เฮเลน โกลก
เฮเลน โกลก (อักษรโรมัน: Helen Gloag; 29 มกราคม ค.ศ. 1750– ค.ศ. 1790) เป็นหญิงสามัญชาวเพิร์ธเชอร์ในสกอตแลนด์ ที่ต่อมาได้เป็นจักรพรรดินีแห่งโมร็อกโก[1]
พระประวัติ
แก้เฮเลน โกลก เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1750 ณ หมู่บ้านเวสเตอร์เพตต์ (Wester Pett) ทางใต้ของหมู่บ้านมูธิล (Muthill) ในเพิร์ธเชอร์[2][3] เป็นธิดาของแอนดรูว์ โกลก (Andrew Gloag) ช่างตีเหล็ก กับแอน เคย์ (Ann Kay) ภริยา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาสี่คน แต่หลังจากที่มารดาเสียชีวิตบิดาก็สมรสใหม่ ซึ่งเฮเลนที่ไม่ถูกกับแม่เลี้ยงจึงตัดสินใจออกจากบ้านขณะอายุเพียง 19 ปี เธอเดินทางจากกรีเน็ก (Greenock) ไปเซาท์แคโรไลนาหวังตั้งต้นชีวิต[4] แต่หลังจากที่เรือออกจากฝั่งเพียงสองสัปดาห์ก็ถูกโจรสลัดบาร์บารีปล้น[2][3]
หลังจากนั้นกลุ่มโจรสลัดได้สังหารลูกเรือที่เป็นชายทั้งหมด ส่วนลูกเรือหญิงถูกส่งไปขายเป็นทาสที่เมืองแอลเจียร์[3] เฮเลน โกลกถูกขายให้กับมหาเศรษฐีชาวโมร็อกโก ก่อนที่เศรษฐีดังกล่าวจะน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเฮเลนแก่สุลต่านมุฮัมมัด บินอับดุลลอฮ์แห่งโมร็อกโก[2] แม้จะเป็นเพียงนางทาสีแต่ด้วยพระสิริโฉมสวยงาม พระเกศาสีแดง และดวงเนตรสีเขียวเป็นที่ต้องพระทัย จึงทรงเก็บไว้สนองพระเดชพระคุณถวายงานในฮาเร็ม แต่ต่อมาองค์สุลต่านได้มีจิตปฏิพัทธ์สนิทสิเน่หา ทรงแต่งตั้งให้เฮเลนเป็นหนึ่งในจตุรชายา และสถาปนาขึ้นเป็นพระชายาเอก[5] มีตำแหน่งเป็นจักรพรรดินีในกาลต่อมา[2][3]
เฮเลนมีโอกาสติดต่อกับเครือญาติในมาตุภูมิโดยพระราชหัตถเลขาติดต่อกับพี่น้องคนหนึ่งที่ชื่อโรเบิร์ต ซึ่งเขาผู้นี้เคยมาโมร็อกโก และนำเรื่องราวของเฮเลนกลับไปเปิดเผยแพร่ที่สกอตแลนด์[2] กล่าวกันว่าเรื่องราวของพระองค์อาจมีส่วนในการที่ทำให้โจรสลัดโมร็อกโกลดจำนวนลง แต่ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการเพิ่มจำนวนเรือรบในน่านน้ำทั้งของอังกฤษและฝรั่งเศสที่มีสถานการณ์ตรึงเครียดตั้งแต่ก่อนสงครามนโปเลียน[2]
หลังการเสด็จสวรรคตของสุลต่านมุฮัมมัด บินอับดุลลอฮ์ในปี ค.ศ. 1970 สุลต่านยาซีด พระราชโอรสที่ประสูติแต่ภริยาท่านอื่นในฮาเร็มได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สุลต่านพระองค์ใหม่นี้ทรงมีส่วนร่วมในการลอบปลงพระชนม์พระราชโอรสสองพระองค์ของสุลต่านองค์ก่อนที่ประสูติแต่เฮเลน[2] และสันนิษฐานว่าเฮเลนอาจถูกลอบปลงพระชนม์ในช่วงสองปีต่อมาอันเป็นห้วงเวลาแห่งความระส่ำระสาย[2]
อ่านเพิ่มเติม
แก้- The Fourth Queen By Debbie Taylor ISBN 1-4000-5376-5[6]
- Perthshire in history and legend By Archie McKerracher ISBN 0-85976-223-8[7]
- The biographical dictionary of Scottish women By Elizabeth Ewan, Sue Innes, Siân Reynolds, Rose Pipes[8]
- The Thistle and the Crescent By Bashir Maan ISBN 1-906134-14-6[9]
- A Gift for the Sultan by Olga Stringfellow
อ้างอิง
แก้- ↑ Lowson, Stephen (29 May 2009). "Day of history to unfold in Muthill museum". Strathearn Herald. สืบค้นเมื่อ 2009-06-23.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 "Helen Gloag: Undiscovered Scotland: The Ultimate Online Guide". Undiscovered Scotland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2009-06-23.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Bruce, Duncan A. (1998). The Mark of the Scots: Their Astonishing Contributions to History, Science, Democracy, Literature, and the Arts (illustrated, annotated ed.). Citadel Press. p. 182. ISBN 9780806520605.
- ↑ Warner, Gerald (30 July 2007). "Helen of Morocco; Beauty: Helen Gloag, above, married the Emperor of Morocco after she was captured by corsairs". Daily Mail. สืบค้นเมื่อ 2009-06-23.
- ↑ Gilchrist, Jim (20 February 2008). "Islam and us". The Scotsman. pp. paragraph 9. สืบค้นเมื่อ 2009-06-23.
- ↑ Taylor, Debbie (2004). The Fourth Queen (reprint ed.). Random House. ISBN 9781400053766.
- ↑ McKerracher, Archie (1988). Perthshire in history and legend. J. Donald. ISBN 9780859762236.
- ↑ Elizabeth Ewan, Sue Innes, Siân Reynolds, Rose Pipes (2006). The biographical dictionary of Scottish women. Edinburgh University Press.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Maan, Bashir (2008). The Thistle and the Crescent (illustrated ed.). Argyll. ISBN 9781906134143.