เรย์แมน ออริจินส์
เรย์แมน ออริจินส์ (อังกฤษ: Rayman Origins) เป็นวิดีโอเกมแพลตฟอร์ม ค.ศ. 2011 ที่ได้รับการพัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทยูบิซอฟต์ โดยเป็นภาคหลักในซีรีส์เรย์แมน และเป็นตอนหลักครั้งแรกนับตั้งแต่เรย์แมน 3: ฮูดลัมแฮฟวัค เกมดังกล่าวได้รับการวางจำหน่ายในแพลตฟอร์มเพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 และวีทั่วโลก โดยมีการเปิดตัวเวอร์ชันเพลย์สเตชัน วิตา, นินเท็นโด ทรีดีเอส และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ในปีถัดมา[5] ส่วนเกมเวอร์ชันโอเอสเท็นได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2013 โดยบริษัทเฟรัลอินเตอร์แอกทีฟ[1] โดยมีเรื่องราวเดินตามตัวละครอย่างเรย์แมน, โกลบอกซ์ที่เป็นเพื่อนของเขา และทีนซีสองตน ขณะที่พวกเขาต่อสู้กับดาร์กตูนส์และสิ่งมีชีวิตชั่วร้ายอื่น ๆ ที่ติดเชื้อเกลดออฟดรีมส์
เรย์แมน ออริจินส์ | |
---|---|
ผู้พัฒนา | ยูบิซอฟต์ มงเปอลีเย ยูบิซอฟต์ ปารีส ยูบิซอฟต์ กาซาบล็องกา เฟรัลอินเตอร์แอกทีฟ (โอเอสเท็น)[1] |
ผู้จัดจำหน่าย | ยูบิซอฟต์ เฟรัลอินเตอร์แอกทีฟ (โอเอสเท็น) |
กำกับ | มีแชล อองเซล เซบัสเตียง โมแร็ง |
อำนวยการผลิต | ปีแยร์-อาร์โน ล็องแบร์ |
ออกแบบ | ลอเร็นโซ อาวี ฌูเลียง เชวาลิเยร์ รอแม็ง โกลด อักแซล กุสซาดูซ์ |
โปรแกรมเมอร์ | ฟีลิป วีมงต์ ยูซรี ซาลาส์ |
ศิลปิน | เซลีน เตลิเยร์ |
เขียนบท | แกเบรียล ชเรเจอร์ |
แต่งเพลง | คริสต็อฟ เอคาล บิลลี มาร์ติน |
ชุด | เรย์แมน |
เอนจิน | ยูบิอาร์ต เฟรมเวิร์ก |
เครื่องเล่น | ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โอเอสเท็น วี เอกซ์บอกซ์ 360 เพลย์สเตชัน 3 เพลย์สเตชัน วิตา นินเทนโด ทรีดีเอส |
วางจำหน่าย | 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011
|
แนว | แพลตฟอร์ม |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น |
เรย์แมน ออริจินส์ ได้รับการยกย่องอย่างสูงในด้านรูปแบบกราฟิก, การออกแบบด่าน และอารมณ์ขัน แม้จะมีการตอบรับที่สำคัญ แต่เกมก็มียอดขายที่ซบเซาในช่วงเริ่มต้นของการเปิดตัว แต่สุดท้ายก็ขายดีและมีส่วนทำให้กำไรแก่บริษัท ส่วนเกมมือถือที่อิงจากภาคออริจินส์ ในชื่อเรย์แมน จังเกิล รัน ได้รับการพัฒนาโดยพาสตาเกมส์ และวางจำหน่ายสำหรับไอโอเอส, แอนดรอยด์ รวมถึงสำหรับวินโดวส์โฟน 8 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 นอกจากนี้ เรย์แมน เลเจนดส์ ซึ่งเป็นภาคต่อ ได้รับการเปิดตัวสำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์, เพลย์สเตชัน 3, เพลย์สเตชัน วิตา, วียู และเอกซ์บอกซ์ 360 ใน ค.ศ. 2013 โดยได้รับการสรรเสริญที่คล้ายคลึงกัน
รูปแบบการเล่น
แก้เรย์แมน ออริจินส์ เป็นเกมแพลตฟอร์มเลื่อนด้านข้าง ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับเกมเรย์แมนแรกเริ่ม และเรย์แมน ออริจินส์ สามารถเล่นได้กับผู้เล่นในพื้นที่สูงสุดสี่คนซึ่งอาจเข้าหรือออกได้ทุกเมื่อ ผู้เล่นสามารถเลือกที่จะควบคุมเรย์แมน, โกลบอกซ์ หรือทีนซีสองตน โดยมีเครื่องแต่งกายเพิ่มเติมเมื่อเกมดำเนินไป[6]
