เนื้อตายเหตุขาดเลือด
เนื้อตายเหตุขาดเลือด[1] (อังกฤษ: infarction) เป็นกระบวนการตายเฉพาะส่วนของเนื้อเยื่ออันเกิดจากการขาดเลือด ซึ่งอาจเกิดจากการอุดกั้นหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงอวัยวะนั้น ๆ เช่นจากลิ่มเลือด (blood clot) หรือคอเลสเตอรอล หรืออาจเกิดจากการถูกกดเบียดจากโครงสร้าง epitobe อื่น ๆ
โดยส่วนมากภาวะเนื้อตายเหตุขาดเลือดเกี่ยวข้องกับโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) เมื่อคราบไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดหลุดออกมา จะเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด (thrombus) อุดกั้นการไหลเวียนของเลือด และอาจหลุดออกมาและไหลตามกระแสเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือดในบริเวณอื่น ๆ เกิดเป็นสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolus) นอกจากนี้เนื้อตายเหตุขาดเลือดอาจเกี่ยวข้องกับการอุดตันของหลอดเลือดจากการกดเบียด เช่นส่วนของลำไส้ขาดเลือดเนื่องจากไส้เลื่อน (hernia) หรือไส้บิดเกลียว (volvulus)
ประเภทของเนื้อตายเหตุขาดเลือด
แก้เนื้อตายเหตุขาดเลือดแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามปริมาณเลือดออก
- White infarction มักเกิดกับอวัยวะทึบ เช่น หัวใจ ม้าม หรือไต สิ่งอุดกั้นหลอดเลือดมักเป็นเกล็ดเลือด และอวัยวะที่เกิดภาวะนี้จะมีสีขาวหรือซีด
- Red infarction มักเกิดกับปอด การอุดกั้นมักประกอบด้วยเม็ดเลือดแดงและไฟบริน
โรคที่เกี่ยวข้อง
แก้โรคที่เกี่ยวข้องกับเนื้อตายเหตุขาดเลือดได้แก่
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรืออาการหัวใจล้ม (Myocardial infarction)
- Pulmonary embolism
- โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular accident) ร้อยละ 80 เกิดจากการขาดเลือด
- Peripheral artery occlusive disease (ซึ่งทำให้เกิดอาการรุนแรงสุดคือเนื้อตายเน่า)
- Antiphospholipid syndrome
- ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis)
- Giant-cell arteritis (GCA)
- ไส้เลื่อน (Hernia)
- ไส้บิดเกลียว (Volvulus)
อ้างอิง
แก้- ↑ ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกข้อมูลวันที่ 19 กพ. 2552.