เวอร์จิเนีย วูล์ฟ

เวอร์จิเนีย วูล์ฟ (อังกฤษ: Virginia Woolf (ชื่อเดิม Adeline Virginia Stephen)) (25 มกราคม ค.ศ. 1882 - 28 มีนาคม ค.ศ. 1941) เป็นนักเขียนนวนิยาย, เรื่องสั้น และ บทความ, นักพิมพ์ และผู้สนับสนุนสิทธิสตรี (feminist) ชาวอังกฤษคนสำคัญ วูล์ฟถือกันว่าเป็นนักเขียนผู้มีบทบาทสำคัญของวรรณกรรมสมัยใหม่นิยมของคริสต์ศตวรรษที่ 20 คนหนึ่ง และเป็นผู้ริเริ่มใช้แนววิธีการเขียนตามกระแสสำนึก(stream of consciousness)ในการเล่าเรื่อง

เวอร์จิเนีย วูล์ฟ
Virginia Woolf
เกิด25 มกราคม ค.ศ. 1882
ลอนดอน, สหราชอาณาจักร
เสียชีวิต28 มีนาคม ค.ศ. 1941
อีสต์ซัสเซ็กซ์, สหราชอาณาจักร
สัญชาติชาวอังกฤษ
อาชีพนักเขียน
ยุคสมัยนักเขียนนวนิยาย และ บทความ, นักพิมพ์ และผู้สนับสนุนสิทธิสตรี
ผลงานเด่นTo the Lighthouse
Mrs Dalloway
Orlando: A Biography
A Room of One's Own
ตำแหน่งนักเขียน
คู่สมรสเลนนาร์ด วูล์ฟ
นักเขียนชาวอังกฤษ

ระหว่างสมัยสองสงครามโลก วูล์ฟเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในวงการวรรณกรรมของลอนดอนและเป็นสมาชิกคนหนึ่งของ “กลุ่มบลูมสบรี” (Bloomsbury group) ซึ่งเป็นกลุ่มนักเขียน, ปัญญาชน และศิลปินที่ก่อตัวขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ

งานชิ้นสำคัญ ๆ ของวูล์ฟก็ได้แก่นวนิยาย “Mrs Dalloway” (ค.ศ. 1925), “To the Lighthouse” (ค.ศ. 1927) และ “Orlando: A Biography” (ค.ศ. 1928) และบทความขนาดหนังสือ “A Room of One's Own” (ค.ศ. 1929) ที่มีประโยคที่เป็นที่รู้จักว่า “ผู้หญิงต้องมีเงินและห้องที่เป็นของตนเองถ้าจะเขียนนวนิยาย”

ประวัติ แก้

เบื้องต้น แก้

ชื่อเมื่อแรกเกิดของเวอร์จิเนีย วูล์ฟคืออเดลีน เวอร์จิเนียร์ สตีเฟน วูล์ฟ ผู้เกิดในลอนดอนเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1882 เป็นบุตรีของสตรีผู้มีความงามอันเลื่องชื่อ จูเลีย พรินเซ็พ สตีเฟน (ค.ศ. 1846–ค.ศ. 1895) จูเลียเกิดในบริติชอินเดีย เป็นบุตรีของด็อคเตอร์จอห์นและมาเรีย แพทเทิล แจ็คสัน ต่อมาย้ายกลับมาอังกฤษกับแม่มาเป็นนางแบบให้แก่ศิลปินในกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์ เช่น เอ็ดเวิร์ด เบิร์น โจนส์[1] บิดาของวูล์ฟ เซอร์เลสลี สตีเฟน เป็นนักประพันธ์มีชื่อ, นักวิพากษ์วรรณกรรม และนักปีนเขา[2] วูล์ฟได้รับการศึกษาได้รับการศึกษาโดยบิดามารดาผู้เป็นผู้มีความรู้ดี และเป็นผู้มีเส้นสายการติดต่อในสังคมดี ทั้งบิดาและมารดาสมรสและเป็นพ่อหม้ายแม่หม้ายมาก่อนที่จะมาสมรสกัน ฉะนั้นครอบครัวของวูล์ฟจึงมีพี่น้องจากสามครอบครัว จูเลียมีบุตรธิดาสามคนกับเฮอร์เบิร์ต ดัควูด สามีคนแรก: จอร์จ, สเตลลา และ เจอราลด์ ดัควูด ส่วนบิดาสมรสกับมินนี แธคเคอเรย์ และมีบุตรีด้วยกันคนหนึ่ง: ลอรา เมคพีส สตีเฟนผู้มีความพิการทางสติปัญญา (Developmental disability) และอยู่กับครอบครัวจนเมื่อถูกส่งตัวไปยังสถาบันสำหรับผู้พิการในปี ค.ศ. 1891[3] เลสลีและจูเลียมีบุตรธิดาด้วยกันสี่คน: วาเนสสา สตีเฟน (ค.ศ. 1879), โทบี สตีเฟน (ค.ศ. 1880), เวอร์จิเนีย (ค.ศ. 1882) และ เอเดรียน สตีเฟน (ค.ศ. 1883)

