เรือหลวงบางปะกง

เรือฟริเกตชั้นเจ้าพระยา

เรือหลวงบางปะกง (FFG-456) (อังกฤษ: HTMS Bangpakong) เป็นเรือลำที่สองในเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา สังกัดกองเรือฟริเกตที่ 2[2] กองเรือยุทธการ ของกองทัพเรือไทย โดยใช้แบบของเรือฟริเกต แบบ 053 เฮชที ชั้นเจียงหู III ของจีน โดยเรือหลวงบางปะกง มีคำขวัญว่า พิทักษ์เอกราช พิฆาตไพรี[3]

เรือหลวงบางปะกง (FFG-456) ในปี 2552
ประวัติ
ประเทศไทย
ชนิดเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา (ฟริเกต ไทป์ 053 เฮชที ชั้นเจียงหู III)
ชื่อเรือหลวง บางปะกง
ตั้งชื่อตามแม่น้ำบางปะกง
อู่เรืออู่ต่อเรือหูต่ง, เซี่ยงไฮ้
ปล่อยเรือ19 ตุลาคม พ.ศ. 2532
เดินเรือแรก25 กรกฎาคม พ.ศ. 2533
เข้าประจำการ20 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
รหัสระบุ
ลักษณะเฉพาะ
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 1.676 ตัน (เต็มที่ 1,924 ตัน)
ความยาว: 102.87 เมตร
ความกว้าง: 11.36 เมตร
กินน้ำลึก: 4.3 เมตร
กินน้ำลึก: 3.1 เมตร
ระบบพลังงาน: 4 × เครื่องจักรใหญ่ดีเซล CODAD MTU 30 V 1163 TB 83
ระบบขับเคลื่อน: 2 × ใบจักร ควบคุมด้วยระบบปรับพิทช์ใบจักร
ความเร็ว: 30 นอต (56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สูงสุด
พิสัยเชื้อเพลิง: 3,500 ไมล์ทะเล (6,500 กิโลเมตร) ที่ 18 นอต (33 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อัตราเต็มที่: 168
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ: 1 × เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ แบบ 354 Eye Shield
1 × เรดาร์ควบคุมการยิง แบบ 341 Rice Lamp
1 × เรดาร์ควบคุมการยิง แบบ 343 Sun Visor
1 × เรดาร์ควบคุมการยิง แบบ 352 Square Tie
1 × เรดาร์เดินเรือ Sperry Marine BridgeMaster E และ Furuno
1 × โซนาร์หัวเรือ SJD-5
1 × ระบบพิสูจน์ฝ่าย (IFF) (ติดตั้งคู่กับเรดาร์ แบบ 354) แบบ 651
สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง: 1 × ระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์ แบบ 923-1 Jug Pair
1 × ระบบรบกวนสัญญาณเรดาร์ แบบ 981-2 noise jammer
2 × แท่นยิงเป้าลวง แท่นละ 26 ท่อยิง
ยุทโธปกรณ์: 2 × ปืนใหญ่เรือ 100 มม. แท่นคู่
8 × อาวุธปล่อยนำวิถี C-801
2 × ปืนใหญ่กล 37 มม. แท่นคู่
2 × จราดปราบเรือดำน้ำ RBU-1200
คำขวัญ: พิทักษ์เอกราช พิฆาตไพรี

การออกแบบ แก้

เรือหลวงบางปะกง มีความยาว 103.2 เมตร (339 ฟุต) ความกว้าง 11.3 เมตร (37 ฟุต) กินน้ำลึก 3.1 เมตร (10 ฟุต) ระวางขับน้ำปกติ 1,676 ตัน ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,924 ตัน มีใบพัดสองเพลาและขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล MTU 20V1163 TB83 สี่เครื่องที่มีกำลัง 29,440 แรงม้า (21,950 กิโลวัตต์) เรือมีระยะทำการ 3,500 ไมล์ทะเล (6,500 กม.) ขณะแล่นด้วยความเร็ว 18 นอต (33 กม./ชม.) และมีความเร็วสูงสุด 30 นอต (56 กม./ชม.) เรือหลวงบางปะกง ใช้กำลังพลทั้งหมด 168 นาย ซึ่งรวมถึงนายทหาร 22 นาย[4]

ชั้นเรือแบบ 053 เฮชที ซึ่งเป็นแบบเรือของเรือหลวงบางปะกงนั้น ติดตั้งปืนใหญ่เรือขนาด 100 มม./56 แบบ 79 แท่นคู่ ที่บริเวณส่วนหน้าและท้ายเรือ และปืนใหญ่กลแบบ 76 ขนาด 37 มม. แท่นคู่ จำนวนสี่กระบอก สำหรับการทำสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ นอกจากนี้เรือได้แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ แบบ 86 จำนวนสองแท่น และจรวดปราบเรือดำน้ำ BMB น้ำลึก จำนวนสองแท่น สำหรับสงครามผิวน้ำ เรือหลวงบางปะกงนั้นได้ติดตั้งเครื่องยิงขีปนาวุธต่อต้านเรือ C-801 แปดแท่นเป็นอาวุธหลักประจำเรือ[4]

การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ แก้

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 กองทัพเรือไทยมีแผนที่จะปรับปรุงเรือแบบ 053 เฮชที สองลำ ได้แก่ เรือหลวงเจ้าพระยา และเรือหลวงบางปะกง ให้มีความทันสมัยเทียบเท่ากับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งสมัยใหม่ สำหรับแผนการปรับปรุงนี้ร่วมไปถึงการเปลี่ยนปืนขนาด 100 มม. เป็นปืนการอัพเกรดตามแผนรวมถึงการเปลี่ยนปืน 100 มม. เป็นปืนใหญ่เรืออัตโนมัติ 76/62 และเปลี่ยนปืนใหญ่กล 37 มม. ทั้งสี่กระบอก เป็นปืนใหญ่กล 30 มม. แบบยิงเร็ว พร้อมกับระบบอำนวยการรบและระบบตรวจการณ์ใหม่[4][5][6]

การต่อเรือ แก้

เรือหลวงบางปะกงได้รับการสั่งต่อพร้อมกันกับเรือลำอื่น ๆ ในเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา รวม 4 ลำ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ณ อู่ต่อเรือหูต่ง เซี่ยงไฮ้ โดยได้วางกระดูกงูในเดือนเมษายน พ.ศ. 2532[7] และปล่อยลงน้ำในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 เพื่อทดสอบและส่งมอบ

เมื่อเรือเดินทางมาถึงประเทศไทยเพื่อส่งมอบ ได้มีการตรวจสอบคุณภาพและพบว่าตัวเรือยังไม่เป็นที่น่าพอใจในการทำไปใช้งานและจำเป็นจะต้องแก้ไขปรับปรุงเกี่ยวกับการควบคุมความเสียหายของตัวเรือ[8] เมื่อได้ปรับปรุงในส่วนของส่วนควบคุมความเสียหายและส่วนอื่น ๆ ที่ต่ำกว่ามาตรฐานให้ได้มาตรฐานแล้วจึงได้นำเรือเข้าประจำการในกองทัพเรือไทยเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2534[4]

ภารกิจ แก้

 
เรือหลวงบางปะกง (FFG-456) แล่นคู่กับเรือ ยูเอสเอส ฮิกกินส์ (DDG-76) หลังการเสร็จสิ้นการฝึก PASSEX ในอ่าวไทย

หลังจากเข้าประจำการ เรือหลวงบางปะกง และเรือพี่น้องอื่น ๆ ในชั้นเจ้าพระยามักถูกใช้เป็นเรือสำหรับฝึกและหมุนเวียนไปประจำการในภารกิจยามฝั่งเป็นประจำทุกเดือน[8]

เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562 เรือหลวงบางปะกง และเรือหลวงนเรศวรได้เข้าร่วมการสวนสนามทางเรือ นอกชายฝั่งเมืองชิงเต่า เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปีกองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชน[9][10]

อ้างอิง แก้

  1. https://www.marinetraffic.com/en/ais/details/ships/shipid:3434804/mmsi:567015200/imo:0/vessel:RTN_WARSHIP_456
  2. "ฉะเชิงเทรา - 'ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ' ตรวจเยี่ยมการฝึกทบทวนเรือที่จะไปปฏิบัติราชการ ทัพเรือภาคที่ 3 และการยิงอาวุธของเรือในกองเรือฟริเกตที่ 2". THESTATESTIMES (ภาษาอังกฤษ).
  3. "Royal Thai Navy - Detail Today". www.fleet.navy.mi.th.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Saunders 2004, p. 735.
  5. "Royal Thai Navy thinks to upgrade two Chao Phraya class frigates Type 053". navyrecognition.com. 8 August 2022. สืบค้นเมื่อ 26 December 2022.
  6. นาคพุ่ม, เอกพล. "AAG_th บันทึกประจำวัน: กองทัพเรือไทยมีแผนปรับปรุงเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ๒ลำ". AAG_th บันทึกประจำวัน.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. Gardiner & Chumbley 1995, p. 463.
  8. 8.0 8.1 Saunders 2009, p. 803.
  9. "Video: China Celebrated PLAN's 70th Anniversary With Large Fleet Review". NavalNews.com. 27 April 2019. สืบค้นเมื่อ 27 December 2022.
  10. "จีน เชิญ" ผบ.ทร." ไทย ร่วมพิธีตรวจพลสวนสนามทางเรือ "มหกรรมทางเรือนานาชาติ" 70ปี". LLpch.news - LapLuangPrangChannel.com. 2019-04-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.

บรรณานุกรม แก้

  • Gardiner, Robert; Chumbley, Stephen, บ.ก. (1995). Conway's All the World's Fighting Ships 1947–1995. Annapolis, Maryland, USA: Naval Institute Press. ISBN 1-55750-132-7.
  • Saunders, Cdre. Stephen (2004). Jane's Fighting Ships 2004-2005. Jane's Information Group. ISBN 978-0710626233.
  • Saunders, Stephen, บ.ก. (2009). Jane's Fighting Ships 2009-2010. Jane's Information Group. ISBN 9780710628886.