เอดูเคชันออฟเดธ

เอดูเคชันฟอร์เดธ: เดอะเมคกิงออฟเดอะนาซี (อังกฤษ: Education for Death: The Making of the Nazi) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่มีเนื้อหาโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งผลิตโดยวอลต์ดิสนีย์โปรดักชันและเผยแพร่ในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1943 โดยอาร์เคโอเรดิโอพิกเจอร์ส (RKO Radio Pictures) กำกับโดยไคลด์ เจอโรนีมี และร่วมทำแอนิเมชันโดยวาร์ด คิมบอลล์ ภาพยนตร์สั้นนี้มีรากฐานจากหนังสือที่มีชื่อเดียวกัน[2]ที่เขียนโดยเกรกอร์ ซีเมอร์ (Gregor Ziemer) ตัวภาพยนตร์ได้กล่าวถึงเรื่องราวของฮันส์ เด็กชายที่เกิดและเติบโตในนาซีเยอรมัน การถูกปลูกฝังในยุวชนฮิตเลอร์ และการเข้าร่วมสงคราม

เอดูเคชันออฟเดธ
กำกับไคลด์ เจอโรนีมี
เขียนบทโจ แกรนต์
สร้างจากEducation for Death: The Making of the Nazi
โดย เกรกอร์ ซีเมอร์
อำนวยการสร้างวอลต์ ดิสนีย์
ผู้บรรยายอาร์ต สมิธ
ดนตรีประกอบโอลิเวอร์ วอลเลซ
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายอาร์เคโอเรดิโอพิกเจอร์ส
วันฉาย15 มกราคม ค.ศ. 1943 (1943-01-15)
ความยาว10 นาที[1]
ประเทศสหรัฐ
ภาษา
  • อังกฤษ (ผู้บรรยาย)
  • เยอรมัน (ตัวละคร)


ความสัมพันธ์กับหนังสือของซีเมอร์ แก้

เกรกอร์ ซีเมอร์ เป็นนักเขียนและนักศึกษาชาวอเมริกันที่อาศัยในประเทศเยอรมันในปีค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1939 เขาได้แต่งหนังสือเรื่อง เอดูเคชันฟอร์เดธ หลังจากหนีออกจากประเทศเยอรมันในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2

ในเนื้อเรื่องนี้ได้กล่าวถึงกลุ่มของเด็กหนุ่มที่ถูกชี้นำโดยทหารนาซีที่มีชื่อว่า ฟรันเซ็น โดยให้พวกเด็ก ๆ เดินเท้าเข้าไปในป่า จนกระทั่งเวลากลางคืน เขาได้จดว่า "กองทัพควรทำให้เผ่าพันธุ์มนุษย์บริสุทธิ์ และทำพิธีกรรมที่ 'ทำให้เราประทับใจว่า ไฟและการทำลายล้างจะเกิดแก่ใครก็ตามที่คิดไม่เหมือนกับเรา'" ฟรานเซ็นได้นำหนังสือหกเล่มมา ได้แก่: ทัลมุด, อัลกุรอาน, ผลงานของวิลเลียม เชกสเปียร์, สนธิสัญญาแวร์ซาย, ชีวประวัติของโจเซฟ สตาลิน และคำภีร์ไบเบิล. หนังสือเหล่านี้ถูกส่งไปรอบวงกลม และเด็กแต่ละคนก็จะฉีกหนังสือทุกเล่ม แล้วนำมาคืนให้แก่ฟรันเซ็น ซึ่งเขาได้ราดน้ำมันก๊าดแล้วจุดไฟเผาหนังสือทุกเล่ม จากนั้นพวกทหารจึงร้องเพลง "ดัสลีทแดร์ด็อยท์เชิน" และฮอสท์-เว็สเซิล-ลีทรอบกองไฟ[3]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "EDUCATION FOR DEATH (A)". British Board of Film Classification. February 25, 1943. สืบค้นเมื่อ July 16, 2015.
  2. Gregor Ziemer (1941). Education for Death: The Making of the Nazi. ISBN 0-374-98905-2
  3. Fishburn, Matthew (2007). "Books Are Weapons: Wartime Responses to the Nazi Bookfires of 1933" (PDF). Book History. Pennsylvania State University Press. 10: 223–251. doi:10.1353/bh.2007.0004. ISSN 1098-7371.

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม แก้