 
จูเลีย พรินเซ็พ สตีเฟน วาดโดย เอ็ดเวิร์ด เบิร์น โจนส์, ค.ศ. 1866
 
เวอร์จิเนียและบิดา เซอร์เลสลี

เซอร์เลสลีเป็นบรรณาธิการ, นักวิพากษ์วรรณกรรม และนักเขียนชีวประวัติผู้มีชื่อ และการมีความเกี่ยวข้องกับวิลเลียม แธคเคอเรย์ (บิดาของภรรยาคนแรก) ทำให้ครอบครัวเติบโตขึ้นมาในสิ่งแวดล้อมของสังคมวรรณกรรมที่มีอิทธิพลของสมัยวิคตอเรีย นักเขียน เฮนรี เจมส์, จอร์จ เฮนรี หลุยส์, จูเลีย มากาเร็ต คาเมรอน และ เจมส์ รัสเซลล์ โลเวลล์ ผู้เป็นพ่อทูลหัวของเวอร์จิเนีย เป็นนักเขียนบางคนที่มาเป็นแขกของครอบครัว จูเลียเองก็มีเส้นสายการติดต่อในสังคมดี และเป็นผู้มีความงดงามพอที่จะเป็นแบบให้จิตรกรพรีราฟาเอลไลท์และช่างถ่ายภาพสมัยแรก นอกจากสิ่งแวดล้อมดังกล่าวแล้ว เวอร์จิเนียและวาเนสสาก็ยังล้อมรอบไปด้วยห้องสมุดขนาดใหญ่ในบ้านของตนเองและได้รับการศึกษาด้านคลาสสิกและวรรณคดีอังกฤษที่บ้าน ซึ่งต่างจากพี่และน้องชายผู้ได้รับการศึกษาในสถาบันการศึกษาอย่างเป็นทางการ

จากบันทึกความทรงจำของวูล์ฟ ความจำแรกที่ฝังใจเมื่อยังเด็กไม่ใช่ความทรงจำของลอนดอน แต่เป็นหมู่บ้านชายทะเล เซนต์ไอฟ์สในคอร์นวอลล์ที่ครอบครัวไปใช้เวลาระหว่างฤดูร้อนทุกปีที่นั่นมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1895 เรือนฤดูร้อนของครอบครัวสตีเฟน “บ้านทาลลาร์ด” ตั้งอยู่เหนืออ่าวพอธมินสเตอร์และยังคงตั้งอยู่จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ความทรงจำของช่วงเวลาการพักร้อนของครอบครัว และภูมิทัศน์ของคอร์นวอลล์ โดยเฉพาะประภาคารโกโดรฟวีมามีอิทธิพลต่องานเขียนของวูล์ฟต่อมา โดยเฉพาะในนวนิยายเรื่อง “To the Lighthouse” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1927)

การเสียชีวิตอย่างกะทันหันของมารดาในปี ค.ศ. 1895 เมื่อวูล์ฟมีอายุเพียง 13 ปีและของสเตลลาน้องสาวต่างมารดาสองปีต่อมา ทำความกระทบกระเทือนทางจิตใจให้แก่วูล์ฟจนทำให้เกิดความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ (nervous breakdown) เป็นครั้งแรก เมื่อบิดาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1904 ก็ยิ่งส่งความกระทบกระเทือนซ้ำซ้อนจนทำให้วูล์ฟต้องถูกส่งตัวไปรักษายังสถานบำบัดผู้เป็นโรคจิตอย่างเป็นทางการ[3]

