เทเน็ท
เทเน็ท (อังกฤษ: Tenet) เป็นภาพยนตร์แนวสายลับ ฉายปี ค.ศ. 2020 เขียนบทและกำกับโดย คริสโตเฟอร์ โนแลน เขาอำนวยการสร้างร่วมกับ เอ็มมา ทอมัส เป็นการสร้างร่วมกันระหว่างบริษัทสัญชาติสหราชอาณาจักรและสหรัฐ แสดงนำโดย จอห์น เดวิด วอชิงตัน, โรเบิร์ต แพตตินสัน, เอลิซาเบธ เดบิคกี, ดิมเปิล คาปาเดีย, ไมเคิล เคนและเคนเนธ บรานาห์ ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวของสายลับที่เรียนรู้การควบคุมการไหลของเวลา เพื่อป้องกันการโจมตีจากอนาคตที่จะมาทำลายล้างโลกปัจจุบัน
เทเน็ท | |
---|---|
โปสเตอร์ภาพยนตร์ | |
กำกับ | คริสโตเฟอร์ โนแลน |
เขียนบท | คริสโตเฟอร์ โนแลน |
อำนวยการสร้าง |
|
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | โฮยเตอ ฟัน โฮยเตอมา |
ตัดต่อ | เจนนิเฟอร์ เลม |
ดนตรีประกอบ | ลุดวิก เยอรันซอน |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | วอร์เนอร์บราเธอส์พิกเชอส์ |
วันฉาย |
|
ความยาว | 150 นาที[2] |
ประเทศ | |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] |
ทำเงิน | 363.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5][6] |
โนแลนใช้เวลาเขียนบทภาพยนตร์มากกว่าห้าปี หลังสร้างแนวคิดหลักของ เทเน็ท มานานกว่าทศวรรษ งานก่อนการถ่ายทำเริ่มต้นในปลายปี ค.ศ. 2018 การคัดเลือกนักแสดงเริ่มต้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 และเริ่มต้นการถ่ายทำในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2019 จนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 ที่ประเทศเดนมาร์ก, เอสโตเนีย, อินเดีย, อิตาลี, นอร์เวย์, สหราชอาณาจักรและสหรัฐ ผู้กำกับภาพ โฮยเตอ ฟัน โฮยเตอมา ถ่ายทำภาพยนตร์โดยใช้ฟิล์มขนาด 65 มิลลิเมตรและกล้องไอแมกซ์ ฉากที่ใช้การควบคุมเวลาถูกถ่ายทั้งย้อนไปข้างหลังและย้อนไปข้างหน้า มีการใช้เรือมากกว่าร้อยลำและตัวประกอบอีกหลายพันคน
ภาพยนตร์ถูกเลื่อนฉายสามครั้ง เนื่องจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา เทเน็ท ฉายในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 2020, ฉายในประเทศไทยในวันถัดมาและฉายในสหรัฐเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2020 ในระบบไอแมกซ์, 35 มิลลิเมตรและ 70 มิลลิเมตร เป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่องแรกที่ฉายในโรงภาพยนตร์ หลังโรงภาพยนตร์ปิดบริการเพราะการระบาดทั่วของไวรัส ภาพยนตร์ทำเงิน 363 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก ปัจจุบันเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับที่ 5 ในปี ค.ศ. 2020 ภาพยนตร์การตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์ โดยได้รับรางวัลออสการ์ สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม และเข้าชิงในสาขาออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม ในงาน งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 93
โครงเรื่อง
แก้ตัวละครเอกเป็นสายลับซีเอไอไม่ทราบชื่อ เข้าร่วมปฏิบัติการแฝงตัวกับหน่วยสวาตที่โรงละครโอเปร่าในเคียฟ เขาร่วมช่วยเหลือสายลับที่ถูกเปิดโปงและขโมยวัตถุแปลกชิ้นหนึ่ง เขารอดจากการถูกยิงโดยได้รับการช่วยเหลือจากทหารสวมหน้ากากที่มีด้ายสีแดงบนกระเป๋าเป้ ตัวละครเอกถูกจับและถูกทรมานเพื่อเค้นข้อมูลโดยทหารรับจ้างรัสเซีย ก่อนที่เขาจะกลืนยาเม็ดไซยาไนด์ เขาตื่นขึ้นมาแล้วพบว่ายานั้นเป็นของปลอม เพื่อนร่วมงานของเขาเสียชีวิตทั้งหมดและวัตถุนั้นก็หายไป
วิกเตอร์ หัวหน้าของตัวละครเอกอธิบายว่า ภารกิจดังกล่าวเป็นการทดสอบแรก เพื่อเข้าสู่องค์กรลับที่เรียกว่า "เทเน็ท" แล้วบอกให้ตัวละครเอกไปพบกับบาร์บารา นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษากระสุนที่เอนโทรปี "ย้อนกลับ" ทำให้พวกมันสามารถเคลื่อนที่ย้อนกลับผ่านเวลาได้ ตัวละครเอกติดตามเบาะแสของกระสุนไปถึงพรียา ซิงห์ นักค้าอาวุธในมุมไบ และพบกับ นีล ผู้ประสานงานท้องถิ่น ตัวละครเอกและนีลแทรกซึมเข้าไปในสถานที่ของพรียา แล้วรับรู้ว่าเธอเป็นสมาชิกของเทเน็ท เธอบอกว่ากระสุนถูกย้อนกลับโดยอังเดร เซเทอร์ ผู้มีอำนาจชาวรัสเซียที่สามารถสื่อสารกับอนาคต ตัวละครเอกเดินทางไปลอนดอน เพื่อพบกับแคต นักประมูลงานศิลปะและภรรยาที่เหินห่างของเซเทอร์ ตัวละครเอกพบว่าแคตถูกขู่กรรโชกโดยเซเทอร์ ด้วยภาพวาดของฟรันซิสโก โกยา ซึ่งถูกปลอมแปลงโดยลอเรนซ์ อะเรโป อดีตคนรักของเธอ ที่เธอขายให้กับเขา เพื่อให้เธออยู่ห่างจากแม็กซ์ ลูกชายของพวกเขา แคตเสริมว่า ครั้งสุดท้ายที่เธอกับเซเตอร์มีความสุขอย่างแท้จริง คือตอนที่อยู่บนเรือยอชต์ของพวกเขาในเวียดนาม ซึ่งเซเทอร์บอกกับเธอว่าเธอจะไม่เห็นหน้าแม็กซ์อีกต่อไป ทำให้นำสู่การทะเลาะกัน แคตบอกว่าเธอเห็นผู้หญิงอีกคนหนึ่งกระโดดออกจากเรือ
