เมย์ โตโรก ฟอน เซนโดร

ญาวีดาน ฮานิม (อาหรับ: جاويدان هانم; พระนามประสูติ เมย์ โตโรก ฟอน เซนโดร (อังกฤษ: May Torok von Szendro); 15 มิถุนายน ค.ศ. 1877– 5 สิงหาคม ค.ศ. 1968) เป็นขุนนางชาวฮังการีและพระมเหสีเคดีฟแห่งอียิปต์ใน ค.ศ. 1910 ถึง 1913 ในฐานะพระมเหสีองค์ที่ 2 ในเคดีฟ อับบาสที่ 2 แห่งอียิปต์[1]

ญาวีดาน ฮานิม
เคาน์ติสโตโรก ฟอน เซนโดร
ญาวีดาน ฮานิมในเครื่องทรงฮิญาบ
พระมเหสีเคดีฟแห่งอียิปต์
ดำรงพระยศ28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1910 – 7 สิงหาคม ค.ศ. 1913
ประสูติ15 มิถุนายน ค.ศ. 1877(1877-06-15)
ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ
สวรรคต5 สิงหาคม ค.ศ. 1968(1968-08-05) (91 ปี)
กราซ ประเทศออสเตรีย
ฝังพระศพสุสานนักบุญเลออนฮาร์ด กราซ ประเทศออสเตรีย
คู่อภิเษกอับบาส ฮิลมีที่ 2 แห่งอียิปต์ (สมรส ค.ศ. 1910; หย่า ค.ศ. 1913)
พระนามเต็ม
พระนามประสูติ: เมย์ โตโรก ฟอน เซนโดร
พระนามอาหรับ: ญาวีดาน ฮานิม
อาหรับ: جاويدان هانم
ราชวงศ์อะละวียะฮ์ (ผ่านการสมรส)
พระราชบิดาเคานต์โยเซฟ โตโรก
พระราชมารดาเคาน์ติสโซฟี เวตเตอร์ ฟอน เดอร์ ลิลี
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี (ผ่านการเข้ารีต)
อาชีพนักเปียโน
นักเขียน
นักแปล
จิตรกร
ลายพระอภิไธย

พระประวัติช่วงต้น

แก้

ญาวีดาน ฮานิมมีพระนามประสูติว่าเมย์ โตโรก ฟอน เซนโดร[2] โดยประสูติที่ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1877[3] พระบิดาคือเคานต์โยเซฟ โตโรก ฟอน เซนโดร อดีตประมุขแห่งเทศมณฑล Ung[4] กับพระมารดาคือเคาน์ติสโซฟี เวตเตอร์ ฟอน เดอร์ ลิลี[5] หลังหย่าร้างใน ค.ศ. 1881[6] ก็ไปสมรสกับ Tivadar Puskás นักประดิษฐ์ชาวฮังการีที่ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทอมัส เอดิสันใน ค.ศ. 1882 ที่เวสต์มินสเตอร์ มิดเดิลเซกซ์ ประเทศอังกฤษ[7] พระนางมีพระภาดาชื่อเคานต์โยเซฟ โตโรก ฟอน เซนโดร (ค.ศ. 1873 – 98)[7]

พระนางใช้ชีวิตวัยเด็กส่วนใหญ่ในปราสาทวัสเซินทางใต้ของกราซ ประเทศออสเตรีย เมื่อมีอายุ 12 ปี พระนางอ้างว่าเขียนบทความสั้นให้กับวารสารหลายแห่งและเล่นเปียโน ตอนอายุ 15 ปี พระนางมีอะพาร์ตเมนต์ของตนเองที่กราซ พระภาดาได้ศึกษาต่อที่เทเรสเซียนัมอะคาเดมี (Theresianum) ที่เวียนนาตามธรรมเนียมออสเตรีย แม้ว่าพระนางไม่เคยไปโรงเรียน ณ ที่นั่น พระภาดาเป็นพระสหายกับเจ้าชายอับบาส ฮิลมี เจ้าชายอียิปต์[2][7]

อภิเษกสมรส

แก้

เมย์ได้พบกับอับบาสครั้งแรกและครั้งที่สองที่เทเรสเซียนัมอะคาเดมี[8] ต่อมาภายหลังอับบาสได้กลับไปยังอียิปต์เพื่อครองราชย์ และพวกเขาก็ได้พบกันอีกครั้งเป็นครั้งที่สามใน ค.ศ. 1900 ที่โรงแรมแกรนด์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทั้งคู่ก็เริ่มรักกันและอับบาสจึงพาเธอกลับมายังอียิปต์ด้วย[8]

ความสัมพันธ์ของทั้งสองเริ่มพัฒนาเป็นความรัก ทั้งคู่ได้สมรสอย่างลับๆกัน ที่พระราชวังมอนตาซาห์ เมืองอเล็กซานเดรีย โดยมีชัยค์สองคนในพิธี ก่อนที่จะอภิเษกสมรสอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1910 โดยมีแกรนด์มุฟติ (Grand Mufti) เป็นประธานในพิธี