นักวิชาการสมัยใหม่วินิจฉัย[4] ว่าอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความป่วยทางอารมณ์และจิตใจ และมีอารมณ์ซึมเศร้าที่เกิดขึ้นเป็นช่วง อาจจะมาจากการถูกทำร้ายทางเพศ (Sexual abuse) ที่ทั้งวูล์ฟและพี่สาวได้รับจากพี่ชายต่างมารดา จอร์จและเจอราลด์ (ที่วูล์ฟกล่าวถึงในบทเขียนอัตชีวประวัติ “A Sketch of the Past” และ “22 Hyde Park Gate”)

วูล์ฟได้รับความทรมานจากอาการป่วยทางอารมณ์ของอารมณ์ผันผวน (mood swing) และอาการอื่นที่เกี่ยวข้องตลอดชีวิต แม้ว่าจะขาดความมั่นคงทางอารมณ์ที่มักจะมีผลต่อความสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น แต่งานเขียนของวูล์ฟก็แทบจะมิได้หยุดยั้งลงจนกระทั่งเมื่อมาเสียชีวิตโดยการฆ่าตัวตายเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1941

งานเขียน แก้

นวนิยาย แก้

  • The Voyage Out (1915)
  • Night and Day (1919)
  • Jacob's Room (1922)
  • Mrs Dalloway (1925) แปลโดย ดลสิทธิ์ บางคมบาง ในชื่อ "คุณนายดัลโลเวย์" สำนักพิมพ์ชมนาด ปี 2550

รวมเรื่องสั้น แก้

นวนิยายเชิงชีวประวัติ แก้

  • Orlando: A Biography (1928, มักจะจัดเป็น นวนิยาย ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากไวตา แซ็ควิลล์-เวสต์)
  • Flush: A Biography (1933, งานคาบระหว่าง นวนิยาย และ กระแสสำนึก เล่าโดยสุนัขชื่อฟลัช; ไม่จัดว่าเป็นนวนิยายตรงที่เล่าเรื่องของเจ้าของสุนัขเอลิซาเบธ บาร์เร็ทท์ บราวนิง)
  • Roger Fry: A Biography (1940, มักจะไม่จัดว่าเป็นนวนิยายแต่ความสามารถทางการเขียนนวนิยายของวูล์ฟเป็นอุปสรรคต่อการเขียนชีวประวัติอย่างสารคดี[5])

สารคดี แก้

  • Modern Fiction (1919)
  • The Common Reader (1925)
  • A Room of One's Own (1929)
  • On Being Ill (1930)
  • The London Scene (1931)
  • The Common Reader: Second Series (1932)
  • Three Guineas (1938)
  • The Death of the Moth and Other Essays (1942)
  • The Moment and Other Essays (1947)
  • The Captain's Death Bed And Other Essays (1950)
  • Granite and Rainbow (1958)
  • Books and Portraits (1978)
  • Women And Writing (1979)
  • Collected Essays (สี่เล่ม)

บทละคร แก้

  • Freshwater: A Comedy (แสดงในปี 1923, ปรับปรุงในปี 1935, และพิมพ์ในปี 1976)

งานเขียนอัตชีวประวัติและอนุทิน แก้

  • A Writer’s Diary (1953) - บทคัดจากอนุทิน
  • Moments of Being (1976)
  • A Moment's Liberty: the shorter diary (1990)
  • The Diary of Virginia Woolf (five volumes) - อนุทินระหว่างปี 1915 ถึง 1941
  • Passionate Apprentice: The Early Journals, 1897-1909 (1990)
  • Travels With Virginia Woolf (1993) - บันทึกการเดินทางไปกรีซ
  • The Platform of Time: Memoirs of Family and Friends, ฉบับขยาย, ตรวจสอบโดย S. P. Rosenbaum (London, Hesperus, 2008)

จดหมาย แก้

  • Congenial Spirits: The Selected Letters (1993)
  • The Letters of Virginia Woolf 1888-1941 (หกเล่ม, 1975-1980)
  • Paper Darts: The Illustrated Letters of Virginia Woolf (1991)

