เอมีล ฟิชเชอร์
แฮร์มัน เอมีล ลูอี ฟิชเชอร์ (เยอรมัน: Hermann Emil Louis Fischer FRS FRSE FCS; 9 ตุลาคม ค.ศ. 1852 – 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1919) เป็นนักเคมีชาวเยอรมันและผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน ค.ศ. 1902 เขาค้นพบเอสเทอริฟิเคชันของฟิชเชอร์ นอกจากนี้เขายังพัฒนาฟิชเชอร์โพรเจกชันซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำหรับการวาดอะตอมของคาร์บอนที่ไม่สมมาตร เขาไม่เคยใช้ชื่อตัวชื่อแรก (แฮร์มัน) และเป็นที่รู้จักมาตลอดชีวิตในชื่อเอมีล ฟิชเชอร์[2][3][4][5]
เอมีล ฟิชเชอร์ | |
---|---|
![]() | |
เกิด | แฮร์มัน เอมีล ลูอี ฟิชเชอร์ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1852 อ็อยส์เคียร์เชิน เขตไรน์ |
เสียชีวิต | 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1919 เบอร์ลิน เยอรมนี | (66 ปี)
สัญชาติ | เยอรมัน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยบ็อน มหาวิทยาลัยสทราซบูร์ |
มีชื่อเสียงจาก | การศึกษาน้ำตาลและพิวรีน |
รางวัล |
|
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | เคมี |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยมิวนิก (1875–1881) มหาวิทยาลัยแอร์ลังเงิน (1881–1888) มหาวิทยาลัยเวือทซ์บวร์ค (1888–1892) มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (1892–1919) |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | อาด็อล์ฟ ฟ็อน ไบเออร์ |
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก | อัลเฟรท ชต็อค อ็อทโท ดีลส์ อ็อทโท รุฟ วอลเทอร์ เอ. เจคอบส์ ลูทวิช คนอร์ อ็อสคาร์ พีโลที ยูลีอุส ทาเฟิล |
ช่วงต้นแก้ไข
ฟิชเชอร์เกิดที่เมืองอ็อยส์เคียร์เชิน ใกล้กับโคโลญ เป็นลูกของเลาเร็นทซ์ ฟิชเชอร์ นักธุรกิจ และยูเลีย เพินส์เกิน ภรรยาของเขา หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาต้องการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ แต่พ่อของเขาบังคับให้เขาทำงานในธุรกิจของครอบครัวจนกระทั่งเห็นว่าลูกชายของเขาไม่เหมาะ ต่อมาฟิชเชอร์เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยบ็อนใน ค.ศ. 1871 แต่ย้ายไปที่มหาวิทยาลัยสทราซบูร์ใน ค.ศ. 1872[6] เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกใน ค.ศ. 1874 จากการศึกษาเกี่ยวกับเทลิอีน (phthalein) ภายใต้การดูแลของอาด็อล์ฟ ฟ็อน ไบเออร์[6] และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในมหาวิทยาลัย
การวิจัยแก้ไข
ฟิชเชอร์เป็นที่รู้จักเป็นพิเศษจากผลงานที่เกี่ยวกับน้ำตาล: ในบรรดาผลงานอื่น ๆ การสังเคราะห์ D-(+)-กลูโคส[7] และพิวรีน (รวมถึงการสังเคราะห์กาเฟอีนครั้งแรก)
ฟิชเชอร์ยังมีบทบาทในการค้นพบบาร์บิเชอริต ซึ่งเป็นยาระงับประสาทที่ใช้สำหรับการนอนไม่หลับ โรคลมชัก ความวิตกกังวล และการระงับความรู้สึก เขามีส่วนช่วยในการเปิดตัวยากล่อมประสาทบาร์บิเชอริตเป็นครั้งแรกร่วมกับโยเซ็ฟ ฟ็อน เมริง แพทย์ชาวเยอรมัน ใน ค.ศ. 1904
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Fellows of the Royal Society". London: Royal Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-16.
- ↑ Horst Kunz (2002). "Emil Fischer – Unequalled Classicist, Master of Organic Chemistry Research, and Inspired Trailblazer of Biological Chemistry". Angewandte Chemie International Edition. 41 (23): 4439–4451. doi:10.1002/1521-3773(20021202)41:23<4439::AID-ANIE4439>3.0.CO;2-6. PMID 12458504.
- ↑ Lichtenthaler, F. W. (1992). "Emil Fischers Beweis der Konfiguration von Zuckern: eine Würdigung nach hundert Jahren". Angewandte Chemie. 104 (12): 1577–1593. doi:10.1002/ange.19921041204.
- ↑ Forster, Martin Onslow (1 January 1920). "Emil Fischer memorial lecture". Journal of the Chemical Society, Transactions. 117: 1157–1201. doi:10.1039/CT9201701157.
- ↑ Biography Biography of Fischer from Nobelprize.org website
- ↑ 6.0 6.1 Farber, Eduard (1970–1980). "Fischer, Emil Hermann". Dictionary of Scientific Biography. 5. New York: Charles Scribner's Sons. pp. 1–5.
- ↑ Fischer, Emil (1890). "Synthese des Traubenzuckers". Berichte der deutschen chemischen Gesellschaft. 23: 799–805. doi:10.1002/cber.189002301126.