ตัวละครเอกและนีลทำงานร่วมกับมาเฮียร์ ผู้ให้บริการ เพื่อทำการขโมยภาพวาดจากสถานที่จัดเก็บในท่าอากาศยานออสโล ด้วยการทำให้เครื่องบินโบอิง 747 วิ่งชนเข้าไปในสถานที่จัดเก็บ ภายในสถานที่จัดเก็บ พวกเขาพบเครื่องจักรที่มีชายสวมหน้ากากโผล่ออกมาสองคน ซึ่งหนึ่งในนั้นย้อนกลับ นีลต่อสู้และถอดหน้ากากคนปกติได้แต่ปล่อยให้เขาหนีไป และหยุดไม่ให้ตัวละครเอกฆ่าคนที่ย้อนกลับ ต่อมาพรียาเปิดเผยว่าเครื่องจักรคือ "ประตูหมุน" อุปกรณ์ย้อนเวลาที่พัฒนาขึ้นในอนาคตและชายสวมหน้ากากทั้งสองอาจเป็นคนเดียวกัน
ที่ชายฝั่งอามาลฟี แคตเชื่อว่าภาพวาดถูกทำลายแล้ว เธอได้จัดการให้ตัวละครเอกพบกับเซเทอร์ ซึ่งเขาไม่ไว้ใจตัวละครเอก เซเทอร์เปิดเผยอย่างลับ ๆ กับแคตว่า เขาได้ย้ายภาพวาดก่อนที่สถานที่เก็บจะถูกชน ในระหว่างการล่องเรือ แคตพยายามทำให้เซเทอร์จมน้ำ แต่ตัวละครเอกช่วยเขาไว้ ทำให้เซเทอร์ไว้ใจตัวละครเอก เซเทอร์เปิดเผยว่าเมื่อตอนที่เขาเป็นวัยรุ่นในเมืองสตาลก์-12 อดีตเมืองปิดในโซเวียต เขาค้นพบทองคำที่ย้อนกลับมาจากอนาคต ทำให้เขากลายเป็นคนร่ำรวย ตัวละครเอกเสนอให้ตัวเองเป็นคนขโมยกล่องพลูโตเนียม ซึ่งเซเทอร์ปรารถนา เพื่อแลกกับอิสรภาพของแคต
ตัวละครเอกและนีลขโมย "พลูโตเนียม" จากขบวนรถหุ้มเกราะในทาลลินน์สำเร็จ แต่พบว่ามันเป็นวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง เซเทอร์ที่ย้อนกลับเข้ามาขัดขวางและจับกุมตัวละครเอก และพาเขาไปยังประตูหมุนอีกแห่งหนึ่ง เซเทอร์ทำให้แคตบาดเจ็บสาหัสด้วยกระสุนที่ย้อนกลับและบังคับให้เขาเปิดเผยว่าวัตถุนั้นอยู่ที่ไหน ตัวละครเอกบอกพิกัดปลอมให้กับเซเทอร์ เซเทอร์ที่ “แก้การย้อนกลับแล้ว“ เข้ามาบังคับให้เขาเปิดเผยตำแหน่งของวัตถุ ทีมปฏิบัติการของเทเน็ท นำโดยไอเวสและวีเลอร์เข้ามาช่วยตัวละครเอก บังคับให้เซเทอร์ต้องหลบหนีเข้าไปในประตูหมุนของเขา ทำให้เขากลายเป็นเซเทอร์ที่ย้อนกลับ ตัวละครเอกตามเขาไปผ่านประตูหมุน เพื่อป้องกันไม่ให้เซเทอร์เอาวัตถุไป แต่บังเอิญลงเอยด้วยการช่วยให้เขาเอาไปได้แทน นีลเปิดเผยว่าเขาเป็นสมาชิกของเทเน็ทตั้งแต่แรก
ตัวละครเอกและนีลนำตัวแคตที่บาดเจ็บสาหัสผ่านประตูหมุนของเซเทอร์ เพื่อย้อนกลับผลจากการบาดเจ็บของเธอ พวกเขาเดินทางกลับไปท่าอากาศยานออสโลที่ถูกชนสัปดาห์ก่อน ที่ตัวละครเอกที่ย้อนกลับต่อสู้กับตัวเองที่ไม่ได้ย้อนกลับก่อนที่จะถึงประตูหมุน เพื่อให้แคตปลอดภัย ตัวละครเอกไปพบกับพรียาเพื่อหาคำตอบ เธออธิบายว่าวัตถุนั้นคือส่วนหนึ่งของ "อัลกอริทึม" สิ่งประดิษฐ์ในอนาคตที่สามารถย้อนกลับโลกทั้งใบได้อย่างหายนะ และมนุษย์ในอนาคตต้องการให้เซเทอร์เปิดใช้งาน แม้จะรู้ว่ามันอาจจะเป็นจุดจบของพวกเขา พรียาวางแผนให้สิ่งประดิษฐ์นี้ตกไปอยู่ในมือของเซเทอร์ เพราะเชื่อว่าอนาคตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งตอนนี้เซเทอร์ได้ชิ้นส่วนของอัลกอริทึมครบเก้าชิ้นแล้ว แคตเปิดเผยกับตัวละครเอกว่า เซเทอร์กำลังจะเสียชีวิตจากมะเร็งตับอ่อนที่ไม่สามารถรักษาได้ และอนุมานได้ว่าเขาจะเปิดใช้งานอัลกอริทึมในช่วงเวลาที่เขาเสียชีวิต โดยเชื่อว่าโลกควรตายไปพร้อมกับเขา แคตสงสัยว่าเซเทอร์เลือกเวลาเสียชีวิตในตอนที่เขามีความสุขมากที่สุด ก็คือวันที่พวกเขาไปเวียดนาม ตัวละครเอก, นีล, แคตและกองกำลังของเทเน็ท ย้อนกลับไปวันนั้น เพื่อให้แคตชะลอการเสียชีวิตของเซเทอร์ ขณะที่เทเน็ทไปเก็บกู้อัลกอริทึม
เทเน็ทติดตามเบาะแสของอัลกอริทึมที่ประกอบแล้ว พบว่าอยู่ในเมืองร้างสตาลก์-12 พวกเขาเริ่มปฏิบัติการ "การเคลื่อนไหวแบบคีม" ก็คือกองกำลังครึ่งหนึ่งของพวกเขาเคลื่อนไปข้างหน้าตามเวลาไปยังเขตระเบิด ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไปข้างหลังย้อนเวลา ในเวียดนาม แคตตามหาเซเทอร์บนเรือยอชต์ของเขาและแสร้งว่าเป็นตัวเธอเองที่อายุน้อยกว่า เซเทอร์เปิดเผยว่า มนุษย์ในอนาคตต้องการให้เปิดใช้งานอัลกอริทึม เพื่อต่อต้านผลกระทบของภาวะโลกร้อน ในรัสเซีย ตัวละครเอกและไอเวสถูกขวางโดยประตูที่ถูกล็อก ทำให้เข้าถึงอัลกอริทึมไม่ได้ จนกระทั่งศพสวมหน้ากากที่มีด้ายสีแดงบนกระเป๋าเป้ย้อนกลับและลุกขึ้นมามีชีวิต ช่วยเหลือตัวละครเอกไม่ให้ถูกยิงและปลดล็อกประตู ด้านแคตฆ่าเซเทอร์ก่อนกำหนด ด้วยไม่สามารถปล่อยให้เซเทอร์ตายได้โดยเชื่อว่าเขาทำสำเร็จ ช่วงเวลาเดียวกับที่ตัวละครเอกและไอเวสกู้อัลกอริทึมสำเร็จ แคตกระโดดออกจากดาดฟ้าของเรือยอชต์ ที่เธอเห็นตัวเธอเองในอดีต
ตัวละครเอก, นีลและไอเวสแยกส่วนประกอบของอัลกอริทึมและแยกทาง ตัวละครเอกสังเกตเห็นด้ายสีแดงที่บนกระเป๋าเป้ของนีล นีลเปิดเผยว่า ตัวละครเอกในอนาคตเป็นคนเกณฑ์เขาเข้ามาในเทเน็ทหลายปีก่อนหน้านี้ และภารกิจนี้เป็นจุดสิ้นสุดของมิตรภาพอันยาวนานที่ตัวละครเอกยังไม่ได้สัมผัส