อ้างอิง แก้

  1. "Smith College libraries biography of Julia Prinsep Stephen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-20. สืบค้นเมื่อ 2009-11-13.
  2. Alan Bell, ‘Stephen, Sir Leslie (1832–1904)’, Oxford Dictionary of National Biography, Oxford University Press, Sept 2004; online edn, May 2006
  3. 3.0 3.1 Robert Meyer, 1998, Case Studies in Abnormal Behaviour, Allyn and Bacon
  4. Bell 1996: 44
  5. Frances Spalding (ed.), Virginia Woolf: Paper Darts: the Illustrated Letters, Collins & Brown, 1991, (ISBN 1-85585-046-X) (hb) & (ISBN 1-85585-103-2) (pb), pp. 139-140

บรรณานุกรม แก้

  • Virginia Woolf by Nigel Nicolson. New York, Penguin Group. 2000
  • Virginia Woolf: A Biography by Quentin Bell. New York, Harcourt Brace Jovanovich, 1972; Revised editions 1990, 1996
  • "Vanessa and Virginia" by Susan Sellers (Two Ravens, 2008; Harcourt 2009) [Fictional biography of Woolf and her sister Vanessa Bell]
  • The Unknown Virginia Woolf by Roger Poole. Cambridge UP, 1978.
  • The Invisible Presence: Virginia Woolf and the Mother-Daughter Relationship by Ellen Bayuk Rosenman. Louisiana State University Press, 1986.
  • Virginia Woolf and the politics of style, by Pamela J. Transue. SUNY Press, 1986. ISBN 0-88706-286-5.
  • The Victorian heritage of Virginia Woolf: the external world in her novels, by Janis M. Paul. Pilgrim Books, 1987. ISBN 0-937664-73-1.
  • Virginia Woolf's To the lighthouse, by Harold Bloom. Chelsea House, 1988. ISBN 1-55546-034-8.
  • Virginia Woolf: the frames of art and life, by C. Ruth Miller. Macmillan, 1988. ISBN 0-333-44880-4.
  • Virginia Woolf: The Impact of Childhood Sexual Abuse on Her Life and Work by Louise DeSalvo. Boston: Little Brown, 1989
  • A Virginia Woolf Chronology by Edward Bishop. Boston: G.K. Hall & Co., 1989.
  • A Very Close Conspiracy: Vanessa Bell and Virginia Woolf by Jane Dunn. Boston: Little, Brown, 1990
  • Virginia Woolf: A Writer's Life by Lyndall Gordon. New York: Norton, 1984; 1991.
  • Virginia Woolf and war, by Mark Hussey. Syracuse University Press, 1991. ISBN 0-8156-2537-5.
  • The Flight of the Mind: Virginia Woolf's Art and Manic-Depressive Illness by Thomas D. Caramago. Berkeley: U of California Press, 1992
  • Virginia Woolf by James King. NY: W.W. Norton, 1994.
  • Art and Affection: A Life of Virginia Woolf by Panthea Reid. New York: Oxford UP, 1996.
  • Virginia Woolf by Hermione Lee. New York: Knopf, 1997.
  • Granite and Rainbow: The Hidden Life of Virginia Woolf by Mitchell Leaska. New York: Farrar, Straus and Giroux, 1998.
  • The Feminist Aesthetics of Virginia Woolf, by Jane Goldman. Cambridge University Press, 2001. ISBN 0-521-79458-7.
  • Virginia Woolf and the nineteenth-century domestic novel, by Emily Blair. SUNY Press, 2002. ISBN 0-7914-7119-5.
  • Virginia Woolf: becoming a writer, by Katherine Dalsimer. Yale University Press, 2002. ISBN 0-300-09208-3.
  • Virginia Woolf: The Will to Create as a Woman by Ruth Gruber. New York: Carroll & Graf Publishers, 2005
  • My Madness Saved Me: The Madness and Marriage of Virginia Woolf by Thomas Szasz, 2006
  • Virginia Woolf: An Inner Life, by Julia Briggs. Harcourt, 2006. ISBN 0-15-603229-5.
  • The Bedside, Bathtub and Armchair Companion to Virginia Woolf and Bloomsbury by Sarah M. Hall, Continuum Publishing, 2007
  • Virginia Woolf and the Visible World, by Emily Dalgarno. Cambridge University Press, 2007. ISBN 0-521-03360-8,.
  • A Life of One's Own: A Guide to Better Living through the Work and Wisdom of Virginia Woolf by Ilana Simons, New York: Penguin Press, 2007

แหล่งข้อมูลอื่น แก้