักเหจะได้ว่า
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
แก้การหักเหของแสงทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางแสงมากมาย เช่น รุ้งกินน้ำ มิราจ ทรงกลด ฯลฯ ส่วนตัวอย่างปรากฏการณ์จากการหักเหของคลื่นเสียง เช่น ในบางสภาพอากาศจะได้ยินเสียงรถไฟทีอยู่ห่างไกลชัดเจนขึ้นมา ซึ่งอธิบายได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าเกิดการผกผันของชั้นบรรยากาศขึ้นบนท้องฟ้า และ อัตราเร็วของเสียงในอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำจะลดลง ดังนั้นคลื่นเสียงที่เดินทางขึ้นด้านบนจะถูกหักเหและกลับสู่พื้นดินอีกครั้ง[1]
อุปกรณ์
แก้- เลนส์ - เลนส์นูนจะหักเหแสงที่ผ่านเข้ามาและรวมแสงไว้ที่จุดเดียว ส่วนเลนส์เว้าจะหักเหแสงและทำให้ไปในทางขนานกัน เพื่อให้ผู้สังเกตเห็นภาพที่ขยายหรือย่อจากภาพจริง ถูกใช้ใน กล้องถ่ายภาพ, กล้องจุลทรรศน์, กล้องโทรทรรศน์, แว่นตา, ฯลฯ[1]
- ปริซึม - อาศัยการที่ดรรชนีหักเหของแสงจะต่างกันไปตามความยาวคลื่น ทำให้เกิดการกระจายของแสง เกิดเป็นสเปกตรัมสีรุ้งกินน้ำ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 斉藤晴男 兵藤申一 (1993年). 高等学校 物理IB. 啓林館.
- ↑ R. P. Feynman "Space-Time Approach to Non-Relativistic Quantum Mechanics" Rev. Mod. Phys. 20 (1948) 367.
- ↑ R. P. Feynman "Space-Time Approach to Quantum Electrodynamics" Phys. Rev. 76, (1949) pp.769-89
- ↑ "複屈折とは". ユニオプト株式会社. สืบค้นเมื่อ 2017-01-02.
- ↑ "フレネルの反射公式". コトバンク. สืบค้นเมื่อ 2017-01-01.