ผู้เล่นต้องเดินทางผ่านแต่ละด่าน, ต่อสู้กับศัตรู และช่วยเหลือบรรดาอิเล็กตูนที่ถูกคุมขัง เมื่อเกมดำเนินไป ผู้เล่นจะได้รับความสามารถใหม่ ๆ เช่น วิ่งขึ้นกำแพง, ร่อนกลางอากาศ, ว่ายน้ำ และย่อขนาดเพื่อไปยังพื้นที่ใหม่ บางส่วนยังพบผู้เล่นขี่ยุงซึ่งผู้เล่นสามารถยิงศัตรู หรือสูด และยิงพวกมัน หากตัวละตรโดนศัตรูโจมตีหรือสิ่งที่เป็นอันตราย พวกเขาจะ "พองลม" หรือพองตัวเป็นบอลลูน หากต้องการออกจากสถานะนี้ ผู้เล่นคนอื่นสามารถตบหรือกระโดดเหยียบ ซึ่งคล้ายกับเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอส์วี นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถรวบรวมหัวใจที่จะปกป้องพวกเขาจากการถูกโจมตีเพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม หากผู้เล่นทุกคนพองลมพร้อม ๆ กัน หรือหากตัวละครถูกโจมตีระหว่างการเล่นเดี่ยว พวกเขาจะระเบิดและการเล่นจะกลับไปยังเช็กพอยต์ล่าสุด ในแต่ละด่าน ผู้เล่นสามารถเก็บสะสมลูมสีเหลืองซึ่งจำเป็นสำหรับเหล่าอิเล็กตูน เมื่อตัวละครเก็บลูมคิง ตัวลูมทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งลูมสีแดงมีค่าเท่ากับลูมสีเหลืองสองตัว[5][7] นอกจากนี้ ยังมีเหรียญหัวกะโหลกวางอยู่ในพื้นที่ที่ซ่อนอยู่หรือพื้นที่อันตราย พวกมันมีค่า 25 ลูมหากรวบรวมได้สำเร็จ หากผู้เล่นได้รับบาดเจ็บขณะรวบรวมเหรียญหัวกะโหลก พวกเขาจะสูญเสียมันไป ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้เล่นจะต้องพยายามอีกครั้งเพื่อได้เหรียญ
เพื่อดำเนินเนื้อเรื่องบางส่วน ผู้เล่นจำเป็นต้องปลดปล่อยเหล่าอิเล็กตูน วิธีที่พบมากที่สุดในการได้รับเหล่าอิเล็กตูนคือการปลดปล่อยพวกมันจากกรง โดยมีหนึ่งกรงที่ส่วนท้ายของแต่ละเลเวล ส่วนที่มีมากกว่าจะพบในพื้นที่ที่ซ่อนอยู่ และได้รับการคุ้มกันจากศัตรูหลายตัวที่ใช้สนามพลังเพื่อป้องกันกรง ทีมดังกล่าวจะต้องกำจัดศัตรูทุกตัวที่ใช้สนามพลัง จากนั้นกรงจะถูกทำลายโดยการโจมตี กรงส่วนใหญ่ซ่อนอยู่ในทางเดินลับ ดังนั้น เมื่อเหล่าอิเล็กตูนเป็นอิสระ พวกมันจะสร้างประตูใหญ่ที่นำไปสู่ด้านนอกของทางเดินเหล่านี้ แต่ละเลเวลจะมีเหรียญตราที่แสดงให้เห็นจำนวนความท้าทายของอิเล็กตูนที่ผู้เล่นทำสำเร็จ เช่น ทำลายกรงเดียว, รวบรวมลัมจำนวนหนึ่ง หรือเสร็จทันท่วงทีในขณะเสร็จสิ้นเลเวล โดยในทุกเลเวลมีกรงที่ซ่อนอยู่ตั้งแต่ 1 ถึง 3 กรง เกมนี้สามารถรับเหล่าอิเล็กตูนได้มากขึ้นโดยรวบรวมลัมจำนวนหนึ่งภายในเลเวลหนึ่ง และสะสางระยะเวลาทดลองที่จะปลดล็อกหลังจากเคยสะสางเลเวล ซึ่งการได้คะแนนสูงในการท้าทายเหล่านี้สามารถได้รับเหรียญตราและถ้วยรางวัล นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถปลดล็อกเลเวล 'หีบสมบัติ' พิเศษ ซึ่งพวกเขาจะต้องไล่ตามหีบสมบัติที่หลบหนีไปในเส้นทางอันตรายเพื่อรับฟันของกะโหลกศีรษะ[8] การให้ฟันครบทุกซี่จะทำให้เข้าถึงเลเวลโบนัสที่ชื่อเดอะแลนด์ออฟเดอะลิฟวิดเดด[9]
