เมืองสิงห์ (ประเทศลาว)
เมืองสิงห์ (ลาว: ເມືອງສີງ) เป็นเมืองที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทลื้อ เพราะอยู่ใกล้สิบสองปันนาในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ชาวไทลื้ออาศัยในพื้นที่ลุ่ม ส่วนบนเขตภูเขาเป็นที่อยู่ของชาวม้ง ชาวเย้า เมืองนี้อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองหลวงน้ำทาประมาณ 60 กิโลเมตร และทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวียงจันทน์ 360 กิโลเมตร[1][2][3]
สิงห์ | |
---|---|
เมือง | |
ตลาดเมืองสิงห์เดิมเป็นตลาดฝิ่นที่สำคัญในสามเหลี่ยมทองคำ | |
พิกัด: 21°12′N 101°9′E / 21.200°N 101.150°E | |
ประเทศ | ลาว |
แขวง | แขวงหลวงน้ำทา |
จัดตั้ง | 1792 |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,650 ตร.กม. (640 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2000) | |
• ทั้งหมด | 23,500 คน |
• ความหนาแน่น | 14.2 คน/ตร.กม. (37 คน/ตร.ไมล์) |
ในแขวง | |
เขตเวลา | UTC+7 (ICT) |
ประวัติ
แก้แต่เดิมเป็นเมืองเดียวกับเมืองเชียงแขงในรัฐฉาน ประเทศพม่า แต่เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามาล่าอาณานิคม ได้ตกลงแบ่งดินแดนกันโดยใช้แม่น้ำโขงเป็นแดน ฝั่งเชียงแขงจึงอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ และรัฐฉานของพม่าในที่สุด ส่วนฝั่งเมืองสิงห์อยู่ในการปกครองของฝรั่งเศส และประเทศลาวในปัจจุบันในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1896 กองทัพของฝรั่งเศสนำโดย M. vacle ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาการหัวเมืองลาวภาคเหนือ และผู้แทนของจักรวรรดิอังกฤษ ภายใต้การนำของ Mr.Stirling ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้กำกับรัฐฉาน ได้พบปะกันในเมืองสิงห์ เพื่อพูดคุยเรื่องสนธิสัญญาอังกฤษ-ฝรั่งเศสที่จัดขึ้นในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1896 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานภาพของรัฐเจ้าฟ้าไทลื้อขนาดเล็ก หลังจากนั้น มีการระบุเขตแดนริมฝั่งแม่น้ำโขงระหว่างอังกฤษและพม่ากับฝรั่งเศสและอินโดจีน ในวันที่ 11 พฤษภาคม กองกำลังอังกฤษที่ได้ประจำการอยู่ในเมืองสิงห์ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 1895 นั้นก็ได้ถอนกองกำลังออกไป หลังจากนั้นเพียง 2 อาทิตย์ เจ้าฟ้าศรีหน่อก็ได้กลับมาจากเมืองหลวงน้ำทา ซึ่งเจ้าฟ้าได้ไปลี้ภัยในระหว่างที่อังกฤษเข้ามายึดครองเมืองสิงห์ เจ้าฟ้าศรีหน่อได้เป็นเจ้าฟ้าเมืองสิงห์อีกครั้งหนึ่งภายใต้อำนาจของฝรั่งเศส เจ้าฟ้ารู้สึกเสียใจกับดินแดนที่ลดหายไปเกือบครึ่งหนึ่ง เพราะว่าเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำโขงฝั่งขวานั้น เช่น เมืองเชียงลาบ เมืองยู้ และเมืองหลวย ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าทั้งสองเมืองนั้นได้ตกไปเป็นของอังกฤษเสียแล้ว
ในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1901 เจ้าฟ้าศรีหน่อได้ถึงแก่พิราลัยด้วยวัย 55 ปี ในปีเดียวกัน พระโอรสองค์โตชื่อ เจ้าองค์คำ ได้ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าเมืองสิงห์ จากนั้น 2 ปี เจ้าองค์คำได้รับตำแหน่งทหารจากรัฐบาลฝรั่งเศส การปกครองเมืองของเจ้าองค์คำนั้นอยู่ภายใต้อาณัติของฝรั่งเศส ระบบการจัดเก็บภาษีและการปกครองล้วนใกล้เคียงกับหัวเมืองลาวที่อยู่ในบังคับของฝรั่งเศสทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เมืองสิงห์คงความเป็นเอกราชได้จนกระทั่งถึงวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1916 เมื่อฝรั่งเศสได้ปลดเจ้าฟ้า และได้ยัดเยียดให้เป็นนักโทษการเมือง สาเหตุมาจากที่เจ้าฟ้าพยายามที่จะปลดแอกจากฝรั่งเศสโดยการขอความช่วยเหลือกลุ่มชาวจีนฮ่อที่เข้ามารุกรานหัวเมืองภาคเหนือของลาวในปีค.ศ. 1914 และแล้วเจ้าฟ้าองค์สุดท้ายของเมืองสิงห์ได้หลบหนีทิ้งบ้านเมืองและชาวเมืองไปยังสิบสองพันนา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมืองสิงห์ได้ถูกฝรั่งเศสปกครองจนกระทั่งมาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศลาว
การเดินทางมายังเมืองสิงห์ อาจจะเดินทางด้วนรถโดยสารประจำทางจากเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว หรือขึ้นเรือโดยสารจากเมืองห้วยทราย ล่องตามแม่น้ำโขงจนถึงหลวงน้ำทาแล้วจึงขึ้นรถต่อไปยังเมืองสิงห์ นอกจากนั้นยังมีเที่ยวบินจากเวียงจันทน์ไปแขวงหลวงน้ำทาอีกด้วย
อ้างอิง
แก้- ↑ Cranmer, Jeff; Martin, Steven; Coxon, Kirby (November 2002). Rough guide to Laos. Rough Guides. p. 224. ISBN 978-1-85828-905-2. สืบค้นเมื่อ 23 January 2012.
- ↑ Maps (Map). Google Maps.
- ↑ Janet, Arrowood (2009). Laos Travel Adventures. Hunter Publishing, Inc. p. 26. ISBN 978-1-58843-725-9. สืบค้นเมื่อ 23 January 2012.
อ่านเพิ่ม
แก้- Volker Grabowsky: Bevölkerung und Staat in Lan Na : ein Beitrag zur Bevölkerungsgeschichte Südostasiens. Habilitationsschrift, Universität Hamburg, Fachbereich für Orientalistik. 1996.
- Volker Grabowsky: "Introduction to the history of Müang Sing (Laos) prior to French rule: the fate of a Lü principality". Bulletin de l'École francaise d'Extrème-Orient 86 (1999), S. 233-291.