เตาฮีด (อาหรับ: توحيد หมายถึง "ความเป็นอันเดียวกันหรือความเป็นเอกะของพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม (อาหรับ: الله, อัลลอฮ์)") เป็นแนวคิดความเป็นเอกะต่อสิ่งที่มองไม่เห็นตามหลักเอกเทวนิยมในศาสนาอิสลาม[2] เตาฮีดเป็นศูนย์กลางและแนวคิดสำคัญที่สุดของศาสนา ซึ่งการยึดมั่นมุสลิมทั้งหมด หลักการนี้มีอย่างแจ่มแจ้งว่าพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม (الله, อัลลอฮ์) มีแค่องค์เดียว (อัลอะฮัด) และเป็นเอกะ (อัลวาฮิด)[3][4]

ภาพการชูนิ้วชี้มีหลายความหมาย มุสลิมส่วนใหญ่มองว่าเป็นสัญลักษณ์เตาฮีด[1]

เตาฮีดถือเป็นหลักสำคัญที่สุดในการยอมรับความนับถือของมุสลิม[5] ส่วนแรกคือชะฮาดะฮ์ (การประกาศความเชื่อศาสนาอิสลาม) เป็นการประกาศความเชื่อในความเป็นเอกะของพระเจ้า[3] การให้สิ่งใดหรือใครก็ตามเป็นพระเจ้า ถือเป็น ชิรก์ – ถ้าผู้กระทำไม่ได้ขออภัยโทษในภายหลัง ตามอัลกุรอานแล้วเป็นบาปที่อภัยไม่ได้[6][7] มุสลิมเชื่อว่าหลักคำสอนอิสลามทั้งหมดมาจากหลักการเตาฮีด[8]

จากจุดยืนของศาสนาอิสลามที่เป็นเอกเทวนิยมอย่างแน่วแน่ในใจความหลักของความเชื่อในอิสลาม (อะกีดะฮ์) ซึ่งแยกศาสนาอิสลามจากศาสนาส่วนใหญ่[9] ที่มากไปกว่านั้น หลักเตาฮีดไม่ใช้แค่ห้ามมุสลิมสักการะพระเจ้าหลายองค์เท่านั้น แต่ยังสละความต้องการเงิน สถานะทางสังคม หรืออัตตานิยมด้วย[10]

ในอัลกุรอานยืนยันถึงการมีตัวตนของสิ่งเดียวและเป็นความจริงที่อยู่เหนือโลก สิ่งที่ไม่เหมือนใคร, มีอิสระ และไม่สามารถแบ่งแยกได้[11] พระผู้เป็นเจ้า ในศาสนาอิสลาม เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลกมากกว่าพระเจ้าในท้องที่, ชนเผ่า หรือเขตทางศาสนา—พระเจ้าเป็นผู้ที่สมบูรณ์แบบและไม่ยอมรับความชั่วใด ๆ ทั้งสิ้น (brooks no evil)[6]

บทที่ 112 จากอัลกุรอาน ชื่อว่าอัลอิคลาศ กว่าวถึงเรื่องนี้ว่า:

จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด): "พระองค์คืออัลลอฮ์ผู้ทรงเอกะ
อัลลอฮ์นั้นทรงเป็นที่พึ่ง
พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ
และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์"[12]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Symbolism, MENA (2019-03-22). "The index finger". MENA symbolism (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-03.
  2. "From the article on Tawhid in Oxford Islamic Studies Online". Oxfordislamicstudies.com. 2008-05-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-20. สืบค้นเมื่อ 2014-08-24.
  3. 3.0 3.1 "Allah". Encyclopædia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 2008-05-28.
  4. "The Fundamentals of Tawhid (Islamic Monotheism)". ICRS (Indonesian Consortium of Religious Studies. 2010-10-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-20. สืบค้นเมื่อ 2015-10-28.
  5. D. Gimaret, Tawhid, Encyclopedia of Islam
  6. 6.0 6.1 Asma Barlas (2002), p. 96
  7. Wahhab, Abd Al. "Chapter 4, Fear of Shirk". Kitab Al Tawheed. Darussalam.
  8. Tariq Ramadan (2005), p. 203
  9. Turner (2006), p. 75
  10. Chris, Rojek (2012-01-05). Fame Attack: The Inflation of Celebrity and Its Consequences. London: A&C Black. p. 114. ISBN 9781849668040. OCLC 774293531.
  11. Vincent J. Cornell, Encyclopedia of Religion, Vol 5, pp. 3561-3562
  12. "Surah Al-Ikhlas [112]". Surah Al-Ikhlas [112] (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-23.

อ่านเพิ่ม แก้

สารานุกรม

หนังสือ

Journal articles

แหล่งข้อมูลอื่น แก้