เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด

เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด บารอนรัทเทอร์ฟอร์ดที่ 1 แห่งเนลสัน (อังกฤษ: Ernest Rutherford, 1st Baron Rutherford of Nelson) หรือที่นิยมเรียกว่า ลอร์ดรัทเทอร์ฟอร์ด เป็นนักฟิสิกส์ชาวบริติชที่เกิดในนิคมนิวซีแลนด์ ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดา" แห่งฟิสิกส์นิวเคลียร์ เขาเป็นผู้บุกเบิกทฤษฎีการโคจรของอะตอม ชื่อของเขาได้นำไปใช้เป็นชื่อธาตุที่ 104 คือ รัทเทอร์ฟอร์เดียม

ท่านลอร์ดรัทเทอร์ฟอร์ดแห่งเนลสัน
นายกราชสมาคม
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1925 – 1930
ก่อนหน้าเซอร์ ชาลส์ สกอต เชอร์ริงตัน
ถัดไปเซอร์เฟรเดอริก กอว์แลนด์ ฮอพกินส์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 สิงหาคม ค.ศ. 1871(1871-08-30)
ไบรท์วอเทอร์, นิคมนิวซีแลนด์
เสียชีวิต19 ตุลาคม ค.ศ. 1937(1937-10-19) (66 ปี)
เคมบริดจ์, ประเทศอังกฤษ
สัญชาติบริติช
เชื้อชาตินิวซีแลนด์
ที่อยู่อาศัยนิวซีแลนด์, สหราชอาณาจักร
ลายมือชื่อ
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์และเคมี

ประวัติ

แก้

เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด เป็นบุตรชายของ เจมส์ รัทเทอร์ฟอร์ด ชาวนาผู้ซึ่งอพยพมาจากเมืองเพิร์ธ ประเทศสกอตแลนด์ กับ มาร์ธา (นามสกุลเดิม ธอมป์สัน) ซึ่งดั้งเดิมอาศัยอยู่ที่เมือง ฮอร์นเชิช เมืองเล็ก ๆ ในแถบตะวันออกของประเทศอังกฤษ บิดามารดาของเขาย้ายมายังประเทศนิวซีแลนด์ เออร์เนสต์ เกิดในเมืองสปริงโกรฟ (ปัจจุบันคือ เมืองไบรท์วอเตอร์) ใกล้กับเมืองเนลสัน ประเทศนิวซีแลนด์ เขาศึกษาในเนลสันคอลเลจ และได้รับทุนการศึกษาเพื่อเรียนในวิทยาลัยแคนเทอร์บรี (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยแห่งแคนเทอร์บรี) ในปี 1895 หลังจากจบการศึกษาด้าน BA, MA และ BSc และใช้เวลา 2 ปีในการทำวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีไฟฟ้า รัทเทอร์ฟอร์ดเดินทางไปยังประเทศอังกฤษเพื่อศึกษาต่อที่ ศูนย์วิจัยคาเวนดิช มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (1895 - 1898) เขาได้รับการบันทึกไว้ในฐานะผู้ค้นพบระยะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในระหว่างการทดลองด้านกัมมันตภาพรังสี เขาเป็นผู้สร้างนิยามของรังสีแอลฟา และบีตา ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกรังสี 2 ชนิดที่ปล่อยออกมาจากทอเรียมและยูเรเนียม เขาค้นพบมันระหว่างการตรวจสอบอะตอม อย่างไรก็ตาม เขาไม่ยอมรับว่าเป็นผู้ค้นพบรังสีแกมมา ซึ่งถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส P.V. Villard ไม่นานหลังรัทเทอร์ฟอร์ดรายงานการค้นพบของเขาเกี่ยวกับการแพร่กระจายของก๊าซกัมมันตภาพรังสี

ในปี 1898 รัทเทอร์ฟอร์ดได้เป็นหัวหน้าด้านฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ในมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ที่ซึ่งเขาสร้างผลงานจนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ในปี 1908

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้