พระนางเข้ารับอิสลาม[2]ต่อหน้าแกรนด์มุฟตีในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1910 ที่พระราชวัง Abdeen[9] พระนางไม่เคยได้รับศีลบัพติศมา โดยไม่ทราบเหตุผลบางประการ หรืออาจเป็นเพราะพ่อแม่มีอุปนิสัยใจกว้าง[7] การเข้ารีตของพระนางเกิดขึ้นพร้อมกับการเสด็จไปมักกะฮ์ของอับบาส ฮิลมี ซึ่งอาจเป็นเหตุให้พระนางใช้ชื่อมุสลิมใหม่[7] ตอนแรกใช้พระนามว่า ซุบัยดะฮ์ บินต์ อับดุลลอฮ์ ภายหลังเปลี่ยนเป้นพระนามที่เข้ากับสถานะขุนนางเป็น ญาวีดาน[10] หลังจากพระสวามีได้หย่ากับอิกบาล ฮานิม อดีตนางทาสที่รับใช้พระมารดาของคีดิฟ

คีดิฟอิสมาอิล ปาชา เป็นกษัตริย์อียิปต์องค์สุดท้ายที่ใช้ระบบฮาเร็ม รวมไปถึง บุยุก, ออตังกี และคุคุก ฮาเร็ม (พระภรรยาเอก, ภรรยารอง และภรรยาคนที่สาม) และตำแหน่งอะกา (ยูนุค) ก็ถูกยกเลิกเช่นกัน และเริ่มระบบเอกอัครมเหสีเพียงพระองค์เดียวตามแบบยุโรป[8]

หย่าร้าง

แก้

อับบาส ฮิลมีทรงแยกจากญาวีดานเกือบปีหนึ่งก่อนถูกถอดถอนใน ค.ศ. 1914

ณ วันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1913 พระนางได้รับใบหย่าที่ออสเตรีย[3][2][9] ซึ่งลงนามโดยประธานศาลชะรีอะฮ์อะเล็กซานเดรีย ชัยค์ ฮะซัน อัลบันนา แกรนด์มุฟตีแห่งอียิปต์ Sheikh Bakry Ashour al-Sadfi รับรองเอกสารนี้ อับบาสยังคงให้การสนับสนุนทางการเงินแก่พระนางจวบจนวาระสุดท้าย[7]

สวรรคต

แก้

ญาวีดานสวรรคตที่กราซในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1968 ด้วยพระชนมพรรษา 91 พรรษา พระนางถูกฝังที่สุสานนักบุญเลออนฮาร์ด โดยมีนักศึกษามุสลิมไม่กี่คนจากมหาวิทยาลัยใกล้เคียงที่เข้าร่วมพิธีศพ บนป้ายหลุมศพมีเพียงแค่พระนาม "Djanan Djavidan" สลักไว้[3][7]

อ้างอิง

แก้
  1. Doumani, B. (2003). Family History in the Middle East: Household, Property, and Gender. State University of New York Press. p. 270. ISBN 978-0-7914-5679-8.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Cuno, K.M. (2015). Modernizing Marriage: Family, Ideology, and Law in Nineteenth- and Early Twentieth-Century Egypt. Gender and Globalization. Syracuse University Press. p. 43. ISBN 978-0-8156-5316-5.
  3. 3.0 3.1 3.2 "His Highness Hidiv II. Abbas Hilmi, Hidiv of Misir (Egypt), Sudan and Taşoz". สืบค้นเมื่อ 18 December 2023.
  4. Al-Naggar, Abdallah Abdel-Ati (2020-12-15). "May Török Szendrői (Djavidan Hanem) Consort of Abbas Hilmi II, the Last Khedive of Egypt and Sudan: Rewaq History and Heritage, Doha: Hassan Bin Mohamed Centre for Historical Studies, 2019 (9), 6–17". Academia.edu. สืบค้นเมื่อ 2023-12-18.
  5. Rifaat, Samir (October 6, 1994). "Queen for a Day". egy.com. Al-Ahram Weekly. สืบค้นเมื่อ December 18, 2023.
  6. Al-Naggar, Abdallah Abdel-Ati; Zoltán, Prantner (2022-06-03). "2022. June 2: "Controversial Issues in the Life of the Hungarian-origin Consort of the Last Khedive of Egypt and Sudan". Conference: CHALLENGES AND ACHIEVEMENTS IN CENTRAL EUROPE INTERNATIONAL CONFERENCE: Budapest Business School". Academia.edu. สืบค้นเมื่อ 2023-12-20.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 Rifaat, Samir (October 6, 1994). "Queen for a Day". egy.com. Al-Ahram Weekly. สืบค้นเมื่อ December 18, 2023.
  8. 8.0 8.1 8.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ เมย์
  9. 9.0 9.1 Catalogue of the Abbas Hilmi II Papers (PDF). Durham University Library. 2020. p. 150.
  10. Chaudhuri, N.; Strobel, M. (1992). Western Women and Imperialism: Complicity and Resistance. ACLS Humanities E-Book. Indiana University Press. p. 50. ISBN 978-0-253-20705-0.