แม้ว่าเกมทุกเวอร์ชันจะเกือบจะเหมือนกันเนื่องจากเอนจินเกมมีความสามารถรอบตัวสูง แต่ก็มีความแตกต่างเล็กน้อยในแพลตฟอร์มต่าง ๆ เกมเวอร์ชันวีใช้ประโยชน์จากความสามารถรอบด้าน (แม้ว่าจะไม่ใช่การควบคุมการเคลื่อนไหว) ของวี รีโมต เพื่อมอบรูปแบบการควบคุมที่แตกต่างกันสามแบบ ในขณะที่เวอร์ชันนินเท็นโด ทรีดีเอส จะแสดงความคืบหน้าปัจจุบันของผู้เล่นระหว่างด่านใดด่านหนึ่งบนจอสัมผัส ส่วนเวอร์ชันเพลย์สเตชัน วิตา มีเนื้อหาเพิ่มเติมที่สามารถปลดล็อกได้ และผู้เล่นสามารถใช้จอสัมผัสเพื่อดำเนินการบางอย่างในเกมได้ ขณะที่เวอร์ชันเพลย์สเตชัน 3, เพลย์สเตชัน วิตา และเอกซ์บอกซ์ รองรับรางวัลความสำเร็จออนไลน์
โครงเรื่อง
แก้ในตอนเริ่มเกม บับเบิลดรีมเมอร์, เรย์แมน, โกลบอกซ์ เพื่อนที่ดีของเขา และสมัครพรรคพวกทีนซีสองตน กำลังพักผ่อนอยู่ที่สนอริงทรี ซึ่งเป็นที่พักผ่อนของบับเบิลดรีมเมอร์ อย่างไรก็ตาม การนอนกรนของพวกเขา ด้วยความช่วยเหลือจากไมโครโฟนประหลาดที่ปลอมตัวให้ดูเหมือนดอกไม้ ได้รบกวนยายแก่จากเดอะแลนด์ออฟเดอะลิฟวิดเดด ซึ่งตอบโต้ด้วยการส่งกองทัพชั่วร้ายของสิ่งมีชีวิตที่น่ากลัวและเหล่าดาร์กตูนไปทั่วโลก เหล่าตัวละครเอกที่ตื่นขึ้นมาพยายามต่อสู้กลับ แต่พ่ายแพ้และถูกจับกุม เรย์แมนหลบหนี และพบว่าเหล่าดาร์กตูนได้จับเหล่าอิเล็กตูนที่อาศัยอยู่ในโลก โดยกักขังนิมฟ์ที่ชื่อเบทิลลาซึ่งเป็น "แม่" ของเขารวมถึงน้องสาวของเธอ และทำให้เดอะเกลดออฟดรีมส์ตกอยู่ในความโกลาหล สิ่งนี้ทำให้บับเบิลดรีมเมอร์เป็นบ้าและเป็นผลให้ฝันร้าย แล้วเรย์แมนและเพื่อนของเขาได้รับมอบหมายจากเดอะแมจิกเชียนให้รวบรวมเหล่าอิเล็กตูนให้เพียงพอ เพื่อรักษาบับเบิลดรีมเมอร์และฟิ้นฟูเดอะเกลด ความพยายามของพวกเขาในการค้นหาเหล่าอิเล็กตูนทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงดินแดนต่าง ๆ ของเดอะเกลด และช่วยเหลือเหล่านิมฟ์ไปพร้อมกัน
ในที่สุดพวกเขาก็เดินไปที่ประตูลึกลับ ซึ่งสามารถเปิดได้โดยการช่วยเหลือเหล่าเกลดคิง ที่ได้กลายเป็นมอนสเตอร์อันเป็นผลมาจากฝันร้ายของบับเบิลดรีมเมอร์ เมื่อปลดปล่อยเกลดคิงส์ให้เป็นอิสระ เหล่านิมฟ์สามารถเปิดประตูดวงดาวได้ ทำให้เรย์แมนสามารถเข้าถึงที่ซ่อนในดินแดนแห่งมูดีคลาวส์ ที่นั่น พวกเขาได้ค้นพบว่าเพื่อนที่ควรจะเป็นของพวกเขา ซึ่งคือเดอะแมจิกเชียน เป็นตัวตั้งตัวตีต่อความโกลาหลทั้งหมด เขาแอบเลื่อมใส มร. ดาร์ก[10] ซึ่งเป็นตัวร้ายของเรย์แมนภาคแรก และอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ที่ทำให้กองกำลังเดอะแลนด์ออฟเดอะลิฟวิดเดดและเหล่าไนต์แมร์เข้าโจมตี โดยแกล้งอยู่ข้างเหล่าตัวละครเอก รวมถึงใช้บรรดาลูมที่พวกเขามอบให้แก่พลัง และใช้เครื่องจักรที่โหดร้ายของเขา จากนั้น เดอะแมจิกเชียนก็ส่งเรย์แมนและเพื่อน ๆ ไปที่หลุมพรางพร้อมกับเหล่ามอนสเตอร์จักรกลของเขา แต่พวกเขาก็หลบหนีและกลับไปที่ที่ทำการของเขา แล้วเดอะแมจิกเชียนก็เริ่มเต้นและส่งพวกเขาเข้าสู่การเต้นพื้น ๆ โดยใช้จังหวะนี้เป็นเวลาที่ดีในการหลบหนี เหล่าตัวละครเอกไล่ตามและต่อสู้กับเดอะแมจิกเชียนในเรือบินหลบหนีของเขา โดยส่งมันกระแทกเข้ากับแหล่งพลังงานของที่ซ่อนของเขา เหตุการณ์ที่ตามมาทำให้ที่หลบภัยระเบิด ขณะที่เรย์แมนและเพื่อน ๆ ตกในแนวดิ่งกลับไปที่สนอริงทรี ซึ่งพวกเขากลับไปพักผ่อนต่อ