ในลอนดอน พรียาพยายามจะฆ่าแคต ในขณะที่แคตกำลังรอรับลูกชายของเธอที่โรงเรียน แต่พรียาถูกฆ่าโดยตัวละครเอก โดยเขารับรู้ว่าเขาคือผู้บงการในอนาคตที่อยู่เบื้องหลังของเทเน็ท
นักแสดง
แก้- จอห์น เดวิด วอชิงตัน เป็น ตัวละครเอก, สายลับซีไอเอ[8][9]
- โรเบิร์ต แพตตินสัน เป็น นีล, ผู้ประสานงานของตัวละครเอก[9]
- เอลิซาเบธ เดบิคกี เป็น แคต, นักประมูลงานศิลปะและภรรยาที่เหินห่างของอังเดร[9]
- ดิมเปิล คาปาเดีย เป็น พรียา,[9] นักค้าอาวุธ[10]
- มาร์ติน ดอนอแวน เป็น วิกเตอร์,[11] หัวหน้าซีไอเอของตัวละครเอก[10]
- ฟิโอนา ดอริฟ เป็น วีเลอร์, หัวหน้าทีมสีน้ำเงิน[12]
- ยูริ โคโลโคลนิคอฟ เป็น สมุนของอังเดร[12]
- ฮิเมช พาเทล เป็น มาเฮียร์[13] ผู้ให้บริการ[12]
- เกลม็องส์ ปอเอซี เป็น บาร์บารา,[14][15] นักวิทยาศาสตร์[9]
- แอรอน เทย์เลอร์-จอห์นสัน เป็น ไอเวส,[16] ผู้บัญชาการทหาร[17]
- ไมเคิล เคน เป็น เซอร์ ไมเคิล ครอสบี, เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของอังกฤษ[18]
- เคนเนธ บรานาห์ เป็น อังเดร เซเทอร์,[19] ผู้มีอำนาจชาวรัสเซีย ผู้ที่สื่อสารกับอนาคต[20][21]
การสร้าง
แก้ก่อนการถ่ายทำ
แก้ผู้กำกับและผู้เขียนบท คริสโตเฟอร์ โนแลน สร้างแนวคิดของ เทเน็ท มาตลอดระยะเวลายี่สิบปี[22] แต่เขากล่าวว่า "ผมทำงานบทภาพยนตร์เรื่องนี้ซ้ำ ๆ มาประมาณหกหรือเจ็ดปีแล้ว"[20] ชื่อเรื่องของภาพยนตร์เป็น พาลินโดรม หมายถึง สามารถอ่านจากหลังไปหน้าหรือหน้าไปหลังแล้วออกเสียงเหมือนกัน[23] โนแลนพยายามอย่างหนัก เพื่อไม่ให้มีอิทธิพลจากภาพยนตร์แนวสายลับเรื่องใด ๆ นอกเหนือจากในความทรงจำของเขาเอง[24] ภาพยนตร์แนวสปาเกตตีตะวันตกเรื่อง ปริศนาลับแดนตะวันตก (1968) เป็นแรงบันดาลใจในการเขียนบทภาพยนตร์[22] หัวหน้างานเทคนิคพิเศษ สกอตต์ อาร์. ฟิชเชอร์ ดูภาพยนตร์และสารคดีของสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อหาจุดอ้างอิงของความสมจริง[25] คิป ธอร์น นักฟิสิกส์ทฤษฎี ผู้เคยทำงานร่วมกับโนแลนใน อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก (2014) เป็นผู้ให้คำปรึกษาในเรื่องของเวลาและฟิสิกส์ควอนตัม[26] ผู้ออกแบบงานสร้าง นาทาน คราวลีย์ ต้องการให้ บริษัทนาฬิกาแฮมิลตัน ผลิตนาฬิกาข้อมือทหารประมาณ 30 เรือน โดยแต่ละเรือนเป็นอนาล็อกที่มีเลขนับถอยหลังแบบดิจิทัล[27]
การคัดเลือกนักแสดง
แก้จอห์น เดวิด วอชิงตัน, โรเบิร์ต แพตตินสันและเอลิซาเบธ เดบิคกี ได้รับเลือกให้เป็นนักแสดงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2019[28][29] โนแลนเลือกวอชิงตันเพราะการแสดงของเขาใน แบล็คแคลนซ์แมน (2018)[30] วอชิงตัน, แพตตินสันและเดบิคกี แต่ละคนได้รับอนุญาตให้อ่านบทภาพยนตร์ขณะถูกขังอยู่ในห้องเท่านั้น[20][22][31] วอชิงตันเก็บบันทึกที่เขาจะขยายเรื่องราวเบื้องหลังของตัวละครเอก[32] แพตตินสันใช้กิริยาท่าทางของตัวละครของเขาจากตัวละครของผู้เขียน คริสโตเฟอร์ ฮิตเชนส์[33] การคัดเลือกนักแสดงของ ดิมเปิล คาปาเดีย, แอรอน เทย์เลอร์-จอห์นสัน, เกลมองซ์ โปเอซี, ไมเคิล เคน, และเคนเนธ บรานาห์ ประกาศเมื่อภาพยนตร์เริ่มถ่ายทำ[34] การทดสอบหน้ากล้องของคาปาเดียได้รับการจัดการโดยผู้กำกับ โฮมี อาดาจาเนีย ขณะที่กำลังถ่ายทำภาพยนตร์ แอเกรซีมีเดียม ของเขาในปี ค.ศ. 2020[35] เคนได้รับแค่บทภาพยนตร์ของเขาและถ่ายทำแค่วันเดียว[36] ฮิเมช พาเทล เข้าร่วมแสดงในภาพยนตร์ในเดือนสิงหาคม[37] มาร์ติน ดอนอแวน ได้รับการเปิดเผยในตัวอย่างภาพยนตร์แรก[38] ฟิโอนา ดอริฟและยูริ โคโลโคลนิคอฟ เข้าร่วมแสดงในภาพยนตร์ในเวลาต่อมา[39]
การถ่ายทำ
แก้การถ่ายทำหลักเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2019 มีทีมงานที่เกี่ยวข้อง 250 คน[33] และถ่ายทำในเจ็ดประเทศ[40] ได้แก่ เดนมาร์ก, เอสโตเนีย,[nb 1] อินเดีย,[nb 2] อิตาลี, นอร์เวย์, สหราชอาณาจักรและสหรัฐ[43][nb 3] การถ่ายทำในเอสโตเนียเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ที่ ลินดาฮอลล์, ทางหลวงปาร์นู โดยปิดถนนเพื่อถ่ายทำ[44][45] พิพิธภัณฑ์ศิลปะคูมู ถูกใช้เป็น "ฟรีพอร์ตออสโล" สมมติ[46] นายกเทศมนตรีเมืองทาลลินน์ มิห์ไฮ โกลวาร์ต แสดงความกังวลเกี่ยวกับการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากกำหนดการถ่ายทำเดิม กำหนดให้ ถนนลากนา ซึ่งถนนสายหลักปิดเป็นเวลาหนึ่งเดือน[47] ในที่สุดพวกเขาก็ประนีประนอม โดยมีการปิดถนนชั่วคราวและทำทางอ้อม[48][49]
ผู้กำกับภาพ โฮยเตอ ฟัน โฮยเตอมา ถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม 70 มม.และไอแมกซ์ ผสมกัน[50] เขาให้ความสำคัญกับเลนส์ของพานาวิชัน ที่รองรับแสงน้อยได้ดีที่สุด[25] ฉากที่เกี่ยวข้องกับ "การย้อนกลับของเวลา" ถ่ายทำโดยเคลื่อนไหวและพูดทั้งไปข้างหลังและไปข้างหน้า[51][52] เรือฟาร์มกังหันลม ไอซีไนรีเวนจ์ ถูกนำมาใช้ในเดนมาร์ก, เอสโตเนียและอิตาลีเป็นเวลาสามเดือน[53]
