เมดิแอสตินัม[1] (อังกฤษ: mediastinum) หรือ ประจันอก[2] หรือ อวัยวะคั่นระหว่างปอด[2] เป็นกลุ่มของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ภายในทรวงอกล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันร่างแห เมดิแอสตินัมอยู่ตรงกลางของช่องอกประกอบด้วยหัวใจ หลอดเลือดใหญ่ของหัวใจ หลอดอาหาร ท่อลม เส้นประสาทกะบังลม (phrenic nerve) ท่อน้ำเหลืองอก (thoracic duct) ต่อมไทมัส และต่อมน้ำเหลืองในทรวงอก

เมดิแอสตินัม
(mediastinum)
Mediastinum. The division between superior and inferior is at the sternal angle.
Mediastinum anatomy
ตัวระบุ
MeSHD008482
TA98A07.1.02.101
TA23333
FMA9826
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

กายวิภาคศาสตร์

แก้

เมดิแอสตินัมอยู่ระหว่างเยื่อหุ้มปอดข้างซ้ายและขวา ใกล้กับแนวกลางลำตัวของหน้าอก เมดิแอสตินัมอยู่ด้านหลังกระดูกสันอก (sternum) และอยู่ด้านหน้ากระดูกสันหลัง ภายในประกอบด้วยอวัยวะภายในช่องอกยกเว้นปอด เมดิแอสตินัมอาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้ดังนี้

  • ส่วนบน เหนือขอบบนของเยื่อหุ้มหัวใจ เรียกว่า เมดิแอสตินัมด้านบน (superior mediastinum) มีขอบเขตบนสุดอยู่ที่ทางเข้าช่องอกส่วนบน ขอบเขตล่างสุดอยู่ที่เส้นสมมติลากจากมุมกระดูกสันอก (sternal angle of Louis) ไปยังหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 4-5 (T4-T5) เรียกระนาบนี้ว่า ระนาบลุดวิกของมุมกระดูกสันอก (Plane of Ludwig at Angle of Louis)
  • ส่วนล่าง ใต้ระดับขอบบนของเยื่อหุ้มหัวใจ แบ่งได้อีกเป็น 3 ส่วน

ขอบเขตของเมดิแอสตินัม เมดิแอสตินัมล้อมรอบด้วยผนังหน้าอกทางด้านหน้า ปอดทางด้านข้าง และกระดูกสันหลังทางด้านหลัง โครงสร้างนี้เชื่อมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพันร่างแห (loose connective tissue) ของคอทางด้านบน และติดกับกะบังลมทางด้านล่าง

บทบาทเกี่ยวกับโรค

แก้

เมดิแอสตินัมอักเสบ (mediastinitis) เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อในเมดิแอสตินัม มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเกิดจากการแตกของอวัยวะภายในเมดิแอสตินัม ภาวะนี้เป็นภาวะที่รุนแรงเพราะการติดเชื้อมักดำเนินอย่างรวดเร็ว

ภาวะมีอากาศในเนื้อเยื่อเมดิแอสตินัม (pneumomediastinum) ในบางกรณีหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax), ภาวะช่องท้องมีอากาศ (pneumoperitoneum), และภาวะถุงหุ้มหัวใจมีอากาศ (pneumopericardium) อย่างไรก็ตามภาวะเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีอากาศในเนื้อเยื่อเมดิแอสตินัม ภาวะนี้มักเกิดร่วมกับกลุ่มอาการเบอร์ฮาฟ (Boerhaave's syndrome) หรือหลอดอาหารแตกทะลุเอง (spontaneous esophageal rupture)

โรคอื่นๆ หลายโรคอาจมีอาการนำด้วยเมดิแอสตินัมกว้างขึ้นกว่าปกติ (มักพบในเอกซเรย์ทรวงอก) เช่น หลอดเลือดแดงเอออร์ตาแตกหรือหระดูกสันหลังส่วนอกหักจากอุบัติเหตุ หรือถ้าหากสาเหตุจากการติดเชื้อ เมดิแอสตินัมกว้างเป็นอาการแสดงเด่นของการติดเชื้อแอนแทรกซ์ (anthrax)

นอกจากนี้ เมดิแอสตินัมเป็นบริเวณที่มักพบเนื้องอกหลายชนิดได้บ่อย

อ้างอิง

แก้
  1. บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย (อังกฤษ-ไทย) ฉบับปี 2009. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552.
  2. 2.0 2.1 ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544 เรียกดูเมื่อ 11 เมษายน พ.ศ. 2552

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้