หากผู้เล่นเก็บฟันทับทิมทั้งสิบซี่ได้ตลอดทั้งเกม พวกเขาจะสามารถเข้าถึงเดอะแลนด์ออฟเดอะลิฟวิดเดด ซึ่งมีมอนสเตอร์อีกตัวหนึ่งชื่อบิกมามารออยู่ เมื่อมันพ่ายแพ้ ก็มีการเปิดเผยว่ามันเป็นนางไม้แห่งเดอะแลนด์ออฟเดอะลิฟวิดเดด และกลายเป็นไนต์แมร์ตัวหนึ่งเพราะดาร์กตูน จากนั้นเธอก็ขอบคุณผู้ช่วยชีวิตที่ได้ปลดปล่อยเธอ
การพัฒนา
แก้เกมดังกล่าวได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในตอนท้ายของงานแถลงข่าวอิเล็กทรอนิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์เอ็กซ์โป 2010 ของบริษัทยูบิซอฟต์ โดยเป็นเอพพิโซดที่ดาวน์โหลดได้[11] สำหรับเพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์ก และเอกซ์บอกซ์ไลฟ์อาร์เคด พร้อมวางจำหน่ายสำหรับพีซี, นินเทนโด ทรีดีเอส, ไอแพด และไอโฟน ซึ่ง "กำลังได้รับการพิจารณา"[12] โดยเอพพิโซดเดิมจะเปิดตัวภายในสิ้น ค.ศ. 2010 แต่ได้ล่าช้าไปจนถึง ค.ศ. 2011[13][14] และหลังจากการแจ้งให้ทราบไม่เพียงพอในช่วงปีใหม่ โครงการนี้ได้รับการยืนยันว่ายังคงอยู่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2011[15] กระทั่งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 มีการประกาศว่าเกมดังกล่าวได้รับการขยายเป็นเกมขายปลีกเต็มรูปแบบ โดยมีการเปิดตัวเบื้องต้นในไตรมาสที่ 4 ค.ศ. 2011[16]
เกมดังกล่าวเป็นเกมแรกที่ใช้ยูบิอาร์ต เฟรมเวิร์ก ซึ่งเป็นเอนจินกราฟิกภายในองค์กรที่ช่วยให้เหล่าศิลปินสามารถสร้างเนื้อหาได้อย่างง่ายดายแล้วใช้ในสภาพแวดล้อมแบบโต้ตอบ ฝ่ายศิลปินเพียงแค่ต้องวางท่าโมเดลและแก้ไขภาพเงา เนื่องจากซอฟต์แวร์จะดูแลการบิดเบือนของภาพโดยอัตโนมัติ จุดมุ่งหมายหลักของเอนจินนี้คือเพื่อให้ฝ่ายศิลปินและนักออกแบบมุ่งความสนใจไปที่งานศิลปะโดยไม่ต้องกังวลกับด้านเทคนิคในการพัฒนาเกม[6] ตามที่อีฟว์ กีเยอโมต์ กล่าวไว้ คือมีเพียงห้าคนที่ทำงานในเกมนี้เมื่อมีการประกาศครั้งแรก[17] โดยบริษัทยูบิซอฟต์ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสซึ่งอุทิศให้แก่การสนับสนุนศิลปะเพื่อพัฒนาเครื่องมือยูบิอาร์ต[6] เอนจินดังกล่าวได้รับการปรับให้เหมาะสมสำหรับความละเอียดความคมชัดสูง ทำให้เกมนี้สามารถดำเนินการในรูปแบบความคมชัดสูง 1080พี เต็มรูปแบบ ที่ 60 เฟรมต่อวินาที โดยเวอร์ชันทรีดีเอสดำเนินการที่ 30 เฟรมต่อวินาที[18] เอนจินนี้ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมสำหรับเกมเรย์แมน เลเจนดส์ ที่ประกอบด้วยแสงแบบไดนามิกและการบูรณาการโมเดล 3 มิติ[19]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Feral Interactive: Rayman Origins release announcement". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 16, 2013. สืบค้นเมื่อ December 16, 2013.
- ↑ "Rayman Origins announced for PC". New Game Network. January 26, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2012. สืบค้นเมื่อ January 26, 2012.
- ↑ "Steam 上的 Rayman® Origins". Steam. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-10-19.