หลังการถ่ายทำ
แก้ลุดวิก เยอรันซอน เป็นผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ เนื่องจาก ฮันส์ ซิมเมอร์ ผู้ร่วมงานประจำของโนแลน ไปประพันธ์ดนตรีประกอบให้กับภาพยนตร์เรื่อง ดูน[54][55] ระหว่างการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา เยอรันซอนบันทึกเสียงดนตรีจากบ้านของพวกเขา[20] เพลงประกอบของ เทเน็ท ประกอบด้วย เดอะแพลน เพลงโดย ทราวิส สกอตต์[56] เจนนิเฟอร์ เลม เป็นนักตัดต่อภาพยนตร์แทน ลี สมิท ซึ่งผู้ร่วมงานประจำของโนแลน เนื่องจากเขาติดงานภาพยนตร์เรื่อง 1917[57] ดีเอ็นอีจี สร้างเทคนิคพิเศษประมาณ 280 ภาพ[22]
การตลาดและการฉาย
แก้ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019 วอร์เนอร์บราเธอส์ เปิดตัวตัวอย่างภาพยนตร์ความยาว 40 วินาที ก่อนฉายภาพยนตร์ เร็ว..แรงทะลุนรก ฮ็อบส์ & ชอว์ รอบฉายล่วงหน้า[58] ตัวอย่างภาพยนตร์นั้นติดมากับการฉาย โจ๊กเกอร์ ที่อินเดียในเดือนตุลาคม[59] ตัวอย่างภาพยนตร์แรกนั้นเปิดตัวในออนไลน์ในเดือนธันวาคม มีการฉายฉากอารัมภบทของภาพยนตร์ เฉพาะในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์บางแห่ง ก่อนฉายภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส: กำเนิดใหม่สกายวอล์คเกอร์[60] ต่อมามีการฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ที่อินเดีย ก่อนฉายภาพยนตร์ ทีมนกผู้ล่า ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020[61] โฆษณาโทรทัศน์ปรากฏในเดือนพฤษภาคม[62] มีการประชาสัมพันธ์ในโหมดปาร์ตีรอแยลในเกม ฟอร์ตไนต์[63] โลโก้ของภาพยนตร์ TENƎꓕ โดยโนแลน ได้รับการปรับเปลี่ยนในตัวอย่างภาพยนตร์ เนื่องจากโลโก้ดังกล่าว มีความคล้ายคลึงกับบริษัทผลิตชิ้นส่วนจักรยาน[64] ตัวอย่างภาพยนตร์สุดท้าย เปิดตัวในเดือนสิงหาคม ประกอบด้วยเพลงซิงเกิลของสกอตต์[65] วิดีโอเบื้องหลังการถ่ายทำอัปโหลดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม[39]
ผู้จัดจำหน่าย วอร์เนอร์บราเธอส์ กำหนดวันฉายเดิมคือวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 ในระบบไอแมกซ์, ฟิล์ม 35 มิลลิเมตรและ 70 มิลลิเมตร[66] แต่เนื่องจากเกิดการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา ทำให้ในตอนแรก ภาพยนตร์เลื่อนฉายไปวันที่ 31 กรกฎาคม[67][68] ต่อมา ได้เลื่อนฉายอีกครั้ง เป็นวันที่ 12 สิงหาคม[69] ผู้บริหารคำนวณว่าการเลื่อนแต่ละครั้ง ทำให้วอร์เนอร์บราเธอส์เสียเงินค่าการตลาดระหว่าง 200,000 ถึง 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ[70] หลังจากภาพยนตร์ได้รับการเลื่อนฉายในช่วงเวลาสั้น ๆ อย่างไม่มีกำหนด[71] วอร์เนอร์บราเธอส์สามารถจัดการให้ภาพยนตร์ฉายได้ทั่วโลกในวันที่ 26 สิงหาคม ใน 70 ประเทศ รวมไปถึง แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, รัสเซีย, สหราชอาณาจักรและไทย[72] การฉายรอบพรีวิวเริ่มต้นในออสเตรเลียและเกาหลีใต้ในวันที่ 22 และ 23 สิงหาคม[73][74] ภาพยนตร์ฉายในบางเมืองในสหรัฐ เมื่อวันที่ 3 กันยายน แล้วค่อย ๆ ขยายรอบฉายในสัปดาห์ต่อ ๆ มา[72] ภาพยนตร์ฉายในประเทศจีนเมื่อวันที่ 4 กันยายน[75] เทเน็ท กลายเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่องแรกที่ฉายในโรงภาพยนตร์ หลังโรงภาพยนตร์ปิดบริการเนื่องจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา[76]
การตอบรับ
แก้บ็อกซ์ออฟฟิศ
แก้ข้อมูลเมื่อ 16 เมษายน ค.ศ. 2021[update] เทเน็ท ทำเงินในสหรัฐและแคนาดา 58.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำเงิน 305.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากภูมิภาคอื่น ๆ รวมแล้วทำเงินทั่วโลก 363.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5][6] ด้วยทุนสร้าง 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[77] ทำให้ เทเน็ท เป็นโครงการดั้งเดิมของโนแลนที่แพงที่สุด[78] อินดีไวร์ คาดการณ์ว่าเมื่อรวมกับค่าการตลาดแล้ว อาจจะทำให้ทุนสร้างสูงไปถึง 300–350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[79] แม้ว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ต้นทุนการโฆษณาอาจจะต่ำกว่าปกติ เนื่องจากการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดสดกีฬานั้นมีราคาไม่แพง[80] ออปเซิร์ฟเวอร์ คาดการณ์ว่าภาพยนตร์ต้องทำเงิน 450–500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้ถึงจุดคุ้มทุน[81] มีรายงานว่าโนแลนจะได้รับส่วนแบ่งร้อยละยี่สิบจากเงินที่ทำได้ในวันแรกที่ฉาย[82]
