เฟือสท์
เฟือสท์ (เยอรมัน: Fürst) และสำหรับสตรีว่า เฟือร์สทีน (เยอรมัน: Fürstin) มาจากภาษาเยอรมันบนสมัยเก่าว่า furisto ที่แปลว่า "ผู้เป็นเอก" เป็นยศเจ้าและยศขุนนางของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจักรวรรดิเยอรมัน
จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในอดีตมักจะส่งพระโอรสและพระอนุชาไปปกครองบรรดารัฐในจักรวรรดิ โดยที่รัฐดังกล่าวได้รับเอกสิทธิ์ที่เรียกว่า ไรชส์อุนมิทเทิลบาร์ไคท์ (ความขึ้นตรงจักรวรรดิ) รัฐดังกล่าวจะถูกเรียกในภาษาเยอรมันว่า เฟือร์สเทนทุม (Fürstentum) ที่แปลว่าราชรัฐ[1] เจ้าผู้ครองรัฐพวกนี้จะถูกเรียกว่าเฟือสท์ (Fürst) แต่หากเป็นเจ้าที่ไม่มีอำนาจครองดินแดนจะถูกเรียกว่า พรินซ์ (Prinz)[2] แต่ภาษาอังกฤษจะแปลทั้งสองคำเป็นคำเดียวกันว่า Prince
นอกจากเฟือสท์มีความเป็นชนชั้นเจ้า ซึ่งมีคำนำหน้าเป็น His Serene Highness อีกด้านหนึ่งยังมีความเป็นชนชั้นขุนนาง ซึ่งในระบบขุนนางจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจักรวรรดิเยอรมัน เฟือสท์อยู่สูงกว่ากราฟ (Graf) แต่อยู่ต่ำกว่าดยุก (Herzog)[3] แต่ดยุกที่สูงกว่าเฟือสท์จะต้องเป็นดยุกชาวเยอรมันที่ขึ้นตรงจักรวรรดิ ดยุกต่างชาติถือว่ามีเกียรติยศเท่าเฟือสท์
เฟือสท์บางคนอาจควบตำแหน่งดยุก อาทิ อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค ตำแหน่งเฟือสท์แห่งบิสมาร์คเป็นตำแหน่งตกทอด ทายาทคนโตสามารถสืบตระกูล แต่ตำแหน่งดยุกแห่งเลาเอินบวร์คเป็นตำแหน่งเกียรติยศเฉพาะตน มิอาจตกทอดสู่ทายาท
เฟือสท์ที่มีสิทธิ์ลงมติรับรองจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จะถูกเรียกว่า "คัวร์เฟือสท์" (Kurfürst)
ภาษาเยอรมันแปลคำว่า Prince of Wales ในภาษาอังกฤษเป็น Fürst von Wales และแปลพระยศเจ้านายทรงกรมของไทยเป็นเฟือสท์เช่นกัน อาทิ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ถูกแปลเป็น Fürst von Nakhon Sawan
ในปัจจุบัน ประเทศที่มีประมุขแห่งรัฐเป็นเฟือสท์มีอยู่สองประเทศคือราชรัฐโมนาโกและราชรัฐลีชเทินชไตน์
อ้างอิง
แก้- ↑ "Definition of Fürstentum". Duden (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Definition of the German title Prinz". Duden (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อDDNP1