- ↑ "Rayman Origins: nintendo 3ds: Video Games". Amazon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 30, 2020. สืบค้นเมื่อ 2012-07-20.
- ↑ 5.0 5.1 Régis Déprez. "Rayman Origins coming to the Vita 3DS, Wii, Xbox 360 and PS3". Gamekyo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2011. สืบค้นเมื่อ June 11, 2011.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Game Informer, Issue 218, June 2011
- ↑ Mark Walton. "Rayman Origins Exclusive First Look Preview". Gamespot UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ สิงหาคม 12, 2011.
- ↑ "Rayman Origins – Full Access Preview, Rayman Origins Xbox 360 Features". GamesRadar. October 26, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2016. สืบค้นเมื่อ November 28, 2011.
- ↑ "Rayman Origins Video Game, UK 10 Ways To Beat The Game Trailer HD | Video Clip | Game Trailers & Videos". GameTrailers.com. November 18, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2011. สืบค้นเมื่อ November 28, 2011.
- ↑ Shrager, Gabrielle (January 17, 2012). "Gabrielle Shrager Facebook Conversation". Rayman Pirate-Community. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 28, 2012. สืบค้นเมื่อ February 8, 2012.
- ↑ "Ubisoft announces Rayman Origins". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 24, 2010.
- ↑ "Rayman Legends | Ubisoft (US)". www.ubisoft.com.
- ↑ Tom Magrino. "Rayman Origins zapping holiday 2010". GameSpot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2010. สืบค้นเมื่อ July 6, 2010.
- ↑ Ludwig Kietzmann. "Rayman Origins a no-show for holiday 2010". Joystiq. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2010. สืบค้นเมื่อ December 23, 2010.
- ↑ "Rayman Origins to be 'a big event,' Ubisoft CEO says". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2011. สืบค้นเมื่อ April 24, 2011.
- ↑ "Rayman Origins now a retail game". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2011. สืบค้นเมื่อ May 6, 2011.
- ↑ Fletcher, JC (July 6, 2010). "Rayman Origins slapped on XBLA, PSN this Christmas, other platforms possible". Joystiq.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2011. สืบค้นเมื่อ November 28, 2011.
- ↑ in development (June 14, 2010). "Ubiart's blog » Blog Archive » About the things we use in UbiArt Framework". Ubi-art.uk.ubi.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 8, 2021. สืบค้นเมื่อ November 28, 2011.
- ↑ Warr, Philippa (August 20, 2013). "Interview: Rayman Legends 'richer and bigger' thanks to delayed release (Wired UK)". Wired.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2013. สืบค้นเมื่อ September 30, 2013.