เทเน็ท ได้รับการคาดการณ์ว่าจะทำเงิน 25–30 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลกในช่วงห้าวันแรกของการฉาย[83] ภาพยนตร์ทำเงิน 717,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากโรงภาพยนตร์ 590 แห่งในเกาหลีใต้ โดยมาจากการขายตั๋วล่วงหน้าของโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์หมดและรวมกับการฉายล่วงหน้าในวันหยุดสุดสัปดาห์[74] อีกสี่วันถัดมา ภาพยนตร์ทำเงินเพิ่มเป็น 4.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากโรงภาพยนตร์ประมาณ 22,000 แห่ง และทำเงินถึง 5.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในสุดสัปดาห์ ภาพยนตร์เปิดตัวใน 41 ประเทศ ทำเงิน 53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยทำเงินในสหราชอาณาจักร 7.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, 6.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐในฝรั่งเศส, 4.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเยอรมนี, 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในแคนาดา[84][4][85] และ 3.8 ล้านบาทในไทย[86] ภาพยนตร์ทำเงินในประเทศจีน 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงสองวันแรกที่ฉาย[87] เทเน็ท ทำเงิน 58.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์ที่สอง โดยทำเงินในจีน (30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), สหราชอาณาจักร (13.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), ฝรั่งเศส (10.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), เยอรมนี (8.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และเกาหลีใต้ (8.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด[88]
ร้อยละ 65 ของโรงภาพยนตร์ในสหรัฐและแคนาดานั้น เปิดบริการให้นั่งชมแค่ร้อยละ 25 ถึง 40 จากจำนวนที่นั่งทั้งหมด ภาพยนตร์เปิดตัวในสหรัฐและแคนาดา ทำเงิน 20.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากโรงภาพยนตร์ 2,810 แห่ง[85]
การตอบรับจากนักวิจารณ์
แก้ในเว็บไซต์ รอตเทนโทเมโทส์ เทเน็ท ได้รับคะแนนเรตติงที่ได้รับการอนุมัติ ร้อยละ 75 จากบทวิจารณ์ 229 บท ด้วยคะแนนเฉลี่ย 7.02/10 โดยในเว็บไซต์ได้ให้มติว่า "ปริศนาอันน่าตื่นตาที่คนรักภาพยนตร์ต้องปลดล็อก เทเน็ท ได้มอบให้ผู้ชมทุกคนที่มีมันสมองอันปราดเปรื่องที่คาดหวังจากการงานสร้างของ คริสโตเฟอร์ โนแลน"[89] ใน เมทาคริติก ภาพยนตร์ได้รับคะแนนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 69 จากคะแนนเต็ม 100 จากนักวิจารณ์ 46 คน บ่งชี้ว่า "ส่วนใหญ่บทวิจารณ์ชมว่าดี"[90] ผู้ชมลงคะแนนใน ซีนะมาสกอร์ และได้ให้เกรดภาพยนตร์เกรด "B" จากหน่วยวัด A+ ถึง F[91]
รางวัล
แก้เทเน็ท ได้รับรางวัลชนะเลิศดังต่อไปนี้
- รางวัลชมรมผู้กำกับศิลป์ สาขา Excellence in Production Design for a Fantasy Film (Nathan Crowley)[92]
- รางวัลแบฟตา สาขา Best Special Visual Effects (Scott Fisher, Andrew Jackson และ Andrew Lockley)[93]
- รางวัลภาพยนตร์คริติกส์ชอยส์ สาขา Best Visual Effects (Tenet)[94]
- รางวัลโกลเดนแองเจลในเทศกาลภาพยนตร์จีน-อเมริกัน สาขา Most Popular U.S. Film in China (Tenet)[95]
- รางวัลแซเทลไลต์ สาขา Best Visual Effects (Andrew Jackson)[96]
หมายเหตุ
แก้- ↑ การถ่ายทำเจ็ดสัปดาห์ในเอสโตเนียใช้เงินทั้งหมด 16.5 ล้านยูโร[20][41] วอร์เนอร์บราเธอร์สพิคเจอร์สจ่ายเงินคืนที่ได้รับชดเชยร้อยละสามสิบ[41]
- ↑ ใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ในการขออนุญาตถ่ายทำในมุมไบ[42] และใช้เวลาถ่ายทำเสร็จสมบูรณ์ครึ่งหนึ่งของกำหนดการที่วางแผนไว้[43]
- ↑ เทเน็ท ถ่ายทำโดยใช้ชื่อชั่วคราวว่า แมร์รีโกราวด์[22][42]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Tenet งานกำกับใหม่ คริสโตเฟอร์ โนแลน เตรียมฉายในไทย 27 สิงหาคมนี้". The Standard. July 28, 2020. สืบค้นเมื่อ July 28, 2020.
- ↑ "Tenet". British Board of Film Classification. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2020. สืบค้นเมื่อ November 23, 2020.
- ↑ 3.0 3.1 "Tenet". British Film Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2020. สืบค้นเมื่อ November 23, 2020.
- ↑ 4.0 4.1 Rubin, Rebecca (August 30, 2020). "Box Office: Christopher Nolan's 'Tenet' Enjoys Surprisingly Strong Debut Overseas". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-30. สืบค้นเมื่อ August 30, 2020.
- ↑ 5.0 5.1 "Tenet". Box Office Mojo. IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2020. สืบค้นเมื่อ April 16, 2021.
