เลอเปอตีปารีเซียง

เลอเปอตีปารีเซียง (ฝรั่งเศส: Le Petit Parisien) เป็นหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงในช่วงสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ตีพิมพ์ระหว่าง ค.ศ. 1876 ถึง ค.ศ. 1944 และมียอดจำหน่ายมากกว่า 2 ล้านฉบับหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

เลอเปอตีปารีเซียง
ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน
ขนาดหนังสือพิมพ์แผ่นใหญ่
ก่อตั้งเมื่อค.ศ. 1876
ฉบับสุดท้ายค.ศ. 1944
สำนักงานใหญ่ปารีส
ยอดจำหน่ายมากกว่า 2,000,000 ฉบับ (คริสต์ทศวรรษ 1920)
หน้า 1 ฉบับวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1939 พาดหัวข่าวการประกาศสงครามต่อเยอรมนีของฝรั่งเศส 3 วันหลังเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2

การตีพิมพ์ แก้

หนังสือพิมพ์ เลอเปอตีปารีเซียง ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วฝรั่งเศส และมีบันทึกระบุว่ามียอดจำหน่ายมากที่สุดในโลกในเวลานั้น[1] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1927 เลอเปอตีปารีเซียง ตกเป็นเหยื่อการแกล้งสื่อที่ฌ็อง-ปอล ซาทร์ และเพื่อน ๆ ของเขาจัดฉากขึ้น โดยพวกเขาประกาศว่าชาลส์ ลินด์เบิร์ก จะได้รับรางวัลนักศึกษาเกียรตินิยมจากเอกอลนอร์มาลซูว์เปรีเยอร์[2] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เลอเปอตีปารีเซียง ซึ่งมีโกลด ฌ็องแต เป็นบรรณาธิการใหญ่ ได้กลายเป็นกระบอกเสียงอย่างเป็นทางการของระบอบวีชี และใน ค.ศ. 1944 ก็ได้รับการตีพิมพ์เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ในเยอรมนีนาซีก่อนปิดตัวลง[3]

ภูมิหลัง แก้

ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เน้นเนื้อหาการเมือง เช่น ลาแพร็ส ของปารีส เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมืองเพื่อที่จะทำกำไร อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้นำไปสู่การวางแผนสร้างความสนใจเพื่อเพิ่มยอดขาย การก่อตั้งหนังสือพิมพ์ เลอมาแต็ง ของโจเซฟ พูลิตเซอร์ เป็นแรงบันดาลใจให้แก่วงการหนังสือพิมพ์รูปแบบใหม่ เป็นจุดเริ่มต้นของ เลอเปอตีฌูร์นาล และ เลอเปอตีปารีเซียง ซึ่งผลักดันวงการหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสไปสู่สื่อมวลชน หนังสือพิมพ์เหล่านี้นำเสนอข่าวที่น่าตื่นเต้นมากกว่าที่จะอาศัยการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง หมายความว่าพวกเขายังสามารถเลี่ยงภาษีที่จัดเก็บจากหนังสือพิมพ์การเมืองส่วนใหญ่ ตามรูปแบบใหม่นี้ การรายงานในหัวข้อต่าง ๆ เช่น การเงิน แฟชั่น กำหนดเป้าหมายผู้อ่านไว้ที่ชนชั้นกลางถึงชนชั้นล่าง การดึงดูดประชากรกลุ่มนี้ส่งผลให้ เลอเปอตีปารีเซียง เข้าถึงผู้คนนับล้าน[4]

อ้างอิง แก้

  1. (ในภาษาฝรั่งเศส) Fonds du Petit Parisien, Archives nationales (French national archives) เก็บถาวร 29 กันยายน 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Hayman, Ronald (1987) Sartre: a life pp.69, 318
  3. Philip Rees, Biographical Dictionary of the Extreme Right Since 1890, 1990, p. 198
  4. Eaman, Ross. Historical Dictionary of Journalism. Scarecrow Press, 2009.