แขวงหลวงน้ำทา
หลวงน้ำทา (ลาว: ຫຼວງນໍ້າທາ, ຫລວງນໍ້າທາ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดของประเทศ ทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศใต้ติดกับแขวงบ่อแก้ว ทิศตะวันออกติดกับแขวงอุดมไซ และทิศตะวันตกติดกับประเทศพม่า
แขวงหลวงน้ำทา ແຂວງຫຼວງນໍ້າທາ | |
---|---|
ภูมิทัศน์ของแขวงหลวงน้ำทา | |
แผนที่แขวงหลวงน้ำทา | |
แผนที่ประเทศลาวเน้นแขวงหลวงน้ำทา | |
พิกัด: 20°57′25″N 101°23′42″E / 20.956944°N 101.395°E | |
ประเทศ | ลาว |
เมืองเอก | หลวงน้ำทา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 9,325 ตร.กม. (3,600 ตร.ไมล์) |
ประชากร (สำมะโน พ.ศ. 2558) | |
• ทั้งหมด | 175,753 คน |
• ความหนาแน่น | 19 คน/ตร.กม. (49 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+7 (เวลาในประเทศลาว) |
รหัส ISO 3166 | LA-LM |
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2561) | 0.576[1] ปานกลาง · อันดับที่ 7 |
ประวัติ
แก้พื้นที่แขวงนี้เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแขวงหัวของ ต่อมาแขวงหัวของถูกยุบลงและแยกออกเป็น 2 แขวง บริเวณศูนย์กลางของแขวงหัวของเดิมได้เปลี่ยนชื่อเป็นแขวงบ่อแก้ว ส่วนพื้นที่ทางเหนือของแขวงหัวของเดิมกลายเป็นแขวงใหม่คือแขวงหลวงน้ำทาในปัจจุบัน
ประชากรส่วนใหญ่ของแขวงหลวงน้ำทาเป็นชาวไทลื้อ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเชียงแขง (เชียงลาบ) ซึ่งเป็นอาณาจักรของชาวไทลื้อ มีพื้นที่ครอบคลุมสองฝั่งของแม่น้ำโขง คือบริเวณเมืองยอง รัฐฉาน ประเทศพม่า กับเมืองสิงห์ แขวงหลวงน้ำทาของลาวในปัจจุบัน เมื่อฝรั่งเศสขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณนี้ จึงได้ตกลงกับอังกฤษแบ่งเมืองเชียงแขงออกเป็นสองส่วน ฝั่งขวาแม่น้ำโขงเป็นของอังกฤษ ส่วนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นของฝรั่งเศสและตกเป็นของประเทศลาวในเวลาต่อมา
ระหว่าง พ.ศ. 2498–2518 พื้นที่แถบนี้เคยเป็นสมรภูมิรบระหว่างขบวนการปะเทดลาวและกลุ่มกองโจรของพวกชาวเขา ส่วนใหญ่เป็นชาวม้งที่ได้รับการหนุนหลังจากสำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ตัวเมืองถูกทำลายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ ต้องย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่ริมฝั่งแม่น้ำทา ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางเหนือ 7 กิโลเมตร ใกล้กับทางหลวงที่ใช้ไปยังเมืองสิงห์ อุดมไซ และบ่อเต็น
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้แขวงนี้แบ่งออกเป็น 5 เมืองดังนี้:[2][3]
แผนที่ | รหัส | ชื่อ | อักษรลาว | ประชากร (2558) |
---|---|---|---|---|
3-01 | เมืองหลวงน้ำทา | ເມືອງຫຼວງນໍ້າທາ | 54,089 | |
3-02 | เมืองสีง | ເມືອງສີງ | 39,287 | |
3-03 | เมืองลอง | ເມືອງລອງ | 34,630 | |
3-04 | เมืองเวียงภูคา | ເມືອງວຽງພູຄາ | 23,928 | |
3-05 | เมืองนาแล | ເມືອງນາແລ | 23,819 |
ประชากร
แก้ประชากรในแขวงตามสำมะโน พ.ศ. 2558 มี 175,753 คน[4] กลุ่มชาติพันธุ์ในอยู่ในบริเวณนี้คือม้ง ขมุ อาข่า ไทเหนือ ไทดำ ไทแดง ไทขาว ไทยวน ไทลื้อ ละวิด ละเมด สีดา อีก้อ มูเซอ กะลอม ไทใหญ่ ฯลฯ [2]
การท่องเที่ยว
แก้แม้ว่าทางการจะย้ายเมืองหลวงใหม่ไปแล้วก็ตาม แต่สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองเก่า ชาวหลวงน้ำทาเรียกเขตนี้ว่า เมือง และเรียกเขตที่สร้างใหม่ว่า แขวง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเข้ามาแวะพักเพื่อเดินทางต่อไปยังเมืองสิงห์ แขวงบ่อแก้ว หรือไม่ก็ไปจีน ภายตัวเมืองหลวงน้ำทามีที่พักค่อนข้างมาก ปัจจุบันหลวงน้ำทามีถนนสายกว้าง ถ้าเดินมาทางเชิงสะพานด้านตะวันออกของถนนสายหลักในยามเช้า จะเห็นผู้คนออกมาจับจ่ายซื้อของที่ตลาดซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสถานีขนส่ง ถัดจากเมืองประมาณ 2 กิโลเมตรไปตามเส้นทางเมืองสิงห์ จะพบศูนย์หัตถกรรมหลวงน้ำทาซึ่งสหภาพยุโรปเป็นผู้ออกเงินสร้างเพื่อให้เป็นที่จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมของชาวบ้าน
แหล่งท่องเที่ยว
แก้- วัดหลวงบ้านเชียงใจ
- วัดพระธาตุเชียงตึง
- วัดพระธาตุเมืองสิงห์
- เรือนพญาเซกอง
- ตลาดใหญ่
- พระธาตุหลวงน้ำทา
- ตลาดมืด
- พระธาตุปูมปุก
- น้ำตกตาด พูเพชร-พูคำ
- สวนน้ำห้า-ปาคำ
- ตาดน้ำดี
- วัดเวียงเหนือ ไชยราม
- วัดท่าอ้อ
- วัดน้ำทุ่ง
- วัดสามักคีไช
- วัดหลวงขอน
การเดินทาง
แก้การเดินทางมายังหลวงน้ำทา มีรถประจำทางไว้บริการจากหลวงพระบางและห้วยทรายทุกวัน และจากหลวงน้ำทาก็มีรถประจำทางมายังเมืองสิงห์เช่นกัน ระยะทางประมาณ 59 กิโลเมตร ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที
อ้างอิง
แก้- ↑ "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-13.
- ↑ 2.0 2.1 The Lao National Tourism Administration. "National Protected Area System – Ecotourism Laos". Ecotourism Laos. GMS Sustainable Tourism Development Project in Lao PDR. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2012. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
- ↑ "Provinces of Laos". Statoids.com. สืบค้นเมื่อ 1 November 2012.
- ↑ "Results of Population and Housing Census 2015" (PDF). Lao Statistics Bureau. สืบค้นเมื่อ 1 May 2020.
ข้อมูลทั่วไป
แก้- DK Travel Guides (1 June 2011). DK Eyewitness Travel Guide: Cambodia & Laos. Dorling Kindersley Limited. p. 180. ISBN 978-1-4053-4985-7.
- Geological Survey (U S ) (25 October 2010). Minerals Yearbook: Area Reports: International 2008: Asia and the Pacific. Government Printing Office. pp. 14–. ISBN 978-1-4113-2964-5.