- ↑ 6.0 6.1 "Tenet". The Numbers. Nash Information Services, LLC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2020. สืบค้นเมื่อ =April 16, 2021.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ Moliis-Mellberg, Martina (August 26, 2020). "Luftslott och temporala labyrinter". Hufvudstadsbladet (ภาษาสวีเดน). p. 20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2020-09-02.
- ↑ Schaeffer, Sandy (May 22, 2020). "Tenet's Main Character Is Literally Named Protagonist". Screen Rant. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 22, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Lodge, Guy (August 21, 2020). "'Tenet' Review: Christopher Nolan's Grandly Entertaining, Time-Slipping Spectacle Is a Futuristic Throwback". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2020. สืบค้นเมื่อ August 21, 2020.
- ↑ 10.0 10.1 Fletcher, Rosie (August 27, 2020). "Tenet Meaning Explained: Putting the Title in the Context of the Movie". Den of Geek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-28. สืบค้นเมื่อ August 28, 2020.
- ↑ Bradley, DM (August 26, 2020). "Film Review: Tenet". Adelaide Review. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 26, 2020. สืบค้นเมื่อ August 26, 2020.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Gallagher, Simon (August 28, 2020). "Tenet Cast Guide: Where You Recognize The Actors From". Screen Rant. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-29. สืบค้นเมื่อ August 29, 2020.
- ↑ Connellan, Shannon (August 22, 2020). "'Tenet' is a time-bending spy thriller that makes the audience work hard". Mashable. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 26, 2020. สืบค้นเมื่อ August 26, 2020.
- ↑ Geisinger, Gabriella (September 1, 2020). "Tenet fails Elizabeth Debicki's Kat in a big, big way". Digital Spy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-09. สืบค้นเมื่อ September 9, 2020.
- ↑ Felperin, Leslie (August 21, 2020). "'Tenet': Film Review". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2020. สืบค้นเมื่อ August 21, 2020.
- ↑ Sandwell, Ian (August 26, 2020). "Tenet ending explained: Unravelling the mysteries of Christopher Nolan's spy thriller". Digital Spy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 26, 2020. สืบค้นเมื่อ August 26, 2020.
- ↑ Ovenden, Olivia (August 27, 2020). "The Ending – Or Is It, The Beginning? – Of 'Tenet', Explained". Esquire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-28. สืบค้นเมื่อ August 28, 2020.
- ↑ Smith, Anna (August 21, 2020). "'Tenet' Review: James Bond Types Are Thrown Into Confounding Sci-Fi Plot In A Christopher Nolan Film You Can Miss". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 26, 2020. สืบค้นเมื่อ August 26, 2020.
- ↑ Collin, Robbie (August 21, 2020). "Tenet review: don't try to understand it – just rewind and enjoy the ride". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2020. สืบค้นเมื่อ August 21, 2020.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 Collis, Clark. "Time for Tenet: Behind the scenes of Christopher Nolan's top-secret movie". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ "Tenet: Trailer for Christopher Nolan film arrives minus release date". BBC News. May 22, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 22, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 Maytum, Matt (June 2020). "Time to Spy". Total Film. No. 299. pp. 30–35. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 24, 2020. สืบค้นเมื่อ August 24, 2020.
- ↑ Shone, Tom (May 28, 2020). "Can Christopher Nolan Save the Summer?". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Maytum, Matt; Shepherd, Jack (May 27, 2020). "Christopher Nolan on making Tenet: "This is definitely the longest I've ever gone without watching a James Bond film"". GamesRadar+. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ 25.0 25.1 Martin, Kevin H. (August 2020). "Time, Again". ICG Magazine. Vol. 91 no. 6. pp. 43–46. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 24, 2020. สืบค้นเมื่อ August 24, 2020.
- ↑ Maddox, Garry (August 22, 2020). "'The biggest film I've done': Christopher Nolan on the secret world of Tenet". The Sydney Morning Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 23, 2020. สืบค้นเมื่อ August 23, 2020.
- ↑ Wolf, Cam (September 3, 2020). "How Tenet's Special Watch Was Built In Total Secrecy". GQ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-04. สืบค้นเมื่อ September 4, 2020.
- ↑ Kroll, Justin (March 19, 2019). "John David Washington to Star in Christopher Nolan's Next Film (Exclusive)". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-19. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
- ↑ Kroll, Justin (March 20, 2019). "Elizabeth Debicki and Robert Pattinson Join Christopher Nolan's Next Film (Exclusive)". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
- ↑ Storey, Kate (May 28, 2020). "The Untold Story of John David Washington". Esquire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 28, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Sharf, Zack (April 4, 2019). "Robert Pattinson Got 'Locked in a Room' to Read Christopher Nolan's New Movie, Says It's 'Unreal'". IndieWire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-05. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
- ↑ Mullally, William (August 26, 2020). "Christopher Nolan and 'Tenet' cast talk new blockbuster film". Arab News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2020. สืบค้นเมื่อ August 27, 2020.
- ↑ 33.0 33.1 Baron, Zach (May 12, 2020). "Robert Pattinson: A Dispatch From Isolation". GQ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Hipes, Patrick (May 22, 2019). "Christopher Nolan's New Movie Gets A Title, Final Cast As Shooting Begins". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
- ↑ Masand, Rajeev (February 21, 2020). "Dimple's Tenet". Open. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Sharf, Zack (March 13, 2020). "Michael Caine Stars in 'Tenet' but Says He's Clueless About Christopher Nolan's New Film". IndieWire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Kroll, Justin (August 27, 2019). "Christopher Nolan's 'Tenet' Adds 'Yesterday' Star Himesh Patel (EXCLUSIVE)". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2019. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Desta, Yohana (December 19, 2019). "Tenet Trailer: Christopher Nolan's Latest Is All about World War III". Vanity Fair. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2019. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ 39.0 39.1 Warner Bros. Pictures (August 26, 2020). "TENET- Behind the Scenes Exclusive". YouTube. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-30. สืบค้นเมื่อ August 30, 2020.
- ↑ Bankhurst, Adam (May 22, 2019). "Christopher Nolan Begins Filming New Espionage Action Movie, Tenet". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
- ↑ 41.0 41.1 Whyte, Andrew (June 18, 2019). "Government meeting Thursday to mull €5 million loan in Nolan movie support". ERR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-18. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
- ↑ 42.0 42.1 Seta, Fenil (October 7, 2019). "Exclusive: In a first ever instance, Christopher Nolan was granted permission to shoot Tenet in Mumbai within a week!". Bollywood Hungama. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2019. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ 43.0 43.1 Vyavahare, Renuka (September 22, 2019). "Christopher Nolan wraps up his ten-day Mumbai schedule in just five days; leaves for LA". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2019. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Whyte, Andrew (June 19, 2019). "City government announces "Tenet" traffic restrictions". ERR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-19. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
- ↑ Vahtla, Aili (June 11, 2019). "Gallery: Christopher Nolan, John David Washington arrive in Tallinn". ERR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-14. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
- ↑ Steingrimsen, Morten Andreas (August 22, 2020). "Derfor valgte stjerneregissøren Oslo" [That is why the star director chose Oslo]. Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2020. สืบค้นเมื่อ August 22, 2020.
- ↑ Whyte, Andrew (June 7, 2019). "Tartu keen on Nolan movie filming should Tallinn fall through". ERR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-08. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
- ↑ Cavegn, Dario (June 19, 2019). "Finance minister backs Estonian funding of Nolan movie shoot in Tallinn". ERR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
- ↑ Vahtla, Aili (July 22, 2019). "Tallinn grants 'Tenet' producers two extra days for filming on Laagna Road". ERR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-22. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
- ↑ "Filming is Underway on "Tenet," a New Film from Christopher Nolan". Business Wire. May 22, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2019. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Gillespie, Daniel (August 12, 2020). "Christopher Nolan Shot Tenet Scenes Twice – Once Forward & Once Backward". Screen Rant. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2020. สืบค้นเมื่อ August 14, 2020.
- ↑ Hutchinson, Sam (August 30, 2020). "Tenet: 10 Behind-The-Scenes Facts About Christopher Nolan's New Film". Screen Rant. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-31. สืบค้นเมื่อ August 31, 2020.
- ↑ Coates, Liz (August 26, 2020). "How Norfolk grabbed a slice of the seafaring action in new Tenet blockbuster". Eastern Daily Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2020. สืบค้นเมื่อ August 27, 2020.
- ↑ Stolworthy, Jacob (May 23, 2019). "Tenet: Title, cast and more details of new Christopher Nolan film revealed". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-08. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
- ↑ Barfield, Charles (July 16, 2019). "Hans Zimmer Explains Why He Chose 'Dune' Over Christopher Nolan's Latest & Says He Never Saw The David Lynch 1984 Film". The Playlist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2019.
- ↑ Langford, Jackson (August 19, 2020). "Travis Scott officially announces new single 'The Plan' for Christopher Nolan's 'Tenet'". NME. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2020. สืบค้นเมื่อ August 19, 2020.
- ↑ Kit, Borys (April 5, 2019). "Christopher Nolan Taps 'Hereditary' Editor Jennifer Lame for His New Movie (Exclusive)". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04.
- ↑ Stedman, Alex (August 1, 2019). "Christopher Nolan's Next Movie 'Tenet' Secretly Debuts Trailer Ahead of 'Hobbs & Shaw'". Variety.
- ↑ "Fans to get a glimpse of Christopher Nolan's 'Tenet' with Joaquin Phoenix's 'Joker'?". The Times of India. October 1, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2019. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Alexander, Julia (December 19, 2019). "Stunning first trailer for Christopher Nolan's Tenet introduces the director's most ambitious film yet". The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2019. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Devanagari, Prasanna (February 6, 2020). "Tenet Prologue to play in front of Birds of Prey IMAX Screenings in India". ClickItorNot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Langmann, Brady (May 21, 2020). "A New Look at Tenet Gives More Details About Christopher Nolan's Secretive Sci-Fi Thriller". Esquire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 21, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Fortnite [@FortniteGame] (May 21, 2020). "Grab a front row seat in Party Royale for a world premiere!" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 21, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ Anderton, Ethan (May 24, 2020). "Warner Bros. Changed 'Tenet' Logo to Avoid Confusion with a Bicycle Components Company". /Film. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Jones, Marcus (August 22, 2020). "Hear Travis Scott's new song 'The Plan' in Christopher Nolan's final Tenet trailer". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2020. สืบค้นเมื่อ August 22, 2020.
- ↑ Sharf, Zack (December 19, 2019). "'Tenet' First Trailer: Christopher Nolan Returns With a Time-Bending Espionage Epic". IndieWire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2019. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ D'Alessandro, Anthony (June 12, 2020). "'Tenet' Moves To July 31; 10th Anniversary Re-release Of Christopher Nolan's 'Inception' To Go On July 17". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ McClintock, Pamela (June 12, 2020). "Christopher Nolan's 'Tenet' Delays Release Two Weeks to End of July". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Rubin, Rebecca (June 25, 2020). "Christopher Nolan's 'Tenet' Delays Release Date Again". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Rubin, Rebecca (July 2, 2020). "Studios Keep Delaying Movies. What's the Cost?". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ D'Alessandro, Anthony (July 20, 2020). "'Tenet' Undated For Now: Warner Bros. To Announce New Date "Imminently", Pic's Theatrical Global Rollout Won't Be "Traditional"". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2020. สืบค้นเมื่อ July 20, 2020.
- ↑ 72.0 72.1 Rubin, Rebecca (July 27, 2020). "'Tenet' Will Release Internationally Ahead of U.S. Debut". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2020. สืบค้นเมื่อ July 27, 2020.
- ↑ "There'll be preview screenings of Tenet the weekend before its release". Flicks.com.au. August 12, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2020. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
- ↑ 74.0 74.1 Tartaglione, Nancy (August 24, 2020). "'Tenet' Takes $717K In Two Days Of Korea Previews As Coronavirus Surge Threatens Movie Theaters". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 24, 2020. สืบค้นเมื่อ August 24, 2020.
- ↑ Tartaglione, Nancy (August 6, 2020). "'Tenet' China Release Set For September 4; 'Inception' Reissue To Hit A Week Prior". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 6, 2020. สืบค้นเมื่อ August 6, 2020.
- ↑ Roxborough, Scott (September 2, 2020). "Venice Kicks Off First Post-Lockdown Festival, With Director Calling for "Restart for Cinema"". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-02. สืบค้นเมื่อ September 2, 2020.
- ↑ Rubin, Rebecca; Vary, Adam B. (January 9, 2020). "Box Office Predictions for 2020: From Surefire Hits to Potential Busts". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Sharf, Zack (January 10, 2020). "With a Budget Over $200 Million, Nolan Is Planning Something Massive With 'Tenet'". IndieWire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Brueggemann, Tom (May 27, 2020). "'Tenet' on July 17? 6 Reasons Why That's Far from Certain". IndieWire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Keegan, Rebecca; McClintock, Pamela (July 8, 2020). "Can the Summer Box Office Be Saved? Hollywood Hinges Its Hopes on 'Tenet' and 'Mulan'". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 8, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Katz, Brandon (April 24, 2020). "Box Office Experts Split on 'Tenet,' Christopher Nolan's Upcoming Film". Observer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ D'Alessandro, Anthony (May 16, 2020). "Is 'Tenet' Still Sticking On Its July 17 Release Date?". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2020. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
- ↑ Tartaglione, Nancy (August 25, 2020). "It's 'Tenet' Time: $25M+ Expected In Overseas Bow Amid Uncharted Waters & Korea Flux – International Box Office Preview". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 25, 2020. สืบค้นเมื่อ August 25, 2020.
- ↑ Tartaglione, Nancy (August 30, 2020). "'Tenet' Triumphs With $53M Worldwide Launch From 40 Offshore Markets & Canada – International Box Office". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ August 30, 2020.
- ↑ 85.0 85.1 D'Alessandro, Anthony (September 6, 2020). "'Tenet' Finally Opens Stateside: Warner Bros. Movie Resuscitates Exhibition With $20M+ Over Labor Day Weekend, $150M WW To Date". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ September 6, 2020.
- ↑ "เช็กรายได้เปิดตัว "Tenet" ขึ้นผงาดสุดสง่าในเมืองไทย และอีกหลายเมืองทั่วโลก". สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
- ↑ Tartaglione, Nancy; D'Alessandro, Anthony (September 5, 2020). "'Tenet' Tops $20M In China, Crossing $100M Overseas Today – International Box Office". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-06. สืบค้นเมื่อ 2020-09-06.
- ↑ Tartaglione, Nancy (September 6, 2020). "'Tenet' Rises To $126M Overseas Including $30M From China Bow, Nears $150M WW; 'Mulan' Kicks Off With $6M In Handful Of Markets – International Box Office". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-06. สืบค้นเมื่อ September 6, 2020.
- ↑ "Tenet (2020)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ September 10, 2020.
- ↑ "Tenet Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ September 10, 2020.
- ↑ Lattanzio, Ryan (September 5, 2020). "'Tenet' Gets a B CinemaScore, Christopher Nolan's Lowest Since 'The Prestige'". IndieWire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-05. สืบค้นเมื่อ September 5, 2020.
- ↑ "2021 ADG AWARDS NOMINEES". Art Directors Guild. สืบค้นเมื่อ March 4, 2021.
- ↑ "2021 EE British Academy Film Awards: The Nominations". BAFTA. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
- ↑ "Film nominees for the 26th annual Critics Choice Awards have been announced". February 8, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-08. สืบค้นเมื่อ February 11, 2021.
- ↑ "Show goes online for Chinese-American film, TV events". www.chinadaily.com.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 25, 2020. สืบค้นเมื่อ December 18, 2020.
- ↑ Van Blaricom, Mirjana (February 1, 2021). "25th Satellite Awards Nominees for Motion Pictures and Television Announced". International Press Academy. สืบค้นเมื่อ February 1, 2021.
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ด้วยชื่อ "BusinessWire-May2019" ที่นิยามในกลุ่ม <references>
ไม่มีเนื้อหา
<ref>
ด้วยชื่อ "WarnerBros.Pictures-Aug2020" ที่นิยามในกลุ่ม <references>
ไม่